พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้องกรณีตัวการ-ตัวแทน และการระบุตัวผู้เอาประกันภัยในสัญญาประกันภัย
โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 80 - 5080 สมุทรสาคร โดยเป็นนายจ้างหรือเป็นตัวการได้ใช้จ้างวานให้ผู้ขับซึ่งเป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นตัวการ แล้วผู้ขับดังกล่าวได้กระทำละเมิดชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่า ประการแรกผู้ขับซึ่งเป็นทั้งลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และประการที่สองเป็นตัวแทนซึ่งขับรถโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นตัวการเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการ เพื่อให้จำเลยที่ 1 รับผิดทั้งสองประการ จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 862 วรรคสอง ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยซึ่งระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์อาจเป็นคนละคนกับผู้ที่ส่งเบี้ยประกันภัย แต่ความหมายของผู้เอาประกันภัยตามกฎหมายต้องเป็นผู้ที่ส่งเบี้ยประกันภัยเท่านั้นดังนั้น เมื่อ ส.เป็นผู้ส่งเบี้ยประกันภัยจึงเป็นผู้เอาประกันภัย ส่วนที่ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อ ช.บุตร ส. ช.จึงเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ และเมื่อคดีนี้มิได้พิพาทกันเองระหว่างคู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัย แต่เป็นกรณีที่โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันและผู้รับประโยชน์ไปแล้วโดยรับช่วงสิทธิมาเนื่องจากรถยนต์ซึ่งเอาประกันภัยไว้เกิดวินาศภัยขึ้น การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า ส.เป็นผู้เอาประกันภัย แต่ตามตารางกรมธรรม์มีชื่อ ช.ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบต่างกับคำฟ้อง
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 862 วรรคสอง ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยซึ่งระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์อาจเป็นคนละคนกับผู้ที่ส่งเบี้ยประกันภัย แต่ความหมายของผู้เอาประกันภัยตามกฎหมายต้องเป็นผู้ที่ส่งเบี้ยประกันภัยเท่านั้นดังนั้น เมื่อ ส.เป็นผู้ส่งเบี้ยประกันภัยจึงเป็นผู้เอาประกันภัย ส่วนที่ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อ ช.บุตร ส. ช.จึงเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ และเมื่อคดีนี้มิได้พิพาทกันเองระหว่างคู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัย แต่เป็นกรณีที่โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันและผู้รับประโยชน์ไปแล้วโดยรับช่วงสิทธิมาเนื่องจากรถยนต์ซึ่งเอาประกันภัยไว้เกิดวินาศภัยขึ้น การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า ส.เป็นผู้เอาประกันภัย แต่ตามตารางกรมธรรม์มีชื่อ ช.ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบต่างกับคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3628/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบความสัมพันธ์ตัวการ-ตัวแทน การรับฟังพยานนอกคำให้การ และการรับฟังเอกสารที่ไม่ติดอากรแสตมป์
การนำสืบถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวการกับตัวแทน เพื่อให้ทราบถึงความจริงเกี่ยวกับการทำสัญญาเป็นมาอย่างไร ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) ภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจเป็นสำเนาเอกสารไม่ใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร และไม่ต้องห้ามในการที่ศาลจะรับฟังเอกสารนั้นเป็นพยาน คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยผิดนัดชำระค่าเช่าเกิน 6 เดือนและไม่ชำระภาษีโรงเรือนตามเงื่อนไขในสัญญาเช่า จำเลยให้การว่าที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและค่าเช่าจำเลยขอปฏิเสธว่าไม่เคยผิดเงื่อนไขในสัญญาเช่า รายละเอียดจะได้เสนอศาลในชั้นพิจารณาต่อไป คำให้การของจำเลยจึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดปฏิเสธว่าจำเลยไม่ผิดสัญญาตามฟ้อง คดีมีประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ จำเลยมีสิทธินำพยานเข้าสืบตามประเด็นดังกล่าวได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานนอกเหนือจากเอกสารสัญญา: กรณีตัวการ-ตัวแทน
