คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่างชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการในสัญญาจ้างแรงงานต่างชาติมีผลผูกพัน โจทก์ต้องดำเนินการอนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องศาล
โจทก์เป็นคนสัญชาติอังกฤษ จำเลยเป็นนิติบุคคลสัญชาติอเมริกันจดทะเบียนและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สัญญาจ้างแรงงานที่โจทก์ทำกับจำเลย โจทก์ลงลายมือชื่อในประเทศไทย แล้วส่งสัญญาให้จำเลยลงลายมือชื่อในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงถือว่าสัญญาจ้างแรงงานฉบับนี้ได้ทำขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ต้องบังคับตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 เมื่อสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวมีข้อตกลงว่า ให้สัญญาฉบับนี้อยู่ภายใต้บังคับและการตีความตามกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงต้องบังคับตามกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ตามเจตนาของคู่สัญญา และสัญญาจ้างแรงงานข้อ 20 กำหนดให้ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งที่คู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ และข้อโต้เถียง สิทธิเรียกร้อง หรือข้อพิพาทอันเกิดแต่หรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้ให้ระงับโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎของสมาคมการอนุญาโตตุลาการของประเทศสหรัฐอเมริกา และให้ถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนของการดำเนินการฟ้องร้องคดี กระบวนการอนุญาโตตุลาการให้ดำเนินในเมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือในสถานที่อื่นอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวใช้บังคับได้ เพราะเป็นวิธีระงับข้อพิพาทอย่างหนึ่งและข้อตกลงนี้ไม่ขัดต่อกฎหมายไทย และกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยเสียก่อน เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด โจทก์จึงยังไม่อาจเสนอคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางได้ ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกต่างชาติ: การขัดกันแห่งกฎหมายและข้อจำกัดตามคำสั่งศาล
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มิได้บัญญัติเรื่องอำนาจของผู้จัดการมรดกว่าจะต้องใช้ กฎหมายใดบังคับ กรณีจึงต้องใช้กฎเกณฑ์ทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลฯ ตามมาตรา 3 ซึ่งอาจเป็นกฎหมายสัญชาติหรือกฎหมายภูมิลำเนา โจทก์มีสัญชาติอังกฤษและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอังกฤษ ไม่ว่าจะใช้หลักกฎหมายสัญชาติหรือกฎหมายภูมิลำเนา กฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีย่อมได้แก่กฎหมายแห่งประเทศอังกฤษ แต่โจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นเป็นที่ชัดแจ้งว่ากฎหมายอังกฤษบัญญัติเรื่องอำนาจของผู้จัดการมรดกไว้อย่างไร คงมีเพียงผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่าผู้จัดการที่เหลือเพียงคนเดียวสามารถจัดการมรดกของผู้ตายต่อไปได้ ซึ่งเลื่อนลอยไม่อาจรับฟังได้ กรณีจึงต้องใช้กฎหมายภายในประเทศไทยบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นคนสัญชาติอังกฤษตามคำสั่งศาลแห่งประเทศอังกฤษร่วมกับ จ. เมื่อ จ. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์เพียงคนเดียวจะฟ้องคดีตามลำพังโดยยังมิได้ขอให้ศาลมี คำสั่งอนุญาตให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 1715 มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4152/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสต่างชาติ: การรอหลักฐานความเป็นโสดไม่ถือเป็นการปฏิเสธสิทธิ
โจทก์ไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสโดยระบุด้วยว่าเอาหนังสือรับรองความเป็นโสดจากสถานทูตมาแสดงไม่ได้ ขอให้จำเลยทำหนังสือถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวโจทก์ไปที่สถานทูตเพื่อใช้ประกอบการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย การที่จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนออกหนังสือสอบถามให้และรอหนังสือรับรองจากสถานทูตประเทศที่โจทก์มีสัญชาติ เพื่อประกอบการพิจารณาว่าโจทก์เป็นโสดไม่ต้องห้ามสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 นั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสให้แก่โจทก์ กรณีจึงยังไม่มีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยของบุตรที่เกิดในไทยจากมารดาที่มีสัญชาติไทยและบิดาเป็นชาวต่างชาติ กรณีมิได้จดทะเบียนสมรส
นางป.มารดาโจทก์ทั้งสามเกิดที่จังหวัดอุบลราชธานีจึงได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456 มาตรา 3 และนางป.เป็นบุตรคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง นางป.จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 เมื่อนางป.คนสัญชาติไทยอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ก. คนญวนอพยพโดยไม่จดทะเบียนสมรสโจทก์ทั้งสามจึงมีบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสามเกิดที่อำเภอเมืองอุบลราชธานีย่อมได้สัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) บุตรที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทยโดยเหตุที่บิดาเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 นั้น จะต้องปรากฏว่าคนต่างด้าวนั้นเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อนาง ป. มารดาของโจทก์ทั้งสามไม่ใช่คนต่างด้าวและนาย ก. ก็มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งสาม กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337อันจะเป็นผลให้โจทก์ทั้งสามถูกถอนสัญชาติไทย โจทก์ทั้งสามจึงยังคงมีสัญชาติไทย เมื่อ พ.ศ. 2522 มารดาโจทก์ทั้งสามได้ขอให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนชื่อโจทก์ทั้งสามออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แต่เจ้าหน้าที่ไม่จัดการให้โดยโต้แย้งว่าโจทก์ทั้งสามเป็นคนต่างด้าวเช่นนี้ แม้จำเลยเข้ารับตำแหน่งหัวหน้ากิจการคนญวนอพยพเมื่อเดือนพฤศจิกายน2525 ตลอดมาถึงวันฟ้องก็ตาม ตราบใดที่โจทก์ทั้งสามมีสัญชาติไทยแต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพได้ให้จำเลยถอนชื่อออกแต่จำเลยไม่จัดการให้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ทั้งสามถูกโต้แย้งสิทธิตลอดมา จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะหัวหน้าสำนักงานกิจการคนญวนอพยพจังหวัดอุบลราชธานี ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ให้ดุลพินิจศาลอุทธรณ์ที่จะพิพากษายกคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปเพื่อให้พิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่สุดแต่ว่าจะมีเหตอันสมควรหรือไม่ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางการค้าต่างชาติ: อำนาจฟ้องคดีในไทย & การพิสูจน์สิทธิทางการค้า
โจทก์อยู่ต่างประเทศ อ้างสิทธิคำว่า HILTON เป็นนามทางการค้าของโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยใช้นามเดียวกันโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 กรณีเช่นนี้หาได้มีกฎหมายจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลในประเทศไทยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยให้การว่าไม่รับรองและขอปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ เกี่ยวกับการใช้นามทางการค้าตามฟ้อง และต่อสู้ด้วยว่า นามที่จำเลยใช้ไม่ใช่นามเดียวกับโจทก์ จำเลยไม่รับรองและปฏิเสธการเป็นนิติบุคคลและวัตถุประสงค์ของโจทก์ รวมทั้งเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีด้วย จึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องได้ โจทก์จึงยังมีหน้าที่นำสืบอยู่ ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีโดยไม่มีการสืบพยานหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2637-2639/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีของตัวแทนจำหน่ายและสาขาของบริษัทต่างชาติ: ภาษีเงินได้และภาษีการค้า
โจทก์ยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขออนุมัติขยายกำหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์ตามนัยมาตรา 3อัฏฐแห่งประมวลรัษฎากร เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรไม่ยินยอมโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งมีอำนาจปกครองอยู่ในขณะนั้น และในที่สุดอธิบดีกรมสรรพากรได้มีหนังสือถึงโจทก์อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ ดังนี้ เป็นการขยายกำหนดเวลาออกไปตามอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรที่มีอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรขยายเวลาออกไปย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โดยชอบแล้ว และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
