พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเกณฑ์เกษียณอายุตามตำแหน่งงาน ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศ หากหลักเกณฑ์เดียวกัน
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า "ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงโดยเท่าเทียมกันในการจ้างงาน เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจปฏิบัติเช่นนั้นได้" เป็นการกำหนดหน้าที่ของนายจ้างที่จะต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างให้เท่าเทียมกันในการจ้างงาน ไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างเพราะเหตุที่ลูกจ้างมีเพศแตกต่างกันเท่านั้น มีข้อยกเว้นให้ปฏิบัติแตกต่างกันได้ก็ต่อเมื่อลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจปฏิบัติให้เท่าเทียมกันได้ ปรากฏว่าคำสั่งของผู้ร้องที่ให้ลูกจ้างเกษียณเมื่ออายุแตกต่างกัน โดยพนักงานคนงานชายและหญิงเกษียณอายุ 50 ปี บริบูรณ์ พนักงานโฟร์แมนชายและหญิงเกษียณอายุ 55 ปี บริบูรณ์ และพนักงานหัวหน้าโฟร์แมนชายและหญิงเกษียณอายุ 57 ปี เป็นการกำหนดโดยอาศัยตำแหน่งงานของลูกจ้างว่าลูกจ้างตำแหน่งใดจะเกษียณอายุเมื่อใด หาใช่เอาข้อแตกต่างในเรื่องเพศมาเป็นข้อกำหนดไม่ ลูกจ้างในตำแหน่งเดียวกันไม่ว่าชายหรือหญิงยังต้องเกษียณอายุโดยอาศัยหลักเกณฑ์เดียวกัน คำสั่งของผู้ร้องดังกล่าวจึงไม่ขัดกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 15 ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 30 วรรคสอง และมิได้ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3215/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันครอบคลุมความเสียหายจากตำแหน่งงานที่เปลี่ยนแปลง แม้เพิ่มความเสี่ยง ผู้ค้ำประกันยังคงรับผิด
สัญญาค้ำประกันทำขึ้นก่อนสัญญาจ้างแรงงาน แสดงว่าจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันได้ยอมรับผิดโดยไม่ได้จำกัดว่าจำเลยที่ 1 จะได้ทำงานในตำแหน่งใด และโดยปกติในการทำงานลูกจ้างย่อมมีโอกาสก้าวหน้าเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเป็นธรรมดา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาค้ำประกัน อีกทั้งสัญญาค้ำประกันมีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่ มิได้มีข้อความตอนใดระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ช่วยช่างเทคนิคและจำเลยที่ 2 จะรับผิดชอบขณะที่จำเลยที่ 1 มีตำแหน่งดังกล่าวเท่านั้น ดังนั้น แม้ต่อมาตำแหน่งของจำเลยที่ 1 จะเปลี่ยนเป็นพนักงานขายซึ่งอาจมีผลเป็นการเพิ่มภาระการเสี่ยงภัยให้จำเลยที่ 2 ก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันอันมีต่อโจทก์ในหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้เปลี่ยนตำแหน่งงานและเพิ่มความเสี่ยง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งพนักงานธุรการ แม้จะไม่จำกัดว่าเป็นการค้ำประกันเฉพาะในตำแหน่งดังกล่าวและไม่มีกำหนดเวลาก็ตาม การที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ -จ่ายเงิน ให้รับผิดชอบในเรื่องการเงินอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้น จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในหน้าที่การงานตำแหน่งใหม่ แม้จะได้ทราบและมิได้คัดค้านการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ - จ่ายเงิน ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรจุพนักงานตามความรู้ความสามารถและอัตราว่างของตำแหน่ง การเบิกจ่ายค่าจ้างตามอัตราที่สูงกว่าไม่ถือเป็นการรับเข้าทำงานในตำแหน่งนั้น
บัญชีกำหนดอัตราค่าจ้างของจำเลยระบุว่าคนงานไสไม้เป็นคนงานชั้น 2 คนงานตำแหน่งนี้ต้องมีความรู้เรื่องการไสไม้ด้วยเครื่องจักรกล ไม่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์เริ่มเข้าทำงานกับจำเลยโจทก์ได้เคยทำงานหรือมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์ไสไม้มาก่อน การที่จำเลยสั่งบรรจุโจทก์ให้ได้รับค่าจ้างซึ่งเป็นอัตราขั้นต่ำของคนงานชั้น 3 จึงเป็นการถูกต้องตรงกับความรู้ความสามารถของโจทก์แล้ว แต่การที่เมื่อขณะบรรจุโจทก์เข้าทำงานนั้นอัตราคนงานชั้น 3ไม่ว่าง จำเลยจึงบรรจุโจทก์โดยให้อาศัยเบิกค่าจ้างจากอัตราซึ่งเป็นชั้น 2 นั้น จึงหาเป็นการแสดงว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานเป็นคนงานชั้น 2 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: จำเป็นต้องพิสูจน์เหตุผลทางเศรษฐกิจ ความจำเป็น และตำแหน่งงานที่เหมาะสม
ข้อตกลงในสัญญาจ้างระบุเงื่อนไขของการสิ้นสุดสัญญาจ้างที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนวันสิ้นสุดสัญญาตามข้อตกลงว่า เนื่องจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งหรือหลายเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ (ก) การตัดทอนรายจ่าย-การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากขาดตำแหน่งที่เหมาะสมแก่การใช้ทักษะของลูกจ้าง การเลิกจ้างโจทก์ตามข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวจึงต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าการเลิกจ้างนั้นมีเหตุแห่งการเลิกจ้างและเป็นเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์และจำเลยไม่มีตำแหน่งที่เหมาะสมแก่การใช้ทักษะในการทำงานของโจทก์ด้วย เมื่อจำเลยอ้างเหตุในการเลิกจ้างโจทก์ว่าประสบปัญหาด้านการเงินจึงต้องลดค่าใช้จ่ายและไม่สามารถหาตำแหน่งที่เหมาะสมกับค่าจ้างให้โจทก์ต่อไปได้ ดังนั้น การจะพิจารณาว่าที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ จึงต้องให้ได้ข้อเท็จจริงว่าจำเลยประสบปัญหาด้านการเงินเพียงใด มีความจำเป็นต้องเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ มีแผนการตัดทอนค่าใช้จ่ายอย่างไร ได้ดำเนินการตามแผนการดังกล่าวหรือไม่อย่างไร และจำเลยขาดตำแหน่งที่เหมาะสมแก่ทักษะการทำงานของโจทก์หรือไม่อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันครอบคลุมความเสียหายจากตำแหน่งงานที่เปลี่ยนไป ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้
ตามสัญญาค้ำประกันรับรองความเสียหายที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำไว้กับโจทก์เพื่อค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 นั้น มีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้าจึงตกลงยินยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันรับรองความเสียหาย...และข้าพเจ้าทำสัญญานี้...ด้วยความสมัครใจ มีผลผูกพันข้าพเจ้าตามกฎหมายในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้ที่ข้าพเจ้าค้ำประกัน" และในข้อ 1 ระบุว่า "ในระหว่างเวลาที่บุคคลที่ข้าพเจ้าค้ำประกันปฏิบัติงานอยู่กับบริษัท ฯ ผูกพันตามสัญญาว่าจ้างหรือสัญญาแต่งตั้งผู้ขาย...หรือตำแหน่งหน้าที่การงานที่บริษัท รับไว้ในชั้นต้นหรือในตำแหน่งหน้าที่การงานที่เปลี่ยนไปในภายหน้าหากบุคคลที่ข้าพเจ้าค้ำประกันได้กระทำ หรือละเว้นกระทำ...เป็นเหตุให้บริษัท ฯ ได้รับความเสียหาย..." กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายสำหรับการทำงานในตำแหน่งที่ระบุไว้ในขณะทำสัญญาค้ำประกันและในตำแหน่งงานที่เปลี่ยนไปในอนาคตอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นขณะจำเลยที่ 1 ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการร้าน สาขาบัวขาว เมื่อปี 2549 แม้ตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะสูงขึ้นและมีความรับผิดชอบมากขึ้นก็ตาม แต่มิได้อยู่นอกเหนือความตกลงของสัญญาค้ำประกันประกอบกับจำเลยที่ 1 ยังคงมีหน้าที่ในการขายสินค้าและเก็บเงินค่าสินค้านำส่งโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาค้ำประกัน