คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ติดตาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1668/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ติดตามคำสั่งศาล & การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เมื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ในอุทธรณ์ของผู้ร้อง เจ้าพนักงานศาลได้ประทับตราซึ่งมีข้อความว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งในวันนี้ได้ ผู้ยื่นจะมารับทราบคำสั่งศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่น และทุกๆ 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยมีลายมือชื่อทนายผู้ร้องลงชื่อรับทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องมาติดตามดูคำสั่งศาลและมารับทราบคำสั่งศาลเอง หากไม่มาถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้วตามตราที่ประทับข้อความดังกล่าว มิใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาลที่จะต้องแจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบ การที่เจ้าพนักงานศาลไม่แจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบและคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งต่อมาว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ จึงไม่ใช่การพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องโดยยกคำร้องของผู้ร้อง แต่คำร้องดังกล่าวที่ยื่นเข้ามากระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี มิใช่เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้ร้อง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่ง ผู้ร้องก็ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งผู้ร้องอุทธรณ์เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2545 และจะมารับทราบคำสั่งศาลทุก 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่ง จึงถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2545 ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์: เจตนาทุจริต, การใช้กำลัง, ร่วมกระทำความผิด, การติดตามของผู้เสียหาย, การร่วมมือของจำเลย
ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนกับรถเก๋ง รถจักรยานยนต์ล้มทับขาผู้เสียหายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์ซ้อนท้ายกันมามีเจตนาจะลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมาแต่แรก จึงใช้อุบายทำทีเข้าช่วยเหลือหลอกลวงว่าจะพาไปส่งบ้าน ขณะที่จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย โดยจำเลยที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์มีผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายตามกันไป การลักทรัพย์ยังไม่ขาดตอน แม้ว่าเมื่อถึงบริเวณทางแยก จำเลยที่ 2จะขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายลับสายตาไปแล้ว แต่ผู้เสียหายยังไม่ละการติดตามโดยบอกจำเลยที่ 3 ให้หยุดรถเพื่อแจ้งศูนย์วิทยุติดตามจำเลยที่ 2 อีกทางหนึ่ง ทั้งคนร้ายคือจำเลยที่ 3 ก็ยังอยู่กับผู้เสียหาย การที่จำเลยที่ 3 ใช้กำลังประทุษร้ายโดยใช้ศอกตวัดกระแทกผู้เสียหายตกจากรถจักรยานยนต์ก็เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป และกรณีไม่ใช่การกระทำของจำเลยที่ 3 โดยลำพัง เพราะพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ย้อนกลับมายังจุดที่นัดหมายกันไว้ ย่อมเป็นการแสดงชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมกระทำด้วย จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไปรษณีย์ธนาณัติ: หน้าที่ผู้ฝากติดตามรับเงินเอง เมื่อไปรษณีย์ไม่ต้องแจ้ง
ระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 61 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ธนานัติในประเทศ พ.ศ. 2526 ข้อ 241.1 ได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 61 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ. 2526(แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 9 พ.ศ. 2535) ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2535 ข้อ 3 กำหนดให้ที่ทำการต้นทางเพียงแต่ตรวจสอบแบบ ธน.31ท่อนที่1ซึ่งได้รับคืนแบบธน.1ของธนาณัติฉบับนั้น และแยกเก็บไว้เพื่อรอการติดต่อขอรับเงินคืนจากผู้ฝากเท่านั้น ทั้งไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2539ก็มิได้กำหนดให้ที่ทำการต้นทางจะต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากที่จะต้องไปติดต่อขอรับเงินคืนภายในกำหนดเวลาตามระเบียบดังกล่าว ข้อ 235 เมื่อโจทก์ผู้ฝากไม่ได้ไปขอรับเงินคืนในกำหนดเวลาดังกล่าว การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยจึงดำเนินการประกาศโฆษณากำหนดระยะเวลาให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนและโอนเงินธนาณัติที่โจทก์ฝากส่งเป็นของจำเลย เพราะโจทก์ไม่ไปขอรับเงินตามระเบียบ ข้อ 236 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2539 ข้อ 204 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาทางหน้าศาล ถือเป็นการแจ้งให้ทราบแล้ว แม้โจทก์มิได้ติดตามตรวจสอบ
ศาลแรงงานกลางนัดฟังคำพิพากษาและได้ปิดประกาศแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบที่หน้าศาลโดยให้มีผลทันทีแล้วตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 25,26 จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ไปฟังคำพิพากษาในวันนัดและศาลแรงงานกลางได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังโดยจดแจ้งไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ถือว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาตามกฎหมายแล้ว จึงต้องถือว่าได้มีการอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟังแล้วในวันนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 140 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จะอ้างว่ายังไม่ทราบคำพิพากษาไม่ได้
โจทก์ไม่ติดตามตรวจสอบว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่ เมื่อใด เพราะเข้าใจว่าช่วงนั้นศาลแรงงานกลางมีงานเกี่ยวกับการพิพากษาคดีจำนวนมาก ก็ถือว่าเป็นความผิดหรือบกพร่องของโจทก์เองไม่ใช่ความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความย้ายภูมิลำเนาแล้วไม่ติดตามผลการส่งหมายนัด ถือเป็นเหตุทิ้งฟ้องอุทธรณ์ได้ ศาลพิจารณาค่าฤชาธรรมเนียม
ผู้คัดค้านยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2534ศาลชั้นต้นสั่งในวันเดียวกันว่า "รับอุทธรณ์ผู้คัดค้าน สำเนาให้ผู้ร้อง ให้ผู้คัดค้านนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ผู้ร้องภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน เพื่อดำเนินการต่อไป มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้องอุทธรณ์" ผู้คัดค้านได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดแล้ว ต่อมาวันที่ 26 มกราคม 2534พนักงานส่งหมายรายงานว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ น. ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องไม่ได้ จากผลดังกล่าวผู้คัดค้านต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 15 วัน ว่าจะจัดการอย่างไรต่อไปกล่าวคือต้องแถลงภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2534 ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2534 รองจ่าศาลได้รายงานให้ศาลทราบว่า ผู้คัดค้านไม่ได้แถลงภายในกำหนด ถือว่าผู้คัดค้านจงใจทิ้งฟ้องอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: พฤติการณ์ติดตาม ยิงขณะอยู่ในที่คับขัน และความแค้นส่วนตัว
จำเลยกับพวกร่วมกันขับรถยนต์ติดตามรถยนต์ ล. ถึง 3 กิโลเมตรและใช้อาวุธปืนยิง ล. 2 ครั้ง โดยเฉพาะครั้งหลัง เป็นการยิงขณะ ล. อยู่ในหนองน้ำไม่อาจหลบหนีได้อีก เป็นการส่อให้เห็นความมุ่งมั่นที่จะฆ่า ล. ให้ได้ เมื่อประกอบกับพฤติการณ์ที่จำเลยประกาศชื่อตน และถาม ล. ว่า ล. เป็นผู้ฆ่าบิดามารดาและ น้องสาวจำเลยทำไม ทั้งได้ความว่าจำเลยตามฆ่า ล.