พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่า: การยินยอม/ให้อภัย, เหตุหย่าต่อเนื่อง, และอายุความฟ้อง
ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง และมาตรา 104 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสืบพยานหลักฐานที่คู่ความประสงค์จะสืบหรือไม่เพียงใด เมื่อศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การและคำแถลงของโจทก์และจำเลยแล้ว เห็นว่า มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้วว่ามีเหตุฟ้องหย่าประการใดประการหนึ่งตามฟ้องหรือไม่ และโจทก์ได้ยินยอมหรือให้อภัยเรื่องที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยาแล้วหรือไม่ แม้ข้อเท็จจริงที่ฟังได้จะเป็นเพียงเหตุหย่าเหตุหนึ่งในจำนวนเหตุหย่าหลายเหตุตามฟ้องก็ตาม ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานหลักฐานโจทก์ และจำเลยซึ่งถือเสมือนว่าพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยจะนำมาสืบนั้นเป็นพยานหลักฐานที่ฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้า ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงชอบแล้ว
การยินยอมและให้อภัยที่จะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1517 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1518 หมายถึง คู่สมรสฝ่ายที่ยินยอมและให้อภัยได้ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้น แต่แสดงให้ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าอนุญาตให้กระทำหรือจะไม่ใช้สิทธิฟ้องหย่า ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสาเหตุที่โจทก์ไม่ฟ้องหย่าจำเลยแต่แรกที่ทราบเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับ ส. เนื่องจากโจทก์ไม่ทราบแน่ชัด และไม่คาดคิดว่าจำเลยจะจริงจังกับ ส. เพราะขณะนั้นจำเลยยังมีหญิงอื่นอีกหลายคน จนกระทั่งเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยกับ ส. มีบุตรด้วยกันจึงนำคดีมาฟ้อง พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าโจทก์เคยยินยอมหรือให้อภัยในเรื่องที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยา โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าด้วยเหตุหย่าดังกล่าวได้
การอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นเป็นเหตุฟ้องหย่าที่มีพฤติการณ์ต่อเนื่อง ดังนั้นตราบที่จำเลยยังอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยา เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (1) ก็ยังคงมีอยู่ แม้โจทก์จะทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปีแล้ว โจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามมาตรา 1529
การยินยอมและให้อภัยที่จะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1517 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1518 หมายถึง คู่สมรสฝ่ายที่ยินยอมและให้อภัยได้ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้น แต่แสดงให้ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าอนุญาตให้กระทำหรือจะไม่ใช้สิทธิฟ้องหย่า ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสาเหตุที่โจทก์ไม่ฟ้องหย่าจำเลยแต่แรกที่ทราบเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับ ส. เนื่องจากโจทก์ไม่ทราบแน่ชัด และไม่คาดคิดว่าจำเลยจะจริงจังกับ ส. เพราะขณะนั้นจำเลยยังมีหญิงอื่นอีกหลายคน จนกระทั่งเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยกับ ส. มีบุตรด้วยกันจึงนำคดีมาฟ้อง พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าโจทก์เคยยินยอมหรือให้อภัยในเรื่องที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยา โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าด้วยเหตุหย่าดังกล่าวได้
การอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นเป็นเหตุฟ้องหย่าที่มีพฤติการณ์ต่อเนื่อง ดังนั้นตราบที่จำเลยยังอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยา เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (1) ก็ยังคงมีอยู่ แม้โจทก์จะทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปีแล้ว โจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามมาตรา 1529
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต่อเนื่อง 90 วัน หลักฐานการเป็นสมาชิกต้องน่าเชื่อถือ
