คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่างวาระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7035/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในความผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจร การกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ
คดีเดิมโจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุลักทรัพย์เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน จำเลยถูกจับวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 และเหตุรับของโจรเกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2544 เวลากลางวันถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 ส่วนคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุลักทรัพย์เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2544 จำเลยถูกจับวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 เวลากลางวัน และเหตุรับของโจร เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2544 ถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2544 วันเวลากระทำความผิดในคดีก่อนและคดีนี้ทั้งในความผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจรต่างกัน โจทก์จะฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียวกันหรือจะแยกฟ้องเป็นคนละคดีก็ได้ เมื่อโจทก์แยกฟ้องจำเลยในคดีก่อนและคดีนี้คนละคดีเป็นรายกระทงความผิด และจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรในชั้นพิจารณาของแต่ละคดี จึงเป็นการรับสารภาพว่ากระทำความผิดฐานรับของโจรในแต่ละคดี ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระคนละกระทงความผิดกัน แม้ว่าจำเลยจะถูกจับในวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 วันเดียวกัน และเจ้าพนักงานตรวจยึดทรัพย์ของผู้เสียหายได้จากจำเลยในคราวเดียวกัน แต่วันดังกล่าวเป็นวันที่จำเลยถูกจับมิใช่วันกระทำความผิด และทรัพย์ที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์ของผู้เสียหายคนละคนต่างรายกัน ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดวันเดียวกัน แม้คดีก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว เมื่อการกระทำความผิดต่างกรรมกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9742/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานกระทำชำเรา/ข่มขืนกระทำชำเราหลายกรรมต่างวาระกันชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่กับจำเลยและจำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายตั้งแต่ปี 2539 ถึงปี 2542 โดยจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายขณะผู้เสียหายเป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี 2 กรรม ต่อมาจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอีก 38 กรรม หลังจากข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในแต่ละกรรม จำเลยมิได้ควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้ในสถานที่เกิดเหตุเพื่อกระทำชำเราผู้เสียหายในครั้งต่อไปแต่อย่างใด ผู้เสียหายคงอยู่บ้านและไปทำงานได้ตามปกติดังนี้ ผู้เสียหายย่อมพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยในแต่ละกรรมแล้ว แม้จำเลยจะกระทำชำเราผู้เสียหายในแต่ละเดือนจำนวนหลายครั้ง และในแต่ละครั้งจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเดียวกันคือกระทำชำเราก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยในแต่ละครั้งแต่ละกรรมเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายคนละวันต่างวาระกัน และมิได้กระทำต่อเนื่องกันโดยหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายไว้จนผู้เสียหายไม่สามารถไปไหนได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินจากการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระ ศาลไม่มีอำนาจริบ
เงินของกลางที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งริบ เป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเฮโรอีนก่อนการจำหน่ายในคดีนี้ จึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิดในคดีนี้ ตามความแห่ง ป.อ.มาตรา 33 (2) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งริบในคดีนี้ได้
ศาลล่างทั้งสองสั่งริบเงินของกลางไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรวมคดีค่าเสียหายต่างวาระกัน การฟ้องรวมคดีต้องมีข้อหาเกี่ยวข้องกัน
มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้ชนรถยนต์โดยสารของโจทก์เสียหาย มีรายละเอียดแห่งข้อหาแต่ละข้อตามฟ้องเกิดต่างวัