คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่อสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาเช่า: เงื่อนไขการต่อสัญญาและการทำสัญญาใหม่
สัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 4.1 ระบุว่า ผู้ให้สัญญา(จำเลยที่ 1) ต้องสร้างอาคาร 3 หลัง แล้วยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับสัญญา(โจทก์) และผู้รับสัญญา (โจทก์) ตกลงให้ผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการในอาคารและที่ดินบริเวณข้างเคียงมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะตอบแทนกันเพียง 3 ปี และจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะขอต่ออายุสัญญาเป็นรายปีตามสัญญา ข้อ 4.3 ดังนั้น แม้จะฟังว่าสัญญาประนีประนอม-ยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาก็มีกำหนดระยะเวลาเพียง 3 ปี ส่วนสัญญาเช่ารายพิพาทมีผลบังคับตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว
สัญญาเช่ารายพิพาท ข้อ 9 ระบุว่า ก่อนครบกำหนดอายุสัญญาถ้าผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไปให้ผู้ให้สัญญายื่นความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้รับสัญญา (โจทก์) ภายใน 60 วันก่อนครบกำหนดสัญญานี้เพื่อขออนุญาตใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไป ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ระบุให้จำเลยที่ 1 ยื่นความจำนงเพื่อขออนุญาตจากโจทก์ จึงเป็นเพียงข้อตกลงที่ให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่จะทำการต่อสัญญาได้เท่านั้น แต่การที่จะอนุญาตตามคำขอหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์จะพิจารณาอนุญาต ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อสัญญาที่ระบุว่า ...ฯ ผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) จะต้องยื่นหนังสือแสดงความจำนงต่อผู้รับสัญญา (โจทก์) เพื่อขออนุญาตใช้อาคารและที่ดินออกไปอีกเป็นรายปีไปในการนี้ผู้ให้สัญญาและผู้รับสัญญาจะต้องทำสัญญากันใหม่อีกครั้งหนึ่งตามแบบฟอร์มและข้อกำหนดของผู้รับสัญญา แล้วแสดงว่าการที่จะต่อสัญญาออกไปเป็นรายปีนั้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะต้องทำสัญญากันใหม่ตามแบบฟอร์มและตามข้อกำหนดของโจทก์ข้อกำหนดนี้จึงเป็นเงื่อนไขที่จะต้องตกลงกันใหม่แล้วจึงจะทำสัญญา ดังนั้น ข้อสัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำมั่นหรือเงื่อนไขของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและประนีประนอมยอมความ: การต่อสัญญาเช่าต้องมีข้อตกลงใหม่ การไม่ต่อสัญญาไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ4.1ระบุว่าผู้ให้สัญญา(จำเลยที่1)ต้องสร้างอาคาร3หลังแล้วยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับสัญญา(โจทก์)และผู้รับสัญญา(โจทก์)ตกลงให้ผู้ให้สัญญา(จำเลยที่1)ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการในอาคารและที่ดินบริเวณข้างเคียงมีกำหนดระยะเวลา3ปีแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่1ตกลงจะตอบแทนกันเพียง3ปีและจำเลยที่1มีสิทธิที่จะขอต่ออายุสัญญาเป็นรายปีตามสัญญาข้อ4.3ดังนั้นแม้จะฟังว่าสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาก็มีกำหนดระยะเวลาเพียง3ปีส่วนสัญญาเช่ารายพิพาทมีผลบังคับตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว สัญญาเช่ารายพิพาทข้อ9ระบุว่าก่อนครบกำหนดอายุสัญญาถ้าผู้ให้สัญญา(จำเลยที่1)ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไปให้ผู้ให้สัญญายื่นความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้รับสัญญา(โจทก์)ภายใน60วันก่อนครบกำหนดสัญญานี้เพื่อขออนุญาตใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไปข้อสัญญาดังกล่าวนี้ระบุให้จำเลยที่1ยื่นความจำนงเพื่อขออนุญาตจากโจทก์จึงเป็นเพียงข้อตกลงที่ให้โจทก์จำเลยที่1ที่จะทำการต่อสัญญาได้เท่านั้นแต่การที่จะอนุญาตตามคำขอหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