ทะเบียนสมาชิกหมายเลข 141781 ซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเป็นหมายเลขสมาชิกของผู้ร้องโดยใช้ชื่อเดิมคือ ส. มีร่องรอยการใช้สีขาวป้ายทับชื่อเดิมแล้วเขียนชื่อผู้ร้องแทน ทำให้ไม่สามารถมองเห็นชื่อเดิมได้ จึงไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อเดิมที่ถูกลบไปนั้นเป็นชื่อ ส. จริงหรือไม่ และไม่มีลายมือชื่อผู้ทำการแก้ไข วัน เดือน ปี ที่ทำการแก้ไขกำกับไว้ จึงไม่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแก้ไขดังกล่าวได้ อันเป็นข้อพิรุธทำให้สมุดทะเบียนสมาชิกพรรคที่ผู้ร้องอ้างไม่น่าเชื่อถือ แม้บันทึกการตรวจสอบทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองจะแสดงว่าเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เข้าไปทำการตรวจสอบทะเบียนสมาชิกของพรรค ป. และผลการตรวจสอบสมาชิกพรรคแบบแบ่งเขตเลือกตั้งปรากฏว่ามีเพียง 5 รายซึ่งไม่ใช่ผู้ร้องที่ไม่มีเอกสารใบสมัครสมาชิก ทะเบียนสมาชิกหรือบัตรสมาชิก แต่เอกสารดังกล่าวเป็นการตรวจสอบภายหลังจากที่มีการประกาศรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จึงไม่อาจรับฟังว่าพรรค ป. ได้รับผู้ร้องเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2533 เมื่อพยานหลักฐานของผู้ร้องไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรค ป. นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ผู้คัดค้านชอบที่จะไม่รับสมัครและไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1855/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. – การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต่อเนื่อง 90 วัน – พยานหลักฐานไม่สอดคล้อง
ผู้ร้องแถลงว่าได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2548 หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าอนุมัติให้เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าหมายเลขสมาชิก 011400 และขึ้นทะเบียนสมาชิกพรรคไว้แล้วเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 นั้น หากเป็นความจริงดังที่ผู้ร้องอ้าง หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าก็น่าจะระบุชื่อผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าคนหนึ่งในจำนวนสมาชิกพรรคการเมืองที่เพิ่มขึ้นในรอบปี 2548 ที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 เนื่องจากได้ขึ้นทะเบียนผู้ร้องเป็นสมาชิกไว้แล้ว และทะเบียนสมาชิกพรรคดังกล่าวเป็นหน้าที่ของหัวหน้าพรรคการเมืองที่จะต้องจัดทำให้ตรงตามความเป็นจริงและเก็บรักษาไว้ ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคการเมือง และพร้อมที่จะให้นายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตรวจสอบได้ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 34 วรรคหนึ่ง ส่วนที่อ้างว่าหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าไม่ได้ระบุชื่อผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าที่เพิ่มขึ้นในรอบปี 2548 เนื่องจากใบสมัครสมาชิกพรรคบางส่วนซึ่งมีใบสมัครสมาชิกพรรคของผู้ร้องอยู่ด้วยหาไม่พบระยะหนึ่งเนื่องจากมีการย้ายที่ทำการพรรคนั้น เป็นคำแถลงที่ไม่ประกอบด้วยเหตุผล เพราะหากมีการขึ้นทะเบียนผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 ตามที่อ้างจริง แม้จะหาใบสมัครสมาชิกพรรคไม่พบก็น่าจะแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นในรอบปี 2548 โดยอาศัยทะเบียนสมาชิกพรรคได้ ข้ออ้างและพยานหลักฐานของผู้ร้องจึงมีพิรุธไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้านับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องไม่มีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 107 (4)
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าต่อเนื่อง, กรรมเดียว, ไตร่ตรองไว้ก่อน: การแทงผู้เสียหายและผู้ตายในคราวเดียวกัน
จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ เมื่อรถจักรยานยนต์ล้มผู้เสียหายลุกขึ้นวิ่งหนีไป จำเลยจึงใช้มีดแทงผู้ตายซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ในทันทีทันใดในเวลาต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์ที่จะต้องการฆ่าผู้ตาย แต่เหตุที่จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายที่มากับผู้ตายก่อนเนื่องจากเสียหายเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์โดยมีผู้ตายนั่งซ้อนท้าย จำเลยประสงค์จะให้รถจักรยานยนต์หยุดเพื่อจะได้มีโอกาสแทงทำร้ายผู้ตายได้ต่อไป โดยที่ผู้ตายไม่สามารถซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์หลบหนี จึงเห็นเจตนาได้ว่าจำเลยประสงค์จะแทงทำร้ายทั้งผู้เสียหายและผู้ตายในคราวเดียวกัน แม้จะเป็นการกระทำสองหนและต่อบุคคลสองคนก็อยู่ในเจตนาอันเดียวกันนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชิงทรัพย์ต่อเนื่อง: การกระชากทรัพย์สินและการใช้กำลังหลบหนีถือเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 วรรคสอง
