คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่อสู้คดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7375-7376/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุมทำให้จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องชอบแล้ว
โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่า จำเลยชำระค่าจ้างก่อสร้างอาคารหลังจากลดและเพิ่มงานตามสัญญาทั้งหมดแล้วเป็นเงิน 109,276,111.73 บาท ต่อมาจำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์อีก 96,258,403.99 บาท คงค้างชำระค่าจ้างอยู่ 7,951,475.95 บาท และโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า ในการชำระเงินค่าจ้างแต่ละงวดจำเลยหักค่าจ้างไว้ร้อยละ 5 เพื่อเป็นประกันผลงานรวมทั้งสิ้น 5,066,231.79 บาท เมื่อคำนวณแล้วจะเห็นได้ว่ายอดเงินไม่ตรงกับที่โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้อง ทั้งไม่ตรงกับยอดเงินตามเอกสารท้ายฟ้อง คำฟ้องในส่วนนี้ไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ทำให้จำเลยไม่อาจเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง จึงเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ย่อมไม่อาจยกขึ้นต่อสู้คดีได้ และสัญญาที่ยังมิได้ตกลงรายละเอียดสาระสำคัญ
การกู้ยืมเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป ถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง นั้น หมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อการกู้ยืมเงิน 5,000,000 บาท ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กับ ร. ร่วมกันกู้ยืมจากจำเลยนั้นไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยจึงไม่อาจอ้างการกู้ยืมเงินดังกล่าวขึ้นต่อสู้เพื่อยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ที่จำเลยมอบให้ยึดถือเป็นประกันไว้ได้
โจทก์กับ ร. ตกลงโอนที่ดินให้แก่จำเลยเป็นการตีใช้หนี้โดยจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. อีกจำนวนหนึ่งซึ่งจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มนั้นเป็นสาระสำคัญที่จะต้องตกลงกัน แต่จำเลยยังไม่ได้ตกลงในรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. เป็นจำนวนเท่าใด จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6792/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดไม่ใช่คำฟ้อง ต้องพิจารณาจากเนื้อหา หากเป็นการต่อสู้คดี ไม่ใช่เสนอข้อหา จึงไม่เป็นคำฟ้อง
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ที่บัญญัติว่า "คำฟ้อง" หมายความว่า กระบวนพิจารณาใดๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล... ไม่ว่าจะเสนอในภายหลัง... โดยสอดเข้ามาในคดี ฯลฯ นั้น เป็นการกำหนดให้คำร้องสอดที่มีลักษณะในการเสนอข้อหาต่อศาลเป็นคำฟ้องด้วยเท่านั้น มิได้กำหนดให้คำร้องสอดทุกฉบับเป็นคำฟ้อง เนื่องจากการร้องสอดเข้ามาในคดีบางกรณีเป็นการเข้ามาต่อสู้คดีในฐานะจำเลย คำร้องสอดกรณีเช่นนี้ย่อมไม่อาจมีสภาพเป็นคำฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่คำร้องสอดจะเป็นคำฟ้องหรือไม่จึงต้องพิจารณาจากเนื้อหาของคำร้องสอดเป็นสำคัญ
ตามคำร้องสอดของผู้ร้องสอดอ้างว่า จำเลยไม่ใช่ผู้เช่าที่ดินพิพาท แต่ผู้ร้องสอดเคยเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ ต่อมาผู้ร้องสอดเปลี่ยนเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของตนเองโดยแย่งการครอบครองก่อนปี 2539 โจทก์ไม่ได้ฟ้องเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปี ผู้ร้องสอดจึงเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท หากศาลพิพากษาขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดจะต้องได้รับความเสียหายจากการถูกบังคับคดีขับไล่โดยผลของคำพิพากษา ขอให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในฐานะจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ดังนี้ คำร้องสอดดังกล่าวเป็นการขอเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในฐานะจำเลย ข้ออ้างสิทธิตามคำร้องสอดจึงถือได้ว่าเป็นการต่อสู้คดีเพื่อให้ศาลยกฟ้อง ไม่ใช่การเสนอข้อหาต่อศาลเพื่อบังคับโจทก์ จึงไม่เป็นคำฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ไม่จำต้องมีคำขอบังคับตามมาตรา 172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1 (3)
ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวาร ผู้ร้องสอดยังไม่ได้รับความเสียหายจากการถูกบังคับคดีให้ออกจากที่ดินพิพาทตามคำร้องสอด ทั้งผู้ร้องสอดอาจยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา ได้อยู่แล้ว การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดเข้ามาในโอกาสดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิร้องเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8431/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องในคดีอาญา และผลต่อการต่อสู้คดีของจำเลย หากข้อแตกต่างไม่ใช่สาระสำคัญ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม มีสาระสำคัญว่า ถ้าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้อง เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา มิให้ถือว่าแตกต่างกับข้อสาระสำคัญ ดังนั้น แม้ว่าทางพิจารณาจะปรากฏว่าเหตุเกิดวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 แตกต่างจากฟ้องที่ว่าเหตุเกิดวันที่ 19 กรกฎาคม 2545 ก็ถือว่าข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียดมิใช่ข้อที่เป็นสาระสำคัญ อีกทั้งเมื่อศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเป็นว่าเหตุเกิดวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 แล้ว จำเลยซึ่งได้รับสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องแล้วก็ยังคงให้การรับสารภาพตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุม: จำเป็นต้องระบุรายละเอียดการยักยอกในคำฟ้องเพื่อให้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย 202,314 บาท และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ยอมรับผิดทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยที่ 1 โดยตกลงผ่อนชำระเป็นรายเดือนแต่เมื่อถึงกำหนดชำระเงิน จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย จะเห็นได้ว่า คำฟ้องโจทก์มุ่งเน้นเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้อันมีมูลฐานมาจากการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์เป็นข้อสำคัญซึ่งโจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้แจ้งชัดว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าโจทก์ไปเมื่อใด