พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของตัวแทนโจทก์: การมอบอำนาจต้องชัดเจนและแจ้งต่อศาลตั้งแต่แรก
คำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความโจทก์ระบุว่า "กรมสรรพากร โดยว.รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจโจทก์" โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้มอบอำนาจให้ ว.ฟ้องคดีนี้และในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบถึงการมอบอำนาจแต่ประการใด การที่โจทก์จะได้มอบอำนาจให้ ว. ฟ้องคดีหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้าง ไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงการมอบอำนาจเท่ากับ ว.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153
การที่โจทก์เพิ่งแนบคำสั่งกรมสรรพากรเรื่องมอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีมาท้ายอุทธรณ์ ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้ว ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 66 ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องทำการสอบสวนในอำนาจของผู้แทนโจทก์ว่าบกพร่องหรือไม่ก่อน เป็นแต่ให้อำนาจศาลเมื่อเห็นสมควรในการที่จะใช้ดุลพินิจทำการสอบสวนหรือไม่เท่านั้น เมื่อในเบื้องต้นไม่ปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นสงสัย การที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ
เมื่อฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่า พนักงานอัยการดำเนินคดีตามอำนาจและหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) กำหนดไว้ ไม่ใช่ในฐานะเป็นตัวแทนหรือทนายความของโจทก์ เป็นฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อความที่ปรากฏตามคำฟ้องซึ่งระบุชัดว่าโจทก์คือกรมสรรพากร โดย ว. รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
การที่โจทก์เพิ่งแนบคำสั่งกรมสรรพากรเรื่องมอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีมาท้ายอุทธรณ์ ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้ว ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 66 ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องทำการสอบสวนในอำนาจของผู้แทนโจทก์ว่าบกพร่องหรือไม่ก่อน เป็นแต่ให้อำนาจศาลเมื่อเห็นสมควรในการที่จะใช้ดุลพินิจทำการสอบสวนหรือไม่เท่านั้น เมื่อในเบื้องต้นไม่ปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นสงสัย การที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ
เมื่อฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่า พนักงานอัยการดำเนินคดีตามอำนาจและหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) กำหนดไว้ ไม่ใช่ในฐานะเป็นตัวแทนหรือทนายความของโจทก์ เป็นฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อความที่ปรากฏตามคำฟ้องซึ่งระบุชัดว่าโจทก์คือกรมสรรพากร โดย ว. รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความหลังย่อมมีผลลบล้างสัญญานอกศาลก่อน แม้ตัวแทนโจทก์ทำสัญญาไว้
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ยอมออกจากห้องพิพาทภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมและมีคำบังคับแล้ว ภายหลังจำเลยจะอ้างว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความกับตัวแทนโจทก์นอกศาลซึ่งทำไว้ก่อน และมีเงื่อนไขแตกต่างไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลเพื่อเป็นเหตุ ไม่ ปฏิบัติตามคำบังคับหาได้ ไม่
หากจะมีสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล ซึ่งทำไว้ก่อนจริงก็ถูกยกเลิกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับหลัง ซึ่งศาลพิพากษาให้เป็นไปตามสัญญานั้นแล้ว
หากจะมีสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล ซึ่งทำไว้ก่อนจริงก็ถูกยกเลิกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับหลัง ซึ่งศาลพิพากษาให้เป็นไปตามสัญญานั้นแล้ว