พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากละเมิด: ศาลอุทธรณ์ตีความตามเจตนาสุจริตและปกติประเพณีได้
แม้จำเลยที่ 3 มิใช่ผู้ที่กระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่จำเลยที่ 3 ได้ทำบันทึกการตกลงค่าเสียหายว่าจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 3 สมัครใจเข้าทำสัญญากับโจทก์รับที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์จากการถูกผู้อื่นกระทำละเมิด เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ให้ต้องรับผิดตามสัญญา ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยที่ 3 นำสืบในสำนวนความมาวินิจฉัยโดยตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตของคู่กรณีและโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 368 จึงมีอำนาจกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างนายเรือมีกำหนดเวลา vs. ไม่มีกำหนดเวลา: การตีความสัญญาและการคุ้มครองแรงงาน
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ในตำแหน่งเป็นนายเรือ โดยมีข้อตกลงตามสัญญาว่าในกรณีเรือที่ลูกจ้างทำงานเดินทางกลับมาถึงท่าเรือกรุงเทพฯ ภายหลังวันครบกำหนดสัญญาจ้างมิให้ถือว่าเป็นการต่อสัญญาจ้างหรือเป็นการจ้างโดยมิได้กำหนดเวลาแต่อย่างใด การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวเป็นโมฆะเพราะขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่งนั้น เป็นการอุทธรณ์ให้มีการตีความข้อความในสัญญาว่าชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับหรือไม่เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย และที่โจทก์อุทธรณ์ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยมีระยะเวลาติดต่อกันมาโดยตลอด หาได้สิ้นสุดเป็นคราว ๆ ไม่ จึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา เป็นการอุทธรณ์ให้ตีความสัญญาว่าชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับหรือไม่ กับเป็นสัญญาที่มีกำหนดเวลาแน่นอนหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าทรัพย์: การตีความสัญญาและการบอกเลิกสัญญาโดยชอบ
สัญญามีข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เช่า ระยะเวลาการเช่าค่าเช่าที่ผู้เช่าตกลงชำระเป็นรายเดือน หน้าที่ของผู้เช่า การสูญหายและเสียหายของทรัพย์สินที่เช่า การผิดสัญญา สิทธิในการยกเลิกสัญญาของผู้ให้เช่า อันเป็นลักษณะของการเช่าทรัพย์ตาม ป.พ.พ. โดยไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าคู่สัญญาได้ตกลงซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินที่เช่า และไม่ปรากฏว่าค่าเช่าที่ชำระให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาทรัพย์สินที่เช่า แม้ตามสัญญาข้อ 6 จะให้ผู้เช่ามีสิทธิเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่า ก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่าหากประสงค์จะซื้อในอนาคต คู่สัญญามิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าให้แก่กันมาตั้งแต่เริ่มแรกดังสัญญาเช่าซื้อ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเช่าทรัพย์
การบอกเลิกสัญญาเช่าทรัพย์ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้น การมอบอำนาจให้ทนายความบอกเลิกสัญญาก็ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาพร้อมใบตอบรับของไปรษณีย์มาแสดงจึงถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว
การบอกเลิกสัญญาเช่าทรัพย์ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้น การมอบอำนาจให้ทนายความบอกเลิกสัญญาก็ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาพร้อมใบตอบรับของไปรษณีย์มาแสดงจึงถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4057/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: การตีความขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันต้องเคร่งครัดตามสัญญา
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว การตีความให้ผู้ค้ำประกันรับผิดจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด จะตีความไปในทางขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกันให้เกินเลยไปกว่าข้อความที่ปรากฏชัดแจ้งในสัญญาค้ำประกันไม่ได้ จำเลยเข้าทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ภ. วันใดย่อมหมายถึงจำเลยยอมค้ำประกันการทำงานของ ภ. นับแต่วันที่ทำสัญญาค้ำประกันนั้นเป็นต้นไป มิใช่หมายความถึงยอมค้ำประกันหนี้ที่ ภ. เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้วก่อนหน้าวันที่จำเลยตกลงยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกัน หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยรับผิดในหนี้ที่ ภ. ก่อให้เกิดขึ้นก่อนหน้าวันที่จำเลยเข้าเป็นผู้ค้ำประกันก็ต้องระบุไว้ให้ชัดเจน เมื่อสัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับผิดในหนี้ที่ ภ. ก่อให้เกิดขึ้นแล้วก่อนวันทำสัญญา แต่หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้ที่ ภ. ก่อให้เกิดขึ้นก่อนวันที่จำเลยเข้าเป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันความเสียหาย: การตีความคำว่า 'กรณีใดๆ' และขอบเขตความรับผิดชอบจากเหตุสุดวิสัย