กรณีที่จะต้องห้ามตามป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 (ข) นั้น ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องนำพยานเอกสารมาแสดงในกรณีเช่นว่านี้จะขอนำสืบเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารนั้นไม่ได้
แต่การขอสืบความจริงสำหรับกรณีอื่น เช่น ระหว่างตัวการกับตัวแทน ไม่เกี่ยวแก่การบังคับหรือไม่บังคับนิติกรรมนั้นอย่างไร แม้ข้อเท็จจริงจะต้องแตกต่างไปจากที่ปรากฎในหนังสือ ก็ย่อมนำสืบได้
โจทก์ขอสืบความจริงว่าโจทก์โอนที่ดินให้จำเลยไปจัดการแบ่งปันให้ทายาทตามเหตุผลในฟ้องเป็นเรื่องระหว่างตัวการกับตัวแทนซึ่งเป็นลักษณะส่วนหนึ่งแห่งกฎหมายนั้น เป็นการนำสืบในกรณีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์ย่อมนำสืบได้
(อ้างฎีกาที่ 838/2493)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2500)
แต่การขอสืบความจริงสำหรับกรณีอื่น เช่น ระหว่างตัวการกับตัวแทน ไม่เกี่ยวแก่การบังคับหรือไม่บังคับนิติกรรมนั้นอย่างไร แม้ข้อเท็จจริงจะต้องแตกต่างไปจากที่ปรากฎในหนังสือ ก็ย่อมนำสืบได้
โจทก์ขอสืบความจริงว่าโจทก์โอนที่ดินให้จำเลยไปจัดการแบ่งปันให้ทายาทตามเหตุผลในฟ้องเป็นเรื่องระหว่างตัวการกับตัวแทนซึ่งเป็นลักษณะส่วนหนึ่งแห่งกฎหมายนั้น เป็นการนำสืบในกรณีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์ย่อมนำสืบได้
(อ้างฎีกาที่ 838/2493)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นมาตรา 94(ข) พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง: การนำสืบข้อเท็จจริงระหว่างตัวการ-ตัวแทน แม้ขัดกับเอกสาร
กรณีที่จะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) นั้น ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องนำพยานเอกสารมาแสดง ในกรณีเช่นว่านี้จะขอนำสืบเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารนั้นไม่ได้
แต่การขอสืบความจริงสำหรับกรณีอื่น เช่น ระหว่างตัวการกับตัวแทน ไม่เกี่ยวแก่การบังคับหรือไม่บังคับนิติกรรมนั้นอย่างไร แม้ข้อเท็จจริงจะต้องแตกต่างไปจากที่ปรากฏในหนังสือก็ย่อมนำสืบได้
โจทก์ขอสืบความจริงว่าโจทก์โอนที่ดินให้จำเลยไปจัดการแบ่งปันให้ทายาทตามเหตุผลในฟ้องเป็นเรื่องระหว่างตัวการกับตัวแทนซึ่งเป็นลักษณะส่วนหนึ่งแห่งกฎหมายนั้น เป็นการนำสืบในกรณีว่าส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์ย่อมนำสืบได้(อ้างฎีกาที่ 838/2493) (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2500)
แต่การขอสืบความจริงสำหรับกรณีอื่น เช่น ระหว่างตัวการกับตัวแทน ไม่เกี่ยวแก่การบังคับหรือไม่บังคับนิติกรรมนั้นอย่างไร แม้ข้อเท็จจริงจะต้องแตกต่างไปจากที่ปรากฏในหนังสือก็ย่อมนำสืบได้
โจทก์ขอสืบความจริงว่าโจทก์โอนที่ดินให้จำเลยไปจัดการแบ่งปันให้ทายาทตามเหตุผลในฟ้องเป็นเรื่องระหว่างตัวการกับตัวแทนซึ่งเป็นลักษณะส่วนหนึ่งแห่งกฎหมายนั้น เป็นการนำสืบในกรณีว่าส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์ย่อมนำสืบได้(อ้างฎีกาที่ 838/2493) (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9386/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด, การฟ้องคดีอาญาเกี่ยวข้องคดีแพ่ง, ตัวการ-ตัวแทน, การแก้ไขคำฟ้อง, ความรับผิดชอบทางละเมิด
ชื่อสกุลที่ถูกต้องของลูกหนี้มีอยู่ในรายงานสำนวนคดีของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 7 ฟ้องคดีล้มละลาย จำเลยที่ 7 เป็นทนายความ ควรมีความรอบคอบและระมัดระวังในการขอคัดข้อมูลประวัติบุคคลจากทางราชการเพื่อนำไปเป็นหลักฐานการฟ้องคดีล้มละลายซึ่งเป็นคดีที่มีความสำคัญ แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 7 ไปขอคัดชื่อสกุลของโจทก์ มิใช่ของลูกหนี้ แล้วใช้แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรที่ไปขอคัดมาฟ้องต่อศาลล้มละลายกลาง เป็นกรณีที่จำเลยที่ 7 ไม่มีความรอบคอบและระมัดระวังตามสมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ทนายความ นับเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ครั้นเมื่อจำเลยที่ 7 รู้ในภายหลังว่าฟ้องลูกหนี้ผิดเป็นฟ้องโจทก์ แทนที่จำเลยที่ 7 จะถอนคำฟ้องในส่วนที่ฟ้องโจทก์เพื่อลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้อง อันจะทำให้คำฟ้องในส่วนที่ฟ้องโจทก์เสร็จสิ้นไป แต่จำเลยที่ 7 กลับใช้วิธีแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ไขชื่อ ชื่อสกุล เลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ ซึ่งไม่อาจทำได้ และผลก็ไม่เหมือนกับการถอนคำฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 7 ในส่วนนี้นับว่าเป็นการทำโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การกระทำของจำเลยที่ 7 จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 7 จะกล่าวอ้างว่าเป็นความผิดของทางศาลด้วย เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทในเครือของธนาคาร ก. จำเลยที่ 7 เป็นพนักงานของธนาคาร ก. แต่ได้รับมอบหมายให้ทำงานให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 7 จึงเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะนายจ้างหรือตัวแทน
จำเลยที่ 5 เป็นทนายความของบริษัท พ. ซึ่งรับจ้างดำเนินคดีล้มละลายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยรับสำนวนต่อมาจากจำเลยที่ 7 ภายหลังจากศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้จำเลยที่ 7 แก้ไขคำฟ้อง จำเลยที่ 5 มีหน้าที่ไปสืบพยานเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ จำเลยที่ 5 อ้างตนเองเป็นพยาน ส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของตนแทนการซักถาม และส่งเอกสารซึ่งมีแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของลูกหนี้ที่ถูกต้องแล้วต่อศาล จึงเป็นการนำสืบถึงลูกหนี้ที่ศาลอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องแล้ว มิใช่นำสืบว่าลูกหนี้คือโจทก์ การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาด น่าจะเกิดจากความผิดหลงที่ไปพิจารณาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของโจทก์อันสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 7 ฟ้องโจทก์แต่ไม่ถอนฟ้องกลับใช้วิธีการแก้ไขคำฟ้องดังกล่าว ยังไม่ถนัดที่จะให้รับฟังว่าจำเลยที่ 5 ประมาทเลินเล่อ
เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญา อายุความที่โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.อ. มาตรา 95 ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ขณะคดีอาญายังไม่เด็ดขาด ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทในเครือของธนาคาร ก. จำเลยที่ 7 เป็นพนักงานของธนาคาร ก. แต่ได้รับมอบหมายให้ทำงานให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 7 จึงเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะนายจ้างหรือตัวแทน
จำเลยที่ 5 เป็นทนายความของบริษัท พ. ซึ่งรับจ้างดำเนินคดีล้มละลายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยรับสำนวนต่อมาจากจำเลยที่ 7 ภายหลังจากศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้จำเลยที่ 7 แก้ไขคำฟ้อง จำเลยที่ 5 มีหน้าที่ไปสืบพยานเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ จำเลยที่ 5 อ้างตนเองเป็นพยาน ส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของตนแทนการซักถาม และส่งเอกสารซึ่งมีแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของลูกหนี้ที่ถูกต้องแล้วต่อศาล จึงเป็นการนำสืบถึงลูกหนี้ที่ศาลอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องแล้ว มิใช่นำสืบว่าลูกหนี้คือโจทก์ การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาด น่าจะเกิดจากความผิดหลงที่ไปพิจารณาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของโจทก์อันสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 7 ฟ้องโจทก์แต่ไม่ถอนฟ้องกลับใช้วิธีการแก้ไขคำฟ้องดังกล่าว ยังไม่ถนัดที่จะให้รับฟังว่าจำเลยที่ 5 ประมาทเลินเล่อ
เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญา อายุความที่โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.อ. มาตรา 95 ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ขณะคดีอาญายังไม่เด็ดขาด ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