พวกจำเลยคนหนึ่งขับรถจักรยานยนต์แซงรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย จำเลยซึ่งนั่งซ้อนท้ายกระชากสร้อยคอทองคำและพระเลี่ยมทองของผู้เสียหาย แม้จำเลยไม่ได้ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือได้ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย แต่หลังจากกระชากสร้อยคอแล้วจำเลยกับพวกขับจักรยานยนต์หลบหนี ผู้เสียหายกับพวกติดตามไปทันทีจนพบและจะเข้าจับจำเลย จำเลยใช้ขวดตีผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังต่อเนื่องและเกี่ยวพันกันโดยตลอดและยังไม่ขาดตอนจากการวิ่งราวทรัพย์ ถือว่าจำเลยมีเจตนาใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อให้พ้นจากการจับกุม จึงเป็นความผิดฐานร่วมกับพวกสองคนชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธ และโดยใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิด พาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นจากการจับกุม ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบมาตรา 83,340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาทรัสต์รีซีทไม่ระงับหนี้เดิมจาก L/C: มูลหนี้ต่อเนื่องจากเดิม
การที่โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้จำเลยที่ 1 ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายไปแล้ว เมื่อสินค้าดังกล่าวขนส่งมาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ยังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าที่โจทก์ชำระแทนไปก่อนได้ จึงทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์ ซึ่งสินค้าตามสัญญาทรัสต์รีซีทดังกล่าวก็คือสินค้าตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตนั่นเอง สัญญาทรัสต์รีซีทจึงเป็นเรื่องที่คู่สัญญาตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตทำความตกลงกันในรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นแล้วตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หาใช่เป็นเรื่องที่คู่สัญญามีเจตนาจะก่อหนี้ขึ้นใหม่หรือเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในมูลหนี้เดิมแต่อย่างใด คงเป็นมูลหนี้ในประเภทและจำนวนเดียวกัน ดังนั้น มูลหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์: การใช้ทางต่อเนื่องยาวนานโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาที่จะได้สิทธิ
โจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณประโยชน์โดยใช้ทางตั้งแต่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. และ ก. จนกระทั่งต่อมาที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 เป็นการใช้ทางพิพาทสืบเนื่องต่อกันมาด้วยความสงบโดยเปิดเผย โดยเจตนาใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเกินกว่า 10 ปี เมื่อคดีไม่ได้ความว่าเคยมีการขออนุญาตหรือมีการให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยทั้งหกเพื่อใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออก ทั้งพฤติการณ์ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทโดยการถือวิสาสะ แสดงว่ามีการใช้ทางพิพาทอย่างประสงค์จะให้ได้สิทธิทางภาระจำยอมโดยมิได้อาศัยสิทธิของผู้ใด จึงนับได้ว่ามีลักษณะเป็นการใช้สิทธิที่เป็นปรปักษ์ต่อจำเลยทั้งหกผู้เป็นเจ้าของทางพิพาท โจทก์ที่ 1 ย่อมได้สิทธิในทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382
การรื้อถอนลวดหนามออกจากทางพิพาทนั้น หากจำเลยทั้งหกไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์ที่ 1 อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้ว โจทก์ที่ 1 จะเป็นผู้รื้อถอนเองโดยให้จำเลยทั้งหกเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่
การรื้อถอนลวดหนามออกจากทางพิพาทนั้น หากจำเลยทั้งหกไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์ที่ 1 อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้ว โจทก์ที่ 1 จะเป็นผู้รื้อถอนเองโดยให้จำเลยทั้งหกเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง: การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต้องต่อเนื่อง 90 วัน