บริษัท อ. และ พ. ทำสัญญาซื้อขายอุปกรณ์โทรศัพท์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยบริษัท อ. แต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อเจรจาตกลงกับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2% ของราคาเอฟโอบี ที่ได้รับคำสั่งซื้อ และในการติดต่อขายอุปกรณ์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ยื่นเสนอราคาหรือลดราคา และได้ขอยืดเวลาการเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ ตกลงซื้อแล้วก็ได้แจ้งให้โจทก์ติดต่อบริษัท อ. ให้เข้ามาทำสัญญา การชำระราคาองค์การโทรศัพท์ฯเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไปยังบริษัท อ. แล้วทำหนังสือแจ้งให้ทราบโดยผ่านโจทก์ โจทก์ได้รับค่านายหน้าเป็นคราว ๆ ที่สินค้าตามสัญญาทยอยเข้ามา และสำหรับกรณีของบริษัท พ. นั้น โจทก์ก็เป็นผู้เสนอขายอุปกรณ์โทรศัพท์ของบริษัท พ. โดยโจทก์อ้างว่าได้รับมอบให้เป็นนายหน้าตัวแทน ในหนังสือขององค์การโทรศัพท์ที่ขออนุมัติสั่งซื้อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็อ้างว่าการเสนอราคาของบริษัท พ. มีโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทยใบสั่งซื้อก็ต้องผ่านโจทก์ สัญญาซื้อขายก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงชื่อเป็นพยาน ประกอบกับโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้จัดการติดต่อให้บริษัท อ. และ พ. เข้าทำสัญญาซื้อขายกับองค์การโทรศัพท์ฯ ในฐานะนายหน้า แสดงว่าโจทก์ได้แสดงออกโดยแจ้งชัดแล้วว่า โจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทยของบริษัท อ. และ พ. แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ เป็นตัวแทนของบริษัททั้งสองดังกล่าวอันเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศในการขายอุปกรณ์โทรศัพท์ให้แก่องค์การโทรศัพท์ฯ โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 มาตรา 33
บทบัญญัติมาตรา 76 ทวิ อยู่ในส่วนที่ 3 ของหมวดที่ 3 ว่าด้วยภาษีเงินได้ แต่เรื่องภาษีการค้ามีบัญญัติอยู่ในหมวดที่ 4 ต่างส่วน ต่างหมวดกัน ดังนั้นการวินิจฉัยถึงความรับผิดในเรื่องภาษีการค้า จึงต้อง อาศัยบทบัญญัติในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้า จะนำบทบัญญัติ ใน มาตรา 76 ทวิ อันเป็นบทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานเด็ดขาดในเรื่อง ภาษีเงินได้มาใช้กับเรื่องภาษีการค้าไม่ได้
โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัท อ. เพื่อจุดประสงค์ในการเจรจากับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์ฯ โดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2 เปอร์เซนต์ของราคาเอฟโอบีที่ได้รับคำสั่งซื้อ ต่อมามีบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ. มีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่าโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทย และยืนยันข้อตกลงที่แต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าโดยให้โจทก์กระทำการเป็นตัวแทนนายหน้าต่อหน่วยราชการหรือองค์การในประเทศไทย และในการเซ็นสัญญาซื้อขายโจทก์เป็นผู้ขอยืดเวลาเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ จ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายให้บริษัท อ. ก็ต้องแจ้งผ่านโจทก์ ดังนี้ บริษัทโจทก์มิได้กระทำการเป็นเพียงนายหน้าของบริษัท อ. เท่านั้นแต่ถือได้ว่าเป็นผู้ทำการแทนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 37 และเป็นสาขาของบริษัท อ. ผู้นำเข้าตามมาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) จากรายรับของบริษัท อ. ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2504 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2507
สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับบริษัท พ. ขายสินค้าให้องค์การโทรศัพท์ฯ ก็ปรากฏว่า โจทก์มีหนังสือเสนอขายสินค้าแทนบริษัท พ. โดยอ้างว่าโจทก์ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนนายหน้า ใบสั่งซื้อสินค้าที่องค์การโทรศัพท์กับบริษัท พ. ก็มีผู้จัดการส่งถึงบริษัท พ. ก็ต้องผ่านโจทก์สัญญาซื้อขายระหว่างองค์การโทรศัพท์ฯ กับบริษัท พ. ก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงนามเป็นพยานด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ได้เข้าเกี่ยวข้องติดต่อทุกขั้นตอนในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท พ. โจทก์จึงเป็นสาขาของบริษัท พ. ผู้นำเข้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18)พ.ศ. 2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของ บริษัท พ. ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2506 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2507 และมกราคม ถึงสิงหาคม 2508

