คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตัวอักษร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: สาระสำคัญอยู่ที่เสียงเรียกขาน แม้ตัวอักษรต่างกันก็ถือว่าเลียนแบบ
ลักษณะเครื่องหมายการค้าซึ่งใช้กับกางเกงยีนของกลาง แม้ว่าพิจารณาแล้วมีส่วนที่แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมนั้นเห็นได้ชัดเจนว่าสาระสำคัญอยู่ที่เสียงเรียกขานว่า CANTONA ส่วนเครื่องหมายการค้าซึ่งใช้ติดกับกางเกงยีนของกลางก็มีอักษร คำว่า CANTONA และออกเสียงคันโตนา เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม และเนื่องจากตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA เป็นคำเฉพาะไม่ใช่คำสามัญที่มีความหมายธรรมดาทั่วๆ ไป เมื่อเครื่องหมายการค้าที่ติดกับกางเกงยีนของกลางของจำเลยมีอักษรโรมันคำว่า CANTONA เป็นสาระสำคัญแล้ว ดังนั้นแม้ตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมมีลักษณะเป็นอักษรประดิษฐ์ซึ่งต่างจากที่ติดกับกางเกงยีนของกลางจำเลย ซึ่งเขียนด้วยตัวพิมพ์ธรรมดาก็ตาม ก็ถือได้ว่า เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าโจทก์ร่วม
เมื่อเครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของกลางนั้น มีสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า CANTONA เช่นเดียวกับ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม การที่เครื่องหมายการค้าดังกล่าวถูกนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าที่โจทก์ร่วมได้จดทะเบียนไว้ อันได้แก่สินค้าประเภทกางเกง จึงอาจทำให้บุคคลอื่นเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม อันเป็นการทำขึ้นเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมตาม ม.109 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 การที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายกางเกงยีนของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม จึงเป็นความผิดตาม ม. 110 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความเจตนาจริงจากคำขอท้ายฟ้องที่มีตัวเลขและตัวอักษรไม่ตรงกัน ศาลยึดเจตนาที่ชัดเจน ไม่ใช่ตัวอักษรตามกฎหมาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายไว้ว่า ในวันและเวลาเกิดเหตุล. ได้ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปตามถนนเมื่อถึงบริเวณที่เกิดเหตุมีจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 สวนทางมาด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเข้ามา ชนรถที่ ล. ขับทำให้รถของ ล. ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้จัดการซ่อมแซมรถยนต์ คันดังกล่าวไปเป็นจำนวนเงิน 101,492 บาท และค่ายกลากรถ 1,250 บาท รวมเป็นเงิน 102,742 บาท โจทก์จึง ได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง ดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,605 บาท จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันหรือแทนกันใช้เงิน 104,347 บาท ให้โจทก์ และในคำขอท้ายคำฟ้องระบุว่า ให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหาย แก่โจทก์จำนวน 104,347 บาท แล้วมีข้อความในวงเล็บว่า(หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) คำฟ้องของโจทก์ ดังกล่าวแสดงให้เห็นที่มาของตัวเลขค่าเสียหาย 104,347 บาท ว่าเป็นค่าอะไหล่และค่าซ่อมจำนวนหนึ่ง ค่ายกลากรถจำนวนหนึ่ง และค่าดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเงินสามจำนวนเมื่อรวมกัน แล้วจะเป็น 104,347 บาท ดังนี้ การที่มีข้อความในวงเล็บ ต่อท้าย 104,347 บาทว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน)นั้น จึงเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด กรณีเช่นนี้มิใช่กรณีจำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลขถ้าตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็น ตัวอักษรเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12 เพราะฟ้องโจทก์สามารถหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงโดยชัดเจนว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายจำนวน 104,347 บาท ไม่ใช่ "หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน" ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2ชำระเงินจำนวน 102,742 บาท พร้อมดอกเบี้ย จึงไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทจำนวนเงินไม่ตรงกัน ศาลใช้จำนวนเงินตามตัวอักษร และแก้ไขคำสั่งค่าทนายความ
