คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่อสู้คัดค้าน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยฎีกาเรื่องดอกเบี้ยเกินกว่ากฎหมายกำหนด แต่ไม่เคยต่อสู้คัดค้านในชั้นศาล ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี อันเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดแต่อย่างใด แม้จำเลยจะนำสืบในชั้นพิจารณาทำนองเดียวกับที่จำเลยฎีกามา ต่อสู้ว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี อันเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด ก็เป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็นคำให้การซึ่งจำเลยไม่มีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ แม้ปัญหานี้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลสามารถหยิบขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบแล้วศาลจึงหยิบยกมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1) และถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานฝ่ายเดียวโดยจำเลยไม่ได้ต่อสู้คัดค้าน และการกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
พยานเอกสารที่โจทก์ส่งต่อศาลชั้นต้นในวันนัดพร้อมเป็นหนังสือของบุคคลอื่น มิใช่ของจำเลย และจำเลยมิได้รับรองความถูกต้อง ของหนังสือดังกล่าว ศาลจะนำมารับฟังเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสองหาได้ไม่เพราะเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ฝ่ายเดียว โดยจำเลยยังไม่ได้มีโอกาสนำสืบหักล้างความถูกต้อง โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายวันละ 1,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ค่าเสียหายสูงเกินจริงและเคลือบคลุมจึงฟังเป็นที่ยุติไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นรีบด่วนกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองใช้แก่โจทก์วันละ 600 บาท จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องฟังข้อนำสืบของคู่ความต่อไปจนสิ้นกระแสความตามคำฟ้องและคำให้การแล้ววินิจฉัยชี้ขาดคดี ว่าโจทก์เสียหายหรือไม่ หากเสียหาย ค่าเสียหายควรจะมีจำนวนเท่าใดโดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด