คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตีความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7979/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนความผิดฐานลักทรัพย์: การกระทำที่เข้าข่ายช่วยเหลือผู้กระทำผิด และการตีความฟ้อง
จำเลยที่ 1 ลักสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายที่ 1 โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์โดยกระชากเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายทั้งสองไปโดยทุจริต โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามฉกฉวยเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายทั้งสองไปซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6406/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยในคดียาเสพติด: การตีความคำขอท้ายฟ้อง และขอบเขตการเพิ่มโทษในกระทงต่างๆ
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 159 กำหนดแต่เพียงว่า เมื่อโจทก์ต้องการให้เพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบให้กล่าวมาในฟ้อง มิได้กำหนดให้อ้างมาตราในกฎหมายที่ขอเพิ่มโทษไว้ดังเช่นการฟ้องคดีที่ต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และบรรยายมาในฟ้องเกี่ยวกับการขอเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองว่าจำเลยทั้งสองเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพ้นโทษมาแล้วกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ โดยมีคำขอท้ายฟ้องเพียงว่าขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตามกฎหมาย แต่คำขอดังกล่าวเป็นกรณีที่อาจเพิ่มโทษได้กึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 หรือเพิ่มโทษได้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เมื่อคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่แน่ชัดว่าประสงค์ให้เพิ่มโทษตามบทกฎหมายใด จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองคนละหนึ่งในสามสำหรับความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงชอบแล้ว และเมื่อจะต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองในการกระทำความผิดฐานนี้ด้วยย่อมเพิ่มโทษปรับได้ เพราะเป็นกรณีมีการลงโทษในการกระทำความผิดฐานนี้ถึงจำคุกมิใช่ลงโทษฐานนี้เพียงปรับสถานเดียว
คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี และปรับ 400,000 บาท ฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ จำคุก 5 ปี ฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 2 ปี ฐานพาอาวุธปืน ฯ จำคุก 1 ปี ความผิดของจำเลยที่ 2 แต่ละกระทงเข้าหลักเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษได้แล้วย่อมต้องเพิ่มโทษทุกกระทงความผิด แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาย่อมไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 สำหรับความผิดกระทงอื่นได้อีกเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3375/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาและดอกเบี้ยตามกฎหมาย: การตีความอัตราดอกเบี้ยขัดแย้งกันในสัญญา
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินข้อ 2 มีข้อความเป็นตัวพิมพ์ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละ 1 บาท ต่อเดือน แต่ข้อความถัดไปกลับเขียนว่าร้อยละ 1.50 ต่อเดือน ซึ่งขัดแย้งกันเอง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่าดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.50 ต่อเดือน นั้นผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง จึงต้องตีความว่าข้อตกลงดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยได้ถึงอัตราร้อยละ 1.50 ต่อเดือน หรือเท่ากับอัตราร้อยละ 18 ต่อปี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 654 จึงตกเป็นโมฆะ ผลเท่ากับไม่มีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ย แต่ ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินข้อ 2 อีกฉบับหนึ่งมีข้อความเป็นตัวพิมพ์ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละ 1 บาท ต่อเดือน แต่ข้อความถัดไปที่เว้นช่องว่าไว้สำหรับกรอกกำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยกลับเขียนว่าไม่ต้องเสียดอกเบี้ย จึงขัดแย้งกันและเป็นที่สงสัย โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานประกอบการแปลความหมายตามเจตนาแท้จริงของการทำข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยได้ เพราะเท่ากับเป็นการนำสืบว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน: ค่าอาหารและรายรับอื่นรวมเป็นค่าจ้างหรือไม่ และการตีความข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชย
จำเลยอุทธรณ์ว่าเงินค่าอาหารและเงินรายรับอื่นไม่ใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 เป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย จึงอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 ส่วนอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าเงินค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยการเกษียณอายุนั้น ถือเป็นค่าชดเชยตามมาตรา 118 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ แล้วหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ให้แปลความข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าชดเชยเมื่อพนักงานเกษียณอายุแล้ว จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเช่นกัน ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจช่วง: การตีความเจตนาผู้มอบอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 10 เพื่อให้เกิดผลบังคับใช้
