คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่างท้องที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5790/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อเนื่อง: อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีลักทรัพย์-รับของโจร แม้เกิดต่างท้องที่
รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายถูกลักไปในท้องที่สถานีตำรวจนครบาล บางขุนเทียน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ดังกล่าวได้จากบ้านของจำเลยซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาคร ดังนี้แม้ความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็นความผิดต่อเนื่องกันพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 19(3) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนคดีนี้ จึงมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดขึ้นกับทรัพย์ของผู้เสียหายได้ไม่ว่าจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร และแม้ว่าจะยึดรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายและจับจำเลยได้พร้อมกันที่บ้านของจำเลยซึ่ง อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง สมุทรสาครก็ตามก็ไม่ทำให้อำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนหมดสิ้นไป จึงถือว่ามีการสอบสวน ในความผิดฐานรับของโจรโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อย้ายที่ทำการ – การย้ายไปต่างท้องที่และข้อยกเว้นตามกฎหมาย
เดิมที่ทำการของโจทก์อยู่ที่กรุงเทพมหานครส่วนจำเลยเป็นข้าราชการสังกัดของโจทก์โดยเริ่มรับราชการครั้งแรกที่กรุงเทพมหานครเช่นกันต่อมาโจทก์ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีโดยจำเลยต้องย้ายติดตามไปปฎิบัติราชการประจำที่ที่ทำการใหม่ของโจทก์ด้วยมีผลเท่ากับจำเลยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำที่ทำการของโจทก์ในต่างท้องที่และเมื่อการที่จำเลยเช่าบ้านอยู่นอกเขตท้องที่ทำการแห่งใหม่ของโจทก์ไม่อยู่ในข้อยกเว้นของมาตรา7วรรคหนึ่งหรือมาตราอื่นใดแห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการฯที่จะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านจำเลยจึงมีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2623/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การย้ายที่ทำการของมหาวิทยาลัยและการตีความ 'ต่างท้องที่'
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527มาตรา7ประกอบเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาแสดงว่าทางราชการประสงค์จะช่วยเหลือข้าราชการที่ต้องเสียค่าเช่าบ้านเมื่อต้องไปทำงานในท้องที่อื่นซึ่งมิใช่ท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์รับราชการครั้งแรกที่กรุงเทพมหานครต่อมาโจทก์ย้ายที่ทำการใหม่ไปอยู่ต่างจังหวัดก็ต้องถือว่าจำเลยได้ไปรับราชการตามที่ทำการในต่างท้องที่จากที่รับราชการณที่เดิมแม้จะไม่มีคำสั่งให้จำเลยเดินทางไปประจำในที่ทำการต่างท้องที่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดหลายกรรมต่างท้องที่: ความผิดเกี่ยวพันและการรวมฟ้อง
จำเลยถูกกล่าวหาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เหตุเกิดท้องที่ สภ.อ.เมืองนราธิวาส ปรากฏว่าจำเลยได้ไปแจ้งความที่ สภ อ.สุไหงโก-ลก ว่าเช็คที่จำเลยถูกดำเนินคดีหายไป ซึ่งเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกง พนักงานสอบสวน สภ อ. เมือง-นราธิวาส ย่อมมีอำนาจสอบสวนจำเลยเกี่ยวกับความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกงได้ เพราะจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (4) และโจทก์ย่อมฟ้องรวมในฟ้องเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 ทั้งความผิดฐานแจ้งความเท็จ มีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างสถานที่ แต่ก็ได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกัน และเป็นความผิดเกี่ยวพันกัน ซึ่งจะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ โดยไม่ต้องขอผัดฟ้องพร้อมกับความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้