ข้อความในสัญญาประกันความเสียหายที่ว่า หากโจทก์ทำความเสียหายให้แก่จำเลยไม่ว่ากรณีใด ๆ โจทก์ยินดีให้จำเลยหักเงินประกันความเสียหาย คำว่า กรณีใด ๆ ย่อมหมายความถึงกรณีที่โจทก์ทำความเสียหายให้แก่จำเลยโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของโจทก์ แต่เกิดจากเหตุสุดวิสัย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมิได้เกิดจากการกระทำของโจทก์ จะให้โจทก์รับผิดโดยอาศัยข้อสัญญาดังกล่าวไม่ได้ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อสัญญาที่ให้โจทก์รับผิดในความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยด้วยใช้บังคับได้หรือไม่ เพราะสัญญามิได้ระบุเช่นนั้น ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินค่าเสียหายที่หักไปชอบแล้ว
ส่วนที่โจทก์แก้อุทธรณ์ว่า หลังจากศาลแรงงานกลางพิพากษาแล้ว จำเลยยังหักเงินของโจทก์ต่อไปอีกจำนวน 890 บาท รวมเป็นเงินที่หักไป 5,770 บาท ขอให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยด้วยนั้น เงินจำนวน 890 บาท จำเลยเพิ่งหักไปหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้น ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวคืนและการเรียกร้องเอาเงินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง โจทก์ต้องทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ยื่นขึ้นมา จะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่
ส่วนที่โจทก์แก้อุทธรณ์ว่า หลังจากศาลแรงงานกลางพิพากษาแล้ว จำเลยยังหักเงินของโจทก์ต่อไปอีกจำนวน 890 บาท รวมเป็นเงินที่หักไป 5,770 บาท ขอให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยด้วยนั้น เงินจำนวน 890 บาท จำเลยเพิ่งหักไปหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้น ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวคืนและการเรียกร้องเอาเงินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง โจทก์ต้องทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ยื่นขึ้นมา จะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3325/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาและการบังคับจำนอง: ศาลต้องยึดตามข้อตกลงในสัญญาที่ชัดเจน และพิพากษาตามคำขอทุกข้อ
การตีความการแสดงเจตนาตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 นั้น หมายถึงกรณีนิติกรรมที่ทำกันไว้มีข้อความไม่ชัดแจ้ง หรือมีข้อความขัดแย้งกัน หรืออาจแปลความหมายได้เป็นหลายนัย แต่ถ้าข้อความในสัญญาชัดเจนแล้ว ย่อมไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่จะต้องตีความการแสดงเจตนาของคู่สัญญาอีก คดีนี้จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และนำที่ดินมาทำสัญญาจำนองไว้กับโจทก์ และหนังสือสัญญาจำนองมีข้อความระบุว่า "ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแก่ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันหนี้ของตนเองที่มีต่อผู้รับจำนอง และคู่สัญญาตกลงให้ถือสัญญาจำนองนี้เป็นหลักฐานการกู้ยืมด้วย เป็นจำนวนเงิน 48,000 บาท โดยให้ดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินร้อยละ 15 ต่อปี ?" การที่ศาลชั้นต้นนำข้อความอื่นนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวมาใช้แปลเจตนาของคู่สัญญาในทำนองเป็นที่สงสัยว่าโจทก์ตกลงคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยหรือไม่นั้น ไม่ต้องด้วยการตีความการแสดงเจตนาเพราะข้อความในสัญญาชัดแจ้งแล้ว ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังว่า คำฟ้องของโจทก์ในส่วนของต้นเงินกู้และการบังคับจำนองมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งศาลมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในส่วนนี้ได้ แต่การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองนี้ไร้ผล ซึ่งการวินิจฉัยที่เป็นคุณแก่โจทก์แล้วแต่ไม่พิพากษาให้เป็นไปตามนั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีที่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิได้ตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังว่า คำฟ้องของโจทก์ในส่วนของต้นเงินกู้และการบังคับจำนองมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งศาลมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในส่วนนี้ได้ แต่การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองนี้ไร้ผล ซึ่งการวินิจฉัยที่เป็นคุณแก่โจทก์แล้วแต่ไม่พิพากษาให้เป็นไปตามนั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีที่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิได้ตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินและการออกเช็คเป็นหลักประกัน การตีความเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา
โจทก์เป็นผู้จัดหาหนังสือสัญญากู้ยืมเงินมาด้วยตนเอง และเป็นผู้กรอกข้อความเอง ซึ่งปรากฏว่าโจทก์มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี หากเห็นว่าข้อความในหนังสือสัญญาไม่สัมพันธ์หรือใช้ไม่ได้กับการออกเช็คพิพาทในข้อสาระสำคัญ โจทก์ย่อมทราบดีและน่าจะทำการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ที่แท้จริง เมื่อหนังสือสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับมีข้อความตรงกันในข้อ 4 ว่า เพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน จำเลยผู้กู้นำเช็คพิพาทแต่ละฉบับมอบให้ไว้แก่โจทก์ผู้ให้กู้เพื่อยึดไว้เป็นประกันเงินกู้ ข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดเจนว่าเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เป็นหลักประกันในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์มิใช่เช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาโอนลิขสิทธิ์ต้องดูเจตนาของคู่สัญญาและพฤติการณ์หลังทำสัญญา ไม่ยึดชื่อสัญญาเป็นหลัก
การตีความสัญญาต้องเป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 คือต้องถือหลักตามความเข้าใจของทั้งสองฝ่ายจะถือเอาเจตนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ นอกจากนี้การตีความสัญญายังต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 ด้วย เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับความหมายของข้อความในสัญญา ศาลจึงต้องแสวงหาเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายโดยค้นหาเอาจากข้อความในสัญญาทั้งฉบับ รวมทั้งพฤติการณ์ที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกันหลังจากทำสัญญานั้นด้วย จะถือเอาแต่เพียงชื่อของสัญญาเป็นเกณฑ์เด็ดขาดดังที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ได้ จากข้อความในสัญญาเห็นได้ว่าข้อความในสัญญาโอนลิขสิทธิ์ดนตรีกรรมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 มีความหมายไม่ชัดเจนว่าเป็นสัญญาโอนขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงโดยเด็ดขาดหรือเป็นแต่เพียงสัญญาโอนขายมาสเตอร์เทป 1 ต้นแบบ หรือ 1 เวอร์ชั่น หาได้มีข้อความชัดเจนดังที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ ข้อความในสัญญาและพฤติการณ์ที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันหลังจากทำสัญญานั้นประกอบกับพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสี่แสดงให้เห็นว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาทำสัญญาเป็นสัญญาโอนขายมาสเตอร์เทป 1 ต้นแบบ หรือ 1 เวอร์ชั่นเท่านั้น มิได้มีเจตนาทำสัญญาโอนขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงดังกล่าวกันแต่อย่างใด ลิขสิทธิ์ในงานเพลงนั้นจึงยังคงเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อลิขสิทธิ์ในดนตรีกรรมคือเพลงทั้งสิบสี่เพลงตามคำฟ้องยังคงเป็นของจำเลยที่ 1 มิได้โอนไปเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันผลิตมาสเตอร์เทปเพลงทั้งสิบสี่เพลงดังกล่าวเป็น 3 ชุด ซึ่งเป็นคนละเวอร์ชั่นกับมาสเตอร์เทปที่จำเลยที่ 1 โอนขายให้แก่โจทก์ ย่อมมิใช่การดัดแปลงงานดนตรีกรรมอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีความผิดตามคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาตามเจตนาของคู่สัญญาและปกติประเพณี มิใช่เพียงชื่อสัญญา สัญญาโอนลิขสิทธิ์ต้องชัดเจน
การตีความตามสัญญาต้องเป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 ด้วย จะถือเอาแต่เพียงชื่อของสัญญาเป็นเด็ดขาดไม่ได้ เมื่อข้อความในสัญญาประกอบกับพยานหลักฐานฟังได้ว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาทำสัญญาโอนขายมาสเตอร์เทป 1 ต้นแบบเท่านั้น มิได้มีเจตนาทำสัญญาโอนขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงดังกล่าวแต่อย่างใด ลิขสิทธิ์ในงานเพลงจึงยังเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันผลิตมาสเตอร์เทปเพลงทั้ง 14 เพลงดังกล่าวเป็น 3 ชุด ซึ่งเป็นคนละเวอร์ชันกับมาสเตอร์เทปที่จำเลยที่ 1 โอนขายให้โจทก์ย่อมไม่ใช่การดัดแปลงงานดนตรีกรรมอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตีความขอบเขตการคืนค่าธรรมเนียมศาล และสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่คืนค่าธรรมเนียม
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลโดยตกลงว่าให้ค่าธรรมเนียมในส่วนที่ศาลไม่สั่งคืนเป็นพับ ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมโดยพิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ เช่นนี้ ตามความหมายในสัญญาประนีประนอมยอมความหมายความว่าให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเฉพาะส่วนที่ศาลสั่งไม่คืนให้ มิใช่หมายความว่าค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับทั้งหมดโดยไม่มีค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องคืนให้แก่โจทก์เลย อันเป็นการทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความไร้ผล และขัดแย้งต่อเจตนาของคู่ความที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาขอค่าฤชาธรรมเนียมคืน แต่ศาลไม่สั่งคืนให้ เช่นนี้ เป็นการที่โจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น หากแต่เป็นอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้ โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้