พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทบัญญัติตัดสิทธิทางการเมือง: ต้องรอคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาล
บทบัญญัติว่าด้วยการพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลเป็นบทบัญญัติที่ตัดสิทธิของบุคคล จึงต้องตีความในทางรักษาสิทธิของผู้ต้องถูกตัดสิทธิ โดยคำนึงถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 33 วรรคสองด้วย ดังนั้น บทบัญญัติที่กำหนดให้บุคคลต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งนั้น ย่อมหมายถึงบุคคลที่ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7061/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจยังคงมีผลผูกพันแม้ผู้มอบอำนาจพ้นจากตำแหน่ง คดีฟ้องร้องไม่กระทบเมื่อมอบอำนาจไว้ก่อน
โจทก์โดย ธ.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2534 ให้ ว.ฟ้องคดีแทนโจทก์ต่อมาวันที่ 13 ตุลาคม 2535 ธ.ได้ออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทโจทก์ครั้นวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2536 ว.ได้ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจนั้นโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เพิกถอนหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว ดังนี้ สัญญาตัวแทนที่โจทก์แต่งตั้ง ว.ให้ฟ้องคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจนั้นยังคงมีผลผูกพันโจทก์และ ว.อยู่ตามกฎหมาย หาได้ระงับสิ้นไปเพราะเหตุที่ ธ.ออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทโจทก์ไม่ เหตุดังกล่าวคงมีผลแต่เพียงว่า ธ.ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์นับแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2535 เท่านั้น ส่วนกิจการอันได้กระทำไปแล้วหามีผลกระทบกระเทือนถึงไม่ ว.จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว หนังสือมอบอำนาจฉบับนั้น หาได้สิ้นผลไปก่อนวันฟ้องไม่
ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่า การคิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญาไม่ถูกต้องไม่ตรงตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น แต่ปัญหาข้อนี้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เพราะอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่า การคิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญาไม่ถูกต้องไม่ตรงตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น แต่ปัญหาข้อนี้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เพราะอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะพนักงานสอบสวน: การมีอำนาจสอบสวนไม่ขึ้นอยู่กับ 'การเข้าเวร' แต่ขึ้นอยู่กับ 'ตำแหน่ง'
เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติว่ามีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ย่อมมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตลอดเวลาที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นยังดำรงตำแหน่ง ดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้ใดจะต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในวันเวลาใดเป็นเพียงระเบียบหรือข้อบังคับภายในของหน่วยราชการที่ผู้นั้นสังกัดอยู่ ไม่มีผลทำให้เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวนในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนไม่มีฐานเป็นพนักงานสอบสวน ดังนั้นแม้ในขณะที่ร้อยตำรวจเอก ป. รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วม ร้อยตำรวจเอก ป. ยังไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็ต้องถือว่าร้อยตำรวจเอก ป.มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนในขณะที่รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วมการสอบสวนของร้อยตำรวจเอก ป. เป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสมาชิกภาพสภาเทศบาลเนื่องจากระยะเวลาดำรงตำแหน่งเกินห้าปี
ผู้คัดค้านได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองนนทบุรีเมื่อนับถึงวันที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาเป็นเวลาเกินกว่าห้าปีแล้ว สมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลของผู้คัดค้านย่อมสิ้นสุดลง คดีที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านพ้นจากสมาชิกภาพของสภาเทศบาลเมืองนนทบุรีจึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยอีกต่อไป ให้จำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องตรงกับตำแหน่งผู้มีอำนาจตามกฎหมาย การฟ้องจำเลยที่พ้นตำแหน่งแล้วเป็นอันขาดอำนาจฟ้อง
แม้ในช่องคู่ความในคำฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เป็นจำเลยโดยมิได้ระบุตำแหน่ง แต่ในคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารและมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ตามลำดับ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเก้า ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องส่วนจำเลยที่ 2 ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้ เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลไปถึงจำเลยอื่นด้วย
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้
เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องส่วนจำเลยที่ 2 ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้ เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลไปถึงจำเลยอื่นด้วย
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องตรงกับตำแหน่งผู้มีอำนาจ ณ ขณะเกิดเหตุ แม้ฟ้องโดยระบุตำแหน่ง แต่ผู้ดำรงตำแหน่งเปลี่ยนไปแล้ว ถือไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ในช่องคู่ความในคำฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9เป็นจำเลยโดยมิได้ระบุตำแหน่ง แต่ในคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 1ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารและมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ตามลำดับ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเก้าในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว การฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารซึ่งออกโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือกรุงเทพมหานครโดยตำแหน่งซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อมา ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลต่อไปถึงจำเลยอื่นด้วย เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: จำเลยต้องดำรงตำแหน่งขณะเกิดเหตุ หากมิได้ดำรงตำแหน่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้ฟ้องโดยระบุตำแหน่ง
แม้ในช่องคู่ความในคำฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เป็นจำเลยโดยมิได้ระบุตำแหน่ง แต่ในคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 1ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารและมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ตามลำดับ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเก้า ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องส่วนจำเลยที่ 2 ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้ เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลไปถึงจำเลยอื่นด้วย เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2563/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชีเนื่องจากตำแหน่งไม่ใช่การเฉพาะตัว
ข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว ข้อ (1) ระบุว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองยินยอมตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 6(จังหวัด พิษณุโลก ) เป็นผู้ชำระบัญชี ซึ่งขณะนั้น ม.ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 6 ม. จึงเป็นผู้ชำระบัญชีโดยตำแหน่งราชการไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัว เมื่อ ม. ย้ายไปรับราชการที่อื่นและ จ. ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 6 แทน จ. ก็ย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีในคดีนี้ต่อไปได้ การที่ศาลแต่งตั้ง จ. เป็นผู้ชำระบัญชีคนใหม่แทน ม. ผู้ชำระบัญชีคนเดิม จึงไม่เป็นการผิดวัตถุประสงค์เดิมของโจทก์และจำเลย ทั้งไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาตามยอมของคู่ความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยที่เป็นลูกจ้าง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการฟ้องโดยระบุตำแหน่งและข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการฟ้องตัวบุคคล
โจทก์ยื่นฟ้องผู้จัดการและสมุหบัญชีธนาคารสาขาเป็นจำเลยที่2และที่3โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างของธนาคารจำเลยที่1ดังนี้เป็นการฟ้องตัวบุคคลธรรมดาที่มีตัวอยู่แน่นอนแล้วไม่ใช่เป็นการฟ้องตำแหน่งซึ่งไม่ใช่บุคคลตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยระบุตัวบุคคลธรรมดา ย่อมไม่ใช่การฟ้องตำแหน่ง
โจทก์ยื่นฟ้องผู้จัดการและสมุหบัญชีธนาคารสาขาเป็นจำเลยที่2และที่3โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างของธนาคารจำเลยที่1ดังนี้เป็นการฟ้องตัวบุคคลธรรมดาที่มีตัวอยู่แน่นอนแล้วไม่ใช่เป็นการฟ้องตำแหน่งซึ่งไม่ใช่บุคคลตามกฎหมาย.(ที่มา-ส่งเสริม)