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องทุกข์ของตัวแทนบริษัทต่างชาติในไทย: หนังสือมอบอำนาจครอบคลุมการร้องทุกข์ทางอาญา
บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่เมืองไซ่ง่อน ประเทศสาธารณรัฐเวียตนาม และประธานกรรมการบริษัทโจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้จัดการสาขาบริษัทของโจทก์ซึ่งมีสาขาอยู่ที่ประเทศไทยมีอำนาจดำเนินการปฏิบัติแทนและในนามของบริษัทในเรื่องการสัมพันธ์ติดต่อรัฐบาลไทย เจ้าหน้าที่และบริษัทเอกชน สำนักงานหนังสือพิมพ์ และสาธารณชนทั่วไปได้ดังนั้น เมื่อต่อมาจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างสาขาบริษัทโจทก์ในประเทศไทยทำหน้าที่พนักงานขายตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้วไม่นำเงินค่าตั๋วส่งให้สาขาบริษัทโจทก์ ผู้จัดการสาขาบริษัทโจทก์ในประเทศไทยย่อมมีอำนาจร้องทุกข์หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองวัดพม่าในไทย: คณะสงฆ์ไทยไม่มีอำนาจก้าวก่ายการปกครองวัดของต่างชาติ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์เป็นบทบัญญัติมุ่งใช้เฉพาะสงฆ์ไทยเท่านั้นมิได้บังคับใช้แก่คณะสงฆ์อื่นและไม่ประสงค์จะให้คณะสงฆ์ไทยไปก้าวก่ายในการปกครองคณะสงฆ์อื่นด้วย การปกครองคณะสงฆ์อื่นในประเทศไทยจะดำเนินการอย่างไรต้องออกเป็นกฎกระทรวงต่อไปตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ
เมื่อยังไม่มีกฎกระทรวงออกมาสำหรับใช้แก่การปกครองคณะสงฆ์อื่นในประเทศไทย การปกครองวัดปรกพม่าซึ่งสร้างขึ้นโดยชาวพม่าและทางราชการมอบให้อยู่ภายใต้การปกครองของสถานทูตพม่าประจำประเทศไทยจึงเป็นไปตามพิธีการของคณะสงฆ์พม่าเอง ซึ่งอยู่ในความควบคุมของสถานทูตพม่าประจำประเทศไทย ผู้ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะสงฆ์ไทยให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดปรกพม่าโดยสถานทูตพม่าประจำประเทศไทยและอธิบดีสงฆ์พม่าประจำประเทศไทยไม่ยอมรับ หามีอำนาจฟ้องคดีแทนวัดปรกพม่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินโดยบริษัทที่มีกรรมการเป็นชาวต่างชาติ และผลกระทบของประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 96 และ 97
โจทก์เป็นผู้ออกเงินซื้อที่พิพาทและทำการก่อสร้างโกดังขึ้นบนที่แปลงนี้เพื่อใช้ในกิจการของบริษัทโจทก์ เหตุที่โจทก์ไม่ลงชื่อเป็นผู้ซื้อในโฉนดเป็นเพราะกรรมการคนหนึ่งในบริษัทโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าว ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97 บัญญัติให้โจทก์มีฐานะเสมือนคนต่างด้าวในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน กรรมการบริษัทโจทก์จึงตกลงให้โอนโฉนดจากผู้ขายมาเป็นชื่อ ส. ต้องถือว่า ส. ได้มาซึ่งที่ดินในฐานะเป็นเจ้าของแทนนิติบุคคล ซึ่งกฎหมายให้ถือเสมือนคนต่างด้าว โจทก์จะเรียกร้องเอาที่ดินมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนไม่ได้ ที่พิพาทรายนี้ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 96 แม้ต่อมามีคำสั่งของคณะปฏิวัติฉบับที่ 49 ยกเลิกประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 97 (5) เสียก็ตามคำสั่งของคณะปฏิวัติดังกล่าวก็หามีผลย้อนหลังไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินได้แต่อย่างใด ผลต่อไปต้องบังคับตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 96 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในเรื่องนี้โดยเฉพาะจะต้องให้อธิบดีกรมที่ดินจำหน่ายที่พิพาทเสีย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกจำเลยต่างชาติ การมีภูมิลำเนาต่างประเทศมีผลต่อการดำเนินคดีในไทย
การลงโฆษณาหมายเรียกจำเลยทางหนังสือพิมพ์นั้น ย่อมมีผลเฉพาะจำเลยซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวในระหว่างระยะเวลาที่ได้มีการลงโฆษณา
จำเลยเป็นบุคคลสัญชาติมาเลเซีย มีภูมิลำเนาอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อพนักงานสอบสวนปล่อยตัวจำเลย จำเลยกลับไปประเทศมาเลเซียก่อนศาลชั้นต้นลงโฆษณาหมายเรียกจำเลย และไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้น จำเลยได้กลับมาในประเทศไทยอีก ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยในประเทศโดยชอบแล้ว ศาลจึงดำเนินคดีต่อไปไม่ได้
of 2