จำเลยเป็นผู้เขียนจำนวนเงินในเช็คพิพาท แต่เขียนจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกัน เมื่อศาลไม่อาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้จึงต้องถือเอาจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรเป็นประมาณ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ โดยที่โจทก์และทนายโจทก์มิได้แก้อุทธรณ์หรือยื่นคำร้องหรือกระทำการใด ๆ ต่อศาลอันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติในการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1417/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากรต้องตามความหมายของประเภทสินค้าและหมายเหตุ หากไม่มีข้อความกำหนดอื่น การตีความตามตัวอักษร
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในการจำแนกประเภทสินค้าตามพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ต้องเป็นไปตามความหมายในประเภทของสินค้านั้น หรือตามความหมายของหมายเหตุหรือตอนที่เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ จะตีความนอกเหนือไปจากความหมายที่ระบุไว้ในพิกัดหรือหมายเหตุในหมวดหรือตอนที่เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆไม่ได้ พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธียืดหรือเป่าเพียง 2 วิธีและยังมิได้มีการตกแต่ง พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธี หล่อ รีด ยืดหรือเป่าและขัดผิวให้เรียบร้อยแล้วไม่ว่าจะขัดผิวโดยกรรมวิธีอย่างไร และกระจกนั้นจะมีสภาพใสเป็นมันเงาหรือไม่อย่างหนึ่งและแผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธีหล่อ รีด ยืดหรือเป่า และทำให้ใสแล้วไม่ว่าจะทำโดยกรรมวิธีอย่างไรและกระทำในขั้นตอนใดของการผลิตอีกอย่างหนึ่งเพราะตามพิกัดดังกล่าวระหว่างข้อความว่าขัดผิวกับทำให้ใสแล้วใช้คำว่า "หรือ" กระจกชีท ที่โจทก์นำเข้ามีกรรมวิธีในการผลิตโดยดึงน้ำแก้วที่หลอมเหลวในเบ้าหลอมขึ้นเป็นแผ่นกระจกในแนวตั้ง แผ่นกระจกที่ผ่านออกมามีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สภาพของผิวกระจกเรียบและใสทั้งสองด้าน เนื่องจากน้ำแก้วที่หลอมเหลวไหลผ่านไปบนผิวโลหะ หลอมเหลวในอ่างโลหะหลอมเหลวที่มีการควบคุมอุณหภูมิจนแผ่นกระจก เย็นลง สินค้าดังกล่าวจึงจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่70.06

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิมพ์ตัวอักษรปลอมบนหลอดฝิ่นเข้าข่ายความผิดฐานปลอมหนังสือ
ตัวอักษรแลเลขที่พิมพ์บนหลอดฝิ่นนั้นนับว่าเป็นหนังสือ ผู้ใดพิมพ์ตัวอักษรแลเลขปลอมบนหลอดฝิ่น ให้เหมือนกับหลอดฝิ่นรัฐบาลมีผิดฐานปลอมหนังสือ (เทียบฎีกาที่ 881/2466 701/2470)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือแจ้งประเมินภาษีที่ระบุตัวเลขและตัวอักษรไม่ตรงกัน ศาลฎีกาเห็นว่าประเมินชอบแล้ว หากตัวเลขชัดเจน
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะที่ระบุจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระเป็นตัวเลขและตัวอักษรต่างกันเป็นเรื่องของความผิดพลาดในการทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ ย่อมไม่สามารถระบุเหตุผลได้ว่าเป็นเพราะเหตุใด เพราะเจ้าพนักงานเองก็เพิ่งมาทราบภายหลัง ซึ่งหากเจ้าพนักงานประเมินทราบความผิดพลาด เจ้าพนักงานประเมินย่อมต้องแก้ไขความผิดพลาดดังกล่าวก่อนส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่โจทก์ สำหรับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ให้เหตุผลที่วินิจฉัยไว้แล้วว่า ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะได้ระบุตัวเลขเป็นรายการเงินภาษี เงินเพิ่มและภาษีส่วนท้องถิ่น รวมเป็นเงินภาษีที่ต้องชำระไว้ชัดเจนแล้ว การที่ระบุตัวอักษรคลาดเคลื่อนไปจากรายการที่เป็นตัวเลข หาใช่กรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงตาม ป.พ.พ. มาตรา 12 ไม่ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงเป็นการชอบแล้ว คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวหาได้ขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 ไม่