พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์กรณีตัวแทนจำกัดอำนาจและการซื้อขายโดยสุจริต
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยทั้งสองประกอบกิจการขายรถยนต์ โดยจำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่ลูกค้าของโจทก์ไป แม้ตามสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์คันพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของจำเลยที่ 2 จะโอนเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อต่อเมื่อชำระราคาครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระราคาให้จำเลยที่ 2 แม้แต่เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 ผู้ขายก็มิได้กำหนดราคารถยนต์ที่ขายหรือตกลงกันในสัญญาว่า ให้กำหนดกันด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งตามป.พ.พ.มาตรา 487 และมิได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระราคารถยนต์ดังกล่าวไว้ด้วย ย่อมเห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์ระหว่างจำเลยทั้งสองไม่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายกันตามปกติ การที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการขายรถยนต์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ในประการที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายแก่บุคคลทั่ว ๆ ไปพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อและยอมให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นตัวแทนทำการออกนอกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิขายรถยนต์พิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาซื้อขายและต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทพร้อมมอบสมุดจดทะเบียนให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการศาลย่อมพิพากษาให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18978/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำกัดอำนาจ, หนังสือค้ำประกัน, ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด, การมอบอำนาจ, สัญญาค้ำประกัน
ข้อตกลงเรื่องอนุญาโตตุลาการและในสัญญาระบุว่า หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับความตกลงนี้ และไม่อาจหาข้อยุติได้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการ เป็นข้อตกลงที่มีผลบังคับใช้กับคู่สัญญา ได้แก่ โจทก์กับบริษัท อ. เท่านั้น ไม่มีผลใช้บังคับกับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัท อ. ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเอกสารและประทับตราสำคัญของบริษัท อ.ทุกครั้ง ในส่วนที่เกี่ยวกับแผนการชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ก็กระทำในนามของบริษัท และบริษัทปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นโดยมีการส่งหนังสือยืนยันยอดหนี้และชำระหนี้ให้แก่โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า บริษัท อ. ให้การรับรองในการกระทำของจำเลยที่ 1 ถือเป็นการมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ติดต่อและเจรจาทำความตกลงกับโจทก์แทนบริษัท การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของบริษัทและกระทำไปภายในขอบอำนาจของตัวแทน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยทั้งสองทำไว้แก่โจทก์เพื่อค้ำประกันการชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัท อ. ภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการซื้อขาย มีเพียงลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองผู้ค้ำประกันเท่านั้น ไม่มีลายมือชื่อของโจทก์อยู่ด้วย หนังสือค้ำประกันดังกล่าว จึงเป็นเพียงหลักฐานในการค้ำประกันเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น ไม่ใช่หนังสือค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 ลักษณะ 7 ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเอกสารและประทับตราสำคัญของบริษัท อ.ทุกครั้ง ในส่วนที่เกี่ยวกับแผนการชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ก็กระทำในนามของบริษัท และบริษัทปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นโดยมีการส่งหนังสือยืนยันยอดหนี้และชำระหนี้ให้แก่โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า บริษัท อ. ให้การรับรองในการกระทำของจำเลยที่ 1 ถือเป็นการมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ติดต่อและเจรจาทำความตกลงกับโจทก์แทนบริษัท การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของบริษัทและกระทำไปภายในขอบอำนาจของตัวแทน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยทั้งสองทำไว้แก่โจทก์เพื่อค้ำประกันการชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัท อ. ภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการซื้อขาย มีเพียงลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองผู้ค้ำประกันเท่านั้น ไม่มีลายมือชื่อของโจทก์อยู่ด้วย หนังสือค้ำประกันดังกล่าว จึงเป็นเพียงหลักฐานในการค้ำประกันเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น ไม่ใช่หนังสือค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 ลักษณะ 7 ใช้เป็นพยานหลักฐานได้