มา 3 ปีแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) จำเลยยิง ล. แต่กระสุนปืนพลาดไปถูก จ. ถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่า จ. โดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) ประกอบมาตรา 60 กระทงหนึ่งต่อมาจำเลยกับพวกร่วมกันใช้อาวุธปืนยิง ล. บาดเจ็บและถึงแก่ความตายในภายหลัง จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่า ล. โดยไตร่ตรองตามมาตรา 289(4) อีกกระทงหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันแต่โจทก์มิได้ฟ้องหรืออุทธรณ์ฎีกาประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรม จึงไม่อาจลงโทษจำเลยเป็นแต่ละกรรมได้ คงลงโทษจำเลยฐานฆ่า ล. และ จ. โดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบในการดำเนินคดี: จำเลยมีหน้าที่ติดตามและตรวจสอบการดำเนินคดีของตนเอง
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ อ้างว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เพราะจำเลยที่ 1เข้าใจผิดว่า จำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้ทนายความประจำตัวของจำเลยที่ 2 ดำเนินคดีโดยยื่นคำให้การและดำเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ แทนจำเลยที่ 1 และทนายความของจำเลยที่ 2 ก็เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้ทนายความของจำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การและดำเนินกระบวนพิจารณาเอง แม้เหตุผลตามคำร้องจะเป็นความจริงก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เพราะจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องเอาใจใส่ในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 เอง จำเลยที่ 1 จะอ้างความเข้าใจผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยบันดาลโทสะจากการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง กรณีผู้ตายติดตามบุตรจำเลยเข้าไปในบ้านหลังทำร้ายร่างกาย
ผู้ตายใช้อาวุธปืนตบหน้าบุตรจำเลยเป็นบาดแผลมีโลหิตไหลที่ใบหน้า เมื่อบุตรจำเลยวิ่งหนีขึ้นบนบ้านผู้ตายซึ่งมีอาวุธปืนยังติดตามเข้าไปในบ้านอีก โดยไม่มีความประสงค์จะทำร้ายบุตรจำเลย แล้วเกิดโต้เถียงกับจำเลย จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในขณะนั้น ดังนี้การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตาม ป.อ. มาตรา 72.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการใช้รถราชการเกิดอุบัติเหตุ ไม่ติดตามรถคู่กรณีเพื่อหาตัวผู้รับผิด ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยเป็นข้าราชการในกรมโจทก์ ขณะเกิดเหตุจำเลยใช้รถยนต์ของโจทก์เป็นยานพาหนะเดินทางไปตรวจราชการ โดยมี พ. เป็นพนักงานขับรถ ระหว่างทางถูกรถบรรทุกสิบล้อเฉี่ยว ชน จำเลยและ พ.ต่างไม่ทราบหมายเลขทะเบียนรถบรรทุกสิบล้อคันนั้น และไม่ทราบว่าคนขับรถบรรทุกเป็นใคร เกิดเหตุแล้ว พ. จอดรถตรวจดู ความเสียหายและเก็บเศษกระจกรถทิ้งอยู่พักหนึ่ง คนขับรถบรรทุกได้ขับหลบหนีไปไกลแล้วถึงหากจำเลยจะติดตามไปเพื่อหาตัวผู้รับผิดมาชดใช้ค่าเสียหายก็ไม่เป็นการแน่นอนว่าจำเลยจะกระทำได้สำเร็จ แม้คำสั่งกรมที่ดิน 536/2516 ข้อ 13 จะระบุให้ผู้ใช้รถสอบสวนให้ได้ตัวผู้รับผิดมาชดใช้ค่าเสียหายก็ตาม การที่จำเลยไม่ติดตามรถบรรทุกไปในพฤติการณ์เช่นนี้ ไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยไม่สอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดถึงขนาดที่จะถือว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการละเมิดหน้าที่หรือไม่ กรณีรถราชการถูกชนแล้วไม่ได้ติดตามรถคู่กรณีเพื่อหาตัวผู้รับผิด
จำเลยเป็นข้าราชการกรมโจทก์และใช้รถยนต์ของโจทก์เป็นยานพาหนะเดินทางไปตรวจราชการต่างจังหวัด ระหว่างทางรถยนต์ถูกรถบรรทุกเฉี่ยวชน เกิดเหตุแล้วคนขับรถคันของจำเลยได้จอดรถตรวจตราความเสียหายและเก็บเศษกระจกรถทิ้ง ส่วนรถบรรทุกได้ขับหลบหนีไปด้วยความเร็วสูง และไปไกลจนถึงหากจำเลยจะสั่งให้ขับรถติดตามไปก็ไม่แน่ว่าจะพบรถบรรทุกคันดังกล่าวหรือไม่ ดังนี้แม้คำสั่งของโจทก์จะระบุให้ผู้ใช้รถสอบสวนให้ได้ตัวผู้รับผิดมาชดใช้ค่าเสียหายก็ตามการที่จำเลยไม่ติดตามรถบรรทุกไปในพฤติการณ์เช่นนี้ ก็ไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อหาตัวผู้กระทำความผิดมาชดใช้ค่าเสียหายถึงขนาดที่จะถือว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์.
of 3