ผู้ร้องยืนยันข้อเท็จจริงและคุณสมบัติของผู้คัดค้านตามคำร้องแล้วว่า ผู้คัดค้านพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2547 ผู้คัดค้านจึงมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้คัดค้านน่าจะขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (4) คำร้องของผู้ร้องมิได้เพียงขอให้ศาลฎีกาช่วยตรวจสอบคุณสมบัติของผู้คัดค้านเท่านั้น แต่ขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการรับสมัครเลือกตั้งของผู้คัดค้านด้วย คำร้องของผู้ร้องจึงมีสภาพเป็นคำร้องตามกฎหมาย ชอบด้วย พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 34/1 แล้ว
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน เมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า ผู้คัดค้านเพิ่งส่งหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยไปถึงพรรคไทยรักไทยในวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ผู้คัดค้านสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2547 เมื่อนับแต่วันที่ผู้คัดค้านลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยในวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ถึงวันที่ผู้คัดค้านสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 10 มกราคม 2548 ผู้คัดค้านจึงเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยเพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันถึงวันสมัครรับเลือกตั้งน้อยกว่า 90 วัน ผู้คัดค้านจึงขาดคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (4)
(คำสั่งศาลฎีกา)
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน เมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า ผู้คัดค้านเพิ่งส่งหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยไปถึงพรรคไทยรักไทยในวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ผู้คัดค้านสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2547 เมื่อนับแต่วันที่ผู้คัดค้านลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยในวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ถึงวันที่ผู้คัดค้านสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 10 มกราคม 2548 ผู้คัดค้านจึงเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยเพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันถึงวันสมัครรับเลือกตั้งน้อยกว่า 90 วัน ผู้คัดค้านจึงขาดคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (4)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การพาเด็กเพื่ออนาจารและข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่องกัน
การที่จำเลยจับข้อมือพาผู้เสียหายที่ไปหาเพื่อนใกล้กับบ้านจำเลย โดยจำเลยบอกผู้เสียหายว่าจะพาไปส่งบ้านผู้เสียหายซึ่งอยู่ห่างบ้านจำเลย 50 ถึง 80 เมตร ขณะเกิดเหตุเป็นเวลา 19 นาฬิกา เริ่มจะค่ำมืดแล้ว และผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุเพียง 10 ปีเศษ จำเลยเห็นโอกาสที่ไม่มีผู้ใดพบเห็นขณะที่จำเลยพบผู้เสียหายและสามารถจะพาผู้เสียหายไปตามลำพังได้ จึงเกิดเถยจิตมีเจตนาที่จะกระทำชำเราผู้เสียหามาแต่แรกเป็นสำคัญจึงพาไปยังบ้านร้าง และได้กระทำชำเราผู้เสียหายในบ้านร้างดังกล่าว การพาไปและการกระทำชำเราได้กระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงแต่วาระเดียวกันไม่ขาดตอน การกระทำของจำเลยซึ่งเป็นความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารและกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4083/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: การกระทำชำเราอนาจารต่อเนื่อง ความผิดฐานชำเราครอบคลุมอนาจาร
การที่จำเลยไล่กอดปล้ำกระทำอนาจารและกระทำชำเราผู้เสียหาย แต่ยังไม่สำเร็จความใคร่ แล้วจำเลยบังคับให้ผู้เสียหายใช้ปากกับอวัยวะเพศของจำเลยจนจำเลยสำเร็จความใคร่ การกระทำของจำเลยทุกขั้นตอนดังกล่าวเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องในคราวเดียวกันโดยความมุ่งหมายที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายนั่นเอง การกระทำอนาจารจึงเป็นการกระทำที่รวมอยู่ในการกระทำชำเรา ไม่อาจแยกออกเป็นการกระทำต่างกรรมต่างเจตนา การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานกระทำชำเราซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90