เงินที่ยักยอกเป็นจำนวนเท่าใด สินค้าที่ยักยอกเป็นสินค้าประเภทใด จำนวนเท่าใดและราคาเท่าใด หรือมิฉะนั้นโจทก์จะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินหรือรายการสินค้าที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกไปแนบมาท้ายฟ้องด้วย และแม้โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาก็ตาม แต่หนี้ตามสัญญาก็มีมูลฐานมาจากการที่โจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 2 ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ถึงการมีอยู่ จำนวน และความสมบูรณ์แห่งหนี้ดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์มิได้กล่าวแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหากับข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9502/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุที่คำพิพากษาเดิมไม่ชอบ มิใช่เพียงอ้างว่าหากต่อสู้แล้วจะชนะ
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยอ้างแต่เพียงว่า ถ้าจำเลยได้ต่อสู้คดีจำเลยต้องชนะคดีได้ คำร้องของจำเลยไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยแพ้คดีไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลประการใด และหากมีการพิจารณาคดีใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้จำเลยชนะคดีได้อย่างไร จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8875/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้มีการระบุชื่อโจทก์ผิดในคำขอท้ายฟ้อง หากจำเลยยังเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้
คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุถึงตัวบุคคลซึ่งเป็นโจทก์ผู้ยื่นคำฟ้องไว้โดยแจ้งชัดว่า คือ ธ. มิใช่ธนาคารและบรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาว่า เป็นเรื่องกู้ยืมเงินโดยโจทก์เป็นผู้ให้จำเลยกู้เงินไปและกล่าวถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นว่า จำเลยไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนโจทก์จึงมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง และจำเลยทราบดีอยู่ว่าโจทก์มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดามิใช่เป็นนิติบุคคลมาแต่ต้น การที่คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีคำว่าธนาคารโจทก์อยู่ด้วยเป็นเพียงการพิมพ์ผิดพลาดไป ไม่ทำให้จำเลยถึงกับไม่เข้าใจคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7334/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและการยกข้อที่ไม่เคยต่อสู้คดีในชั้นฎีกา
แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและมิได้อ้างตนเองเบิกความเป็นพยานหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยต้องคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ แต่ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้รับมอบโฉนดที่ดินไปจากโจทก์นั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4504/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการต่อสู้คดี การให้การที่ไม่ชัดเจน และสิทธิในการคิดดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน
คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่และ อ. จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่จำเลยไม่รับรอง เพราะหนังสือรับรองออกมาก่อนฟ้องถึง 7 เดือนนั้นจำเลยไม่ได้ให้เหตุแห่งการปฏิเสธ โดยชัดแจ้งว่าหนังสือรับรองออกมาก่อนฟ้อง 7 เดือน เหตุใดจึงทำให้โจทก์ไม่เป็นนิติบุคคลและ อ. ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยในประเด็นนี้มาก็ตาม ก็เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากข้อต่อสู้ของจำเลย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องนั้นชอบแล้ว
เดิมจำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี มีสิทธิเพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่กลับฎีกาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพราะเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แม้ปัญหานี้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่จำเลยก็มิได้อ้างเหตุผลว่าดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ขัดต่อกฎหมายดังกล่าวอย่างไร ทั้งโจทก์เป็นสถาบันการเงิน การกำหนดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติดอกเบี้ยให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ ไม่ใช่ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แต่จำเลยก็มิได้แสดงเหตุผลเช่นกันว่าโจทก์ปฏิบัติผิดต่อกฎหมายดังกล่าวนี้อย่างไร ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุผลชัดเจนว่าคำพิพากษาเดิมคลาดเคลื่อนอย่างไร การอ้างเพียงว่าหากได้ต่อสู้คดีแล้วผลจะเปลี่ยนไปไม่เพียงพอ
จำเลยยื่นคำร้องว่า หากทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องก็ต้องต่อสู้คดีแน่นอน เพราะจำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เงิน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาค้ำประกันตามฟ้องโจทก์ หากจำเลยได้มีโอกาสต่อสู้คดีและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแล้วจะทำให้คำพิพากษาของศาลเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเป็นเพียงข้ออ้างลอย ๆ ไม่ได้ยกเหตุผลขึ้นประกอบโดยละเอียดและชัดแจ้งว่า หากจำเลยได้ต่อสู้คดีและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแล้ว จะทำให้คำพิพากษาของศาลเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทั้งไม่ได้อ้างเหตุว่าคำพิพากษาไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนตรงไหน ส่วนใด นอกจากนั้นก็ไม่ได้แสดงเหตุผลว่า หากมีการอนุญาตให้พิจารณาใหม่ คำพิพากษาจะเปลี่ยนแปลงเป็นผลดีแก่จำเลยอย่างไร จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นตรวจรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยแล้วการสั่งรับคำร้องเป็นเพียงกระบวนการเบื้องต้นที่จะให้คำร้องนั้นเข้าสู่กระบวนพิจารณาของศาล มิได้ตัดอำนาจของศาลในการพิจารณาคำร้องนั้นต่อไปว่าชอบหรือไม่ ในชั้นตรวจรับคำร้อง แม้ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งยกคำร้องทันที แต่ได้นัดไต่สวนคำร้องไว้ก็ตาม เมื่อถึงวันนัด หากศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้ เมื่อเห็นว่า คำร้องดังกล่าวมิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บทกฎหมายกำหนดไว้ หาจำต้อง ไต่สวนต่อไปไม่ เพราะเป็นการเปล่าประโยชน์
of 19