่โจทก์จะพิจารณาอนุญาตซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อสัญญาที่ระบุว่าฯผู้ให้สัญญา(จำเลยที่1)จะต้องยื่นหนังสือแสดงความจำนงต่อผู้รับสัญญา(โจทก์)เพื่อขออนุญาตใช้อาคารและที่ดินออกไปอีกเป็นรายปีไปในการนี้ผู้ให้สัญญาและผู้รับสัญญาจะต้องทำสัญญากันใหม่อีกครั้งหนึ่งตามแบบฟอร์มและข้อกำหนดของผู้รับสัญญาแล้วแสดงว่าการที่จะต่อสัญญาออกไปเป็นรายปีนั้นโจทก์กับจำเลยที่1จะต้องทำสัญญากันใหม่ตามแบบฟอร์มและตามข้อกำหนดของโจทก์ข้อกำหนดนี้จึงเป็นเงื่อนไขที่จะต้องตกลงกันใหม่แล้วจึงจะทำสัญญาดังนั้นข้อสัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำมั่นหรือเงื่อนไขของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องสัญญาเช่า: ข้ออ้างวัตถุประสงค์เมตตาการุณไม่อาจบังคับให้ต่อสัญญาได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องพิพาทเพราะเหตุสัญญาเช่าได้หมดอายุการเช่าแล้วและโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าอีกต่อไปการที่จำเลยฟ้องแย้งโดยอ้างว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์ในทางเมตตาการุณและประกอบการกุศลขอให้โจทก์ให้จำเลยเช่าห้องพิพาทต่อไปอีกเป็นเวลา10ปีหรือมากกว่าโดยไม่ปรากฏว่ามีข้อกำหนดไว้ในสัญญาเช่าหรือโจทก์จำเลยมีนิติสัมพันธ์กันประการอื่นอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิบังคับโจทก์ให้ทำสัญญาเช่าต่อไปได้ดังนี้ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างพิเศษนอกอัตรากำลังเกิน 120 วัน ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจ้างโจทก์ให้ทำงานเป็นลูกจ้างพิเศษนอกอัตรากำลัง ตามปริมาณงานและกำลังเงินงบประมาณที่จะจัดจ้างเป็นคราว ๆ ไปโดยมีสัญญาจ้างกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดระยะเวลาของการจ้างและการต่อสัญญาการจ้างทุกครั้งไว้ชัดแจ้งแน่นอนแต่ละครั้งไม่เกิน 120 วัน แม้การที่จำเลยไม่ต่อสัญญาจ้างกับโจทก์ด้วยเหตุครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างและต้องลดอัตรากำลังลงเพราะหมดความจำเป็นก็ตาม แต่ระยะเวลาการจ้างที่จำเลยต่อสัญญากับโจทก์อีกรวม 2 ครั้งนั้น รวมแล้วเกินระยะเวลาการจ้างตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรกจึงหาได้เข้าข้อยกเว้นตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเช่าเป็นคำมั่นบังคับได้ ผู้ให้เช่าต้องทำสัญญาเช่าต่อตามข้อตกลง
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเช่าที่ดินที่ว่า "ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้แล้ว ผู้ให้เช่าจะให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้โดยผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าเช่าที่ดินดังกล่าวแล้วในค่าเช่าเดือนละ 800 บาท โดยผู้เช่ามิต้องจ่ายเงินเป็นก้อนเพิ่มเติม" นั้น เป็นคำมั่นของผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายลูกหนี้ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาได้ก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดโจทก์ผู้เช่าได้แจ้งความประสงค์ในการที่จะเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี ให้แก่จำเลยผู้ให้เช่าทราบ และจำเลยได้รับแจ้งแล้วจึงต้องผูกพันตามคำมั่นของตน โดยต้องทำสัญญาให้โจทก์เช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียน ผลบังคับใช้ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และการต่อสัญญาโดยปริยาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าตึกพิพาทลงวันเดียวกัน 4 ฉบับมีกำหนด 10 ปี สามฉบับแรกมีกำหนดเวลาเช่าฉบับละ 3 ปี ฉบับสุดท้ายมีกำหนดเวลาเช่า 1 ปี โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีผลบังคับเพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรกเท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 เมื่อสัญญาเช่าฉบับแรกสิ้นกำหนดแล้ว การที่จำเลยยังอยู่ในตึกพิพาทและโจทก์ไม่ทักท้วงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ตามมาตรา 570 เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกการเช่าให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าเป็นอันระงับตามมาตรา 566 จำเลยต้องออกจากตึกพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเกิน 3 ปี ไม่จดทะเบียน สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเมื่อไม่ต่อสัญญา
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย เพราะเหตุที่ทำสัญญาเช่าตึกแถว พิพาทมีกำหนด 10 ปี แต่ไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายจึงมีผลบังคับได้เพียง 3 ปี เมื่อจำเลยไม่ต่อกำหนดเวลาเช่าให้แก่โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามส่วนที่โจทก์ได้อยู่ในห้องเช่า หาใช่กรณีเป็นเรื่องบอกเลิกสัญญาเช่าตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ไม่ เพราะกำหนดเวลาเช่าที่เกินกว่า 3 ปี ได้สิ้นการบังคับลงโดยผลของกฎหมาย โดยมิพักต้องบอกเลิกสัญญาเช่าแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา และผลของการต่อสัญญา ไม่ทำให้เกิดสิทธิค่าชดเชย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยครั้งแรกได้กำหนดระยะเวลาไว้โดยมีข้อสัญญาว่า "เมื่อครบกำหนดแล้วสัญญานี้จะมีผลใช้บังคับต่อไปโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย และต้องทำสัญญากันใหม่อีกชั้นหนึ่ง" ครบกำหนดตามสัญญาฉบับแรกแล้วได้มีการทำสัญญากันใหม่อีกโดยกำหนดเวลาไว้เช่นกัน และข้อกำหนดในสัญญาเช่นเดิม ดังนี้ ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวมิใช่เงื่อนไขที่ทำให้ระยะเวลาที่กำหนดไว้เปลี่ยนแปลงไป แต่มีความหมายเพียงว่าถ้าโจทก์จำเลยประสงค์จะว่าจ้างกันต่อไปก็ต้องตกลงกันใหม่เป็นคราวๆถ้าไม่มีการตกลงทำสัญญากันใหม่ หรือไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยยอมให้โจทก์ทำงานต่อไป สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยก็เป็นอันสิ้นสุดลง สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 วรรคท้าย ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา การต่อสัญญา และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยครั้งแรกได้กำหนดระยะเวลาไว้โดยมีข้อสัญญาว่า 'เมื่อครบกำหนดแล้วสัญญานี้จะมีผลใช้บังคับต่อไปโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย และต้องทำสัญญากันใหม่อีกชั้นหนึ่ง' ครบกำหนดตามสัญญาฉบับแรกแล้วได้มีการทำสัญญากันใหม่อีกโดยกำหนดเวลาไว้เช่นกัน และข้อกำหนดในสัญญาเช่นเดิม ดังนี้ ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวมิใช่เงื่อนไขที่ทำให้ระยะเวลาที่กำหนดไว้เปลี่ยนแปลงไป แต่มีความหมายเพียงว่าถ้าโจทก์จำเลยประสงค์จะว่าจ้างกันต่อไปก็ต้องตกลงกันใหม่เป็นคราวๆถ้าไม่มีการตกลงทำสัญญากันใหม่ หรือไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยยอมให้โจทก์ทำงานต่อไป สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยก็เป็นอันสิ้นสุดลง สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 วรรคท้าย ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าช่วงและการต่อสัญญาเช่า: สิทธิการเช่าช่วงสิ้นสุดเมื่อสัญญาเช่าเดิมหมดอายุ และการเชื่อโดยสุจริตว่าสัญญาจะต่ออายุ
จำเลยให้ ต. เช่าช่วงบ้านพิพาทขณะสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยฉบับเดิมซึ่งจำเลยมีสิทธิให้เช่าช่วงได้ยังมีผลบังคับ และที่จำเลยให้เช่าช่วงเกินกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าฉบับเดิมก็เพราะเชื่อว่าโจทก์จะต่อสัญญาเช่าและอนุญาต ให้เช่าช่วงได้เช่นเดิมทั้งตามสัญญาที่จำเลยให้ ต.เช่าช่วงก็มีเงื่อนไขว่าจำเลยมีสิทธิให้ ต. ออกไปก่อนครบกำหนดเวลาได้ แสดงว่าถ้าโจทก์ไม่อนุญาตให้เช่าช่วงจำเลยก็ไม่ยินยอมให้ ต. เช่าช่วงต่อไปได้ซึ่งจำเลยก็ได้ขับไล่ ต. อันถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาให้เช่าช่วงแล้ว กรณียังไม่พอฟังว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าต่อโจทก์
of 3