พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกฟ้องคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต่างกรรมต่างวาระ และการใช้ดุลพินิจในการลดโทษ
การกระทำความผิดอาญาในคดีก่อนเป็นคนละตอนกับการกระทำความผิดคดีนี้ เมทแอมเฟตามีนก็เป็นคนละจำนวนกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ โจทก์จึงมีอำนาจแยกฟ้องเป็นคนละคดีได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6775-6776/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องต่างกรรมต่างวาระในคดีแรงงาน ต้องไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องอ้างว่าถูกจำเลยเลิกจ้างโดยกล่าวหาว่าโจทก์ทั้งสองยักยอกทรัพย์ซึ่งไม่เป็นความจริง สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่ามีสิทธิเหนือจำเลยคือโจทก์ทั้งสองถูกจำเลยเลิกจ้าง โดยข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือเหตุที่เลิกจ้างนั้นไม่มีอยู่จริง ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดและคืนเงินประกัน ซึ่งค่าเสียหายจากการละเมิดนั้นเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโจทก์ทั้งสองขอเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดอันเกิดจากการที่จำเลยจงใจกลั่นแกล้งร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกแก่โจทก์ทั้งสองโดยไม่เป็นความจริง ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่ามีสิทธิเหนือจำเลยคือจำเลยร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริงว่าโจทก์ทั้งสองยักยอกทรัพย์ ด้วยข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจากการร้องทุกข์นั้นทำให้โจทก์ทั้งสองถูกจับกุมและถูกฟ้องเป็นคดีอาญาได้รับความเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ไม่สามารถประกอบอาชีพในระหว่างถูกจับกุม แม้ว่าตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจะเป็นเรียกค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดเช่นกัน แต่เป็นการกระทำละเมิดเนื่องจากการร้องทุกข์และฟ้องคดีอาญา ไม่เกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าเสียหายตามฟ้องเดิม คำฟ้องภายหลังตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องจึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 179 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7028/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดอาญาต่างกรรมต่างวาระ และการเพิ่มโทษทางอาญา
คดีก่อน โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุลักทรัพย์เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน จำเลยถูกจับวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 และเหตุรับของโจรเกิดวันที่ 29 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน หลังจากที่คนร้ายลักทรัพย์ของผู้เสียหายไปแล้ว ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ส่วนคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุลักทรัพย์เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2544 จำเลยถูกจับวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 เวลากลางวัน และเหตุรับของโจรเกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2544 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด แม้จำเลยถูกจับทั้งสองคดีในวันเดียวกัน แต่วันถูกจับมิใช่วันกระทำความผิด เมื่อวันเวลากระทำความผิดในคดีก่อนและคดีนี้ทั้งในฐานลักทรัพย์และรับของโจรต่างกัน ทั้งทรัพย์ที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์ของผู้เสียหายคนละคนต่างรายกัน แม้คดีก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด แต่เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยในคดีก่อนและคดีนี้เป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานบุกรุกที่สาธารณประโยชน์: การกระทำต่างกรรมต่างวาระไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์เคยฟ้องจำเลยข้อหาบุกรุก ยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์เนื้อที่ 9 ไร่เศษ โดยปลูกบ้านอยู่อาศัยและปลูกต้นไม้ยืนต้น ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ใช้บังคับ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์หลังจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้วเป็นการครอบครองสืบเนื่องมาก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ใช้บังคับ โดยจำเลยมิได้มีสิทธิครอบครองและมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9, 108 แต่ยกคำขอให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีนี้ว่า จำเลยเข้าไปยึดถือ ครอบครองก่นสร้างที่ดินสาธารณประโยชน์ โดยใช้รถไถเข้าไปไถปรับที่ดินเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ภายหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ใช้บังคับแล้ว อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1), 108 ทวิ วรรคสอง การกระทำในคดีนี้จึงต่างกรรมต่างวาระแยกต่างหากจากการกระทำในคดีก่อน และความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 กับมาตรา 108 ทวิ มีองค์ประกอบแตกต่างกัน การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้กับคดีก่อนจึงไม่ใช่ความผิดกรรมเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ต่างกรรมต่างวาระ ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ แม้จะเคยถูกฟ้องในคดีก่อน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2512 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม2512 จำเลยบุกรุกเข้ายึดถือครอบครองที่ดินหนองกก ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา ปลูกบ้านอยู่อาศัยและปลูกต้นไม้คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2541 จำเลยได้เข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างที่ดินเลี้ยงสัตว์หนองกกสาธารณประโยชน์ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน รวมเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ โดยใช้รถไถเข้าไปไถปรับที่ดินเพื่อทำประโยชน์ แม้คดีก่อนศาลฎีกาจะพิพากษายกคำขอให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทแต่ก็ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ซึ่งจำเลยเข้ายึดถือครอบครองหลังจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้ว เป็นการครอบครองสืบเนื่องมาก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2514 ใช้บังคับ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ส่วนคดีนี้จำเลยใช้รถไถเข้าไปไถปรับที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2541 โดยไม่มีสิทธิครอบครองและมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9(1),108 ทวิ วรรคสองซึ่งเป็นการกระทำหลังจากวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์2514 มีผลใช้บังคับ การกระทำจึงต่างกรรมต่างวาระแยกต่างหากจากการกระทำในคดีก่อน และความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 กับมาตรา 108 ทวิมีองค์ประกอบแตกต่างกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีอาญาต่างกรรมต่างวาระ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม ไม่เข้าข่ายประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
คดีนี้ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ส่วนคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อได้มี คำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานมีและพาอาวุธปืน ต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำ การตามหน้าที่ ทั้งสองคดีเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระและมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหาก โดยไม่มี ความเกี่ยวพันกัน ผู้เสียหายและพยานหลักฐานเป็นคนละชุด ลักษณะคดีและความผิดคนละประเภท ทั้งสองคดีไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือพิจารณาพิพากษารวมกันไปได้ กรณีดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ดังนั้น ศาลย่อมนับโทษคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1372/2546 ของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีอาญาต่างกรรมต่างวาระ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสามารถนับโทษต่อกันได้หากไม่มีความเกี่ยวพันกัน
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นส่วนคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานมีและพาอาวุธปืน ต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ทั้งสองคดีเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระและมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหาก โดยไม่มีความเกี่ยวพันกัน ผู้เสียหายและพยานหลักฐานเป็นคนละชุด ลักษณะคดีและความผิดคนละประเภทไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือพิจารณาพิพากษารวมกันไปได้ จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(3) ศาลย่อมนับโทษต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9045/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายต่างกรรมต่างวาระ: ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง แม้เกิดเหตุต่อเนื่องจากวิวาทก่อนหน้า
คดีนี้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นหญิงสมัครใจเข้าวิวาทกับ ภ. ต่างคนต่างทำร้ายซึ่งกันและกันแต่พละกำลังโจทก์สู้ ภ. ไม่ได้ จึงล้มลงกับพื้นในลักษณะนอนหงาย จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของ ภ. ตรงเข้าทำร้ายโจทก์โดยไม่ได้มีเหตุโกรธเคืองหรือทะเลาะวิวาทกับโจทก์มาก่อน แม้ว่าโจทก์และ ภ. จะถูกฟ้องดำเนินคดีทั้งสองคนและคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว แต่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกาย โดยเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกันกับ ภ. แม้จะเป็นเวลาใกล้เคียงต่อเนื่องกันก็ตาม พฤติการณ์แห่งคดีชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ฉวยโอกาสทำร้ายโจทก์ทั้งที่โจทก์ไม่มีทางสู้ โจทก์ไม่ได้สมัครใจเข้าทะเลาะวิวาทและกระทำผิดต่อจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ทำร้ายร่างกายโจทก์ฝ่ายเดียว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายทั้งตามความเป็นจริงและตามกฎหมายมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(4) , 28 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนฯ แม้ฟ้องต่างกรรมต่างวาระและองค์ประกอบความผิดต่างกัน ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ที่ดินที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดคดีนี้เนื้อที่ 20 ไร่เศษเป็นที่ดินแปลงเดียวกับคดีก่อนซึ่งมีเนื้อที่ 100 ไร่ คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และเป็นที่ดินของรัฐ ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปก่นสร้าง แผ้วถางตัดฟัน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ขนาดเล็กและใหญ่แล้วยึดถือครอบครองที่ดินแปลงเดียวกันเนื้อที่ 20 ไร่เศษ เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น เมื่อคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดตาม ป. ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 4, 5, 6, 14 และ 31 อันเป็นการฟ้องในการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกับคดีก่อน ทั้งองค์ประกอบแห่งความผิดก็แตกต่างกัน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6133/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์และการแยกพิจารณาคดีต่างกรรมต่างวาระ รวมถึงการพิพากษาความผิดตามองค์ประกอบของกฎหมาย
คดีอาญาอีกเรื่องอื่นกับคดีนี้จำเลยเป็นคนเดียวกัน แต่เป็นการลักทรัพย์ผู้เสียหายคนละคนกัน โดยลักทรัพย์ของผู้เสียหายคนหนึ่งเสร็จแล้วจึงไปลักทรัพย์ของผู้เสียหายอีกคนหนึ่ง ทั้งทรัพย์ก็มิได้รวมอยู่ด้วยกัน โดยห่างกันเป็นร้อยเมตร อันเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงมิใช่เป็นเหตุในลักษณะแห่งคดีเดียวกัน ซึ่งศาลจะต้องรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกัน
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(12) นอกจากเจ้าทรัพย์จะต้องเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรมแล้ว จะต้องได้ความอีกว่า ทรัพย์ที่ถูกลักนั้น เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์หรือสัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการประกอบกสิกรรมด้วย แต่ตามฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าข้าวเปลือกที่จำเลยลักไปเป็นผลิตภัณฑ์หรือพืชพันธุ์ซึ่งผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมหรือไม่ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 335(12)ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(12) นอกจากเจ้าทรัพย์จะต้องเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรมแล้ว จะต้องได้ความอีกว่า ทรัพย์ที่ถูกลักนั้น เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์หรือสัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการประกอบกสิกรรมด้วย แต่ตามฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าข้าวเปลือกที่จำเลยลักไปเป็นผลิตภัณฑ์หรือพืชพันธุ์ซึ่งผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมหรือไม่ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 335(12)ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้