คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตั๋วเครื่องบิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5759/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสัญญาจ้างต่อเนื่อง: ตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระยังคงมีผลผูกพัน แม้สัญญาจ้างแรกสิ้นสุด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยฉบับแรกในส่วนที่เกี่ยวกับตั๋วเครื่องบินมีข้อความว่า "เริ่มต้นของสัญญานี้ ท่านไม่มีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินไปกลับและจากบ้าน อย่างไรก็ดีเมื่อสัญญาฉบับ 1 ปีเต็ม ได้ตกลงกัน ปี 2539ท่านมีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัดในการเดินทางแบบเที่ยวเดียว จำนวน4 ใบ จากภูเก็ตไปที่ใด ๆ สำหรับท่านและครอบครัวของท่านทันที นอกจากนั้นค่าธรรมเนียมในการขนย้ายทรัพย์สินของท่านไปภูเก็ต และจากภูเก็ตไปที่อื่นจะได้รับการชดใช้โดยรีสอร์ทในวงเงินสูงสุดเท่ากับเงินเดือนที่ท่านได้รับ 1 เดือน"โดยสัญญาจ้างฉบับแรกนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 มีระยะเวลาการจ้างตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 ต่อมาจึงมีการทำสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.2 ขึ้นก่อนสัญญาจ้างฉบับแรกครบกำหนด โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2538 ถึงวันที่30 พฤศจิกายน 2539 มีข้อความในตอนแรกว่า "ตามสัญญาจ้างของเรากับท่านฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2538 และอาศัยการตกลงด้วยวาจาโดยการอนุมัติของไคจ์แอนดรีเซ่น เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ข้าพเจ้ามีความยินดีต่อสัญญาจ้างให้ท่านใหม่อีก 1 ปี..." ข้อความในสัญญาจ้างฉบับหลังดังกล่าวย่อมแสดงโดยชัดแจ้งว่าการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 เป็นผลสืบเนื่องมาจากสัญญาจ้างฉบับแรกเมื่อสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่อมีกำหนด1 ปี ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างฉบับแรก ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระก็ย่อมเกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรก โดยไม่จำต้องระบุสิทธิของโจทก์ในเรื่องนี้ไว้ในสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 อีก และสิทธิของโจทก์ดังกล่าวจะลบล้างได้ก็โดยคู่กรณีตกลงกันยกเลิกเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 มีการยกเลิกสิทธิเกี่ยวกับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระของโจทก์แต่อย่างใด จึงต้องถือว่าข้อตกลงในเรื่องดังกล่าวตามสัญญาจ้างฉบับแรก ยังคงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อไป แม้ว่าสัญญาจ้างฉบับแรกจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 ให้คำนิยามคำว่า นายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการทั่วไปและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ แต่กิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการ จำเลยที่ 1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5774/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ที่แท้จริง กรณีตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน
โจทก์เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบกิจการขนส่งคนโดยสารและขนของระหว่างประเทศ มีรายรับจากราคาค่าโดยสารและค่าขนของระหว่างประเทศ โจทก์ได้ทำสัญญาแต่งตั้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดอ.เป็นตัวแทนจำหน่ายตั๋วโดยสารของโจทก์ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว ตัวแทนของโจทก์ดังกล่าวจะต้องขายตั๋วโดยสารเครื่องบินตามราคาที่โจทก์กำหนดให้ขายซึ่งโจทก์จะกำหนดไว้ต่ำกว่าราคาที่ระบุไว้หน้าตั๋วเนื่องจากจะต้องแข่งขันกับสายการบินอื่น โดยตัวแทนจะได้ค่าตอบแทนการขายในอัตราร้อยละ 5 ของราคาที่โจทก์กำหนดให้ตัวแทนขาย และร้อยละ 3 ในกรณีที่ผู้โดยสารเดินทางโดยใช้สายการบินหลายบริษัท ดังนั้น ผลต่างระหว่างราคาที่ระบุในตั๋วโดยสารเครื่องบินกับราคาที่โจทก์กำหนดให้ขายจึงไม่เป็นรายได้ที่โจทก์ได้รับ จะนำผลต่างดังกล่าวมาเป็นรายรับของโจทก์ด้วยไม่ได้ รายได้ของโจทก์คงมีเพียงเท่าราคาที่โจทก์กำหนดให้ตัวแทนขาย ทั้งโจทก์ก็ได้นำรายได้ดังกล่าวทั้งหมดมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 3 โดยมิได้หักค่าบำเหน็จที่จ่ายให้ตัวแทนออกก่อนจึงเป็นการเสียภาษีจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ถูกต้องตรงตาม ประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา 67 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในการซื้อขายตั๋วเครื่องบิน การคิดราคาตามอัตราปัจจุบัน และสัญญาค้ำประกัน
โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบินของจำเลย จำเลยได้กำหนดราคาตั๋วโดยสารในเส้นทางกรุงเทพมหานคร - ฮ่องกง เป็นเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อโจทก์รับเงินค่าขายเป็นเงินบาท จึงต้องคิดในอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง
โจทก์ร่วมได้ออกหนังสือค้ำประกันความรับผิดของโจทก์ในการเป็นตัวแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยเพียงบางส่วน จำเลยจึงมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ และมีสิทธิเรียกร้องบังคับเอากับโจทก์ร่วมตามพันธะแห่งสัญญาค้ำประกันที่มีต่อจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในการซื้อขายตั๋วเครื่องบิน: การคิดราคาตามอัตราปัจจุบันเมื่อรับชำระเป็นเงินบาท
โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบินของจำเลย จำเลยได้กำหนดราคาตั๋วโดยสารในเส้นทางกรุงเทพมหานคร - ฮ่องกง เป็นเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อโจทก์รับเงินค่าขายเป็นเงินบาท จึงต้องคิดในอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง
โจทก์ร่วมได้ออกหนังสือค้ำประกันความรับผิดของโจทก์ในการเป็นตัวแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยเพียงบางส่วน จำเลยจึงมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ และมีสิทธิเรียกร้องบังคับเอากับโจทก์ร่วมตามพันธะแห่งสัญญาค้ำประกันที่มีต่อจำเลย.