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์มีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้า บริษัท ส. โดย ซ. และ ว. กรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนบริษัทดังจะกล่าวต่อไปนี้... ข้อ 1 ให้ตัวแทนมีอำนาจฟ้องคดี... ข้อ 9 ... ให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วง เพื่อให้มีอำนาจและดำเนินการตามอำนาจดังกล่าวข้างต้นให้ทุกประการ..." และหนังสือมอบอำนาจอีกฉบับมีข้อความว่า "ด้วยหนังสือนี้ข้าพเจ้าบริษัท ส. โดย ว. กรรมการผู้มีอำนาจ ขอแต่งตั้งให้ จ. และหรือ ก. ให้เป็นตัวแทนของบริษัท และให้อำนาจดำเนินการแทนบริษัทดังจะกล่าวต่อไปนี้..." แม้หนังสือมอบอำนาจฉบับหลังจะระบุว่า ว. ผู้มอบอำนาจกระทำการในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจโจทก์ มิได้ระบุว่ากระทำการแทนในฐานะตัวแทนโจทก์ก็ตามแต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 10 บัญญัติว่า "เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ ให้ถือเอาตามนัยนั้น ดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล" ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยในคำฟ้องระบุว่า จ. และหรือ ก. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วง กับอ้างหนังสือมอบอำนาจทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน ทั้งใบแต่งทนายความโจทก์ระบุว่า ผู้แต่งทนายความคือโจทก์โดย จ. ผู้รับมอบอำนาจช่วง จึงต้องถือว่า ว. มีเจตนาลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจฉบับหลังเพื่อมอบอำนาจช่วงให้ จ. และหรือ ก. ฟ้องคดีนี้ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ หาได้กระทำการในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจโจทก์แต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'สถานที่บูชาสาธารณะ' ในความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลฎีกาพิจารณาจากพจนานุกรมและข้อเท็จจริง
คำว่า "ศาลาการเปรียญ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง ศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรม ศาลาการเปรียญจึงหาใช่สถานที่บูชาสาธารณะตาม ป.อ. มาตรา 335 (9) ด้วยไม่
พระยอดขุนพลของกลางที่จำเลยเข้าไปลัก ขณะเกิดเหตุติดอยู่ที่แผงบริเวณเสาของศาลาการเปรียญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษทางอาญา: การตีความคำขอท้ายฟ้องให้เป็นคุณแก่จำเลยเมื่อไม่ชัดเจน
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ระบุเพียงว่า ขอให้เพิ่มโทษตามกฎหมาย ไม่แน่ชัดว่าประสงค์ให้เพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 หรือให้เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 จึงเพิ่มโทษได้เพียงหนึ่งในสาม อันเป็นการตีความให้เป็นคุณแก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้าง และแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3589/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่: การตีความคำว่า 'ทุจริต' ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และความหมายตามพจนานุกรม
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) กำหนดว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่ง ถูกเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ แต่บทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้ คำว่า "โดยทุจริต" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง โจทก์รับเงิน 100 บาท ที่ ว. ลูกค้าของจำเลยนำมามอบให้โจทก์ภายหลังจากที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ขับรถโฟล์กลิฟท์ยกสินค้าให้ ว. ตามปกติเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายเรียกร้องหรือสร้างเงื่อนไขจนเป็นเหตุให้ ว. ต้องมอบเงินดังกล่าวให้โจทก์ กรณียังไม่พอถือว่าโจทก์มีความประพฤติชั่ว โกง ไม่ ซื่อตรง อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) และ (4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะข้าราชการของทหารกองประจำการตามกฎหมายยาเสพติด: การตีความข้อยกเว้น
การที่บุคคลใดจะเป็นข้าราชการหรือไม่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายหาใช่ว่าบุคคลใดที่ต้องไปปฏิบัติราชการแล้วจะมีฐานะเป็นข้าราชการเสมอไป ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการ"หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2479มาตรา 4(3) บัญญัติว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด และมาตรา 4(8)บัญญัติว่า "ทหารประจำการ" หมายความว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ จึงเห็นได้ว่าตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ และพระราชบัญญัติรับราชการทหารฯ ได้แยกทหารประจำการ และ ทหารกองประจำการไว้ต่างหากจากกัน เฉพาะทหารประจำการเท่านั้นที่ถือว่าเป็นข้าราชการจะแปลความให้หมายความรวมเป็นจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทหารกองประจำการว่าเป็นข้าราชการ อันจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสามเท่า ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 ด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5999/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์ และการใช้ยานพาหนะเป็นองค์ประกอบความผิด
++ เรื่อง ชิงทรัพย์ ++
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์ยังไม่สามารถแปลความหมายว่า จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดชิงทรัพย์เพราะตามคำฟ้องได้ความเพียงว่า ก่อนชิงทรัพย์ผู้เสียหายจำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์เท่านั้น จำเลยทั้งสองอาจเพียงแต่ใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมาและจอดรถไว้แล้วเดินไปยังที่เกิดเหตุซึ่งอยู่อีกแห่งหนึ่งแล้วทำการชิงทรัพย์โดยไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์คันนี้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยก็ได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่อาจแปลหรือเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 340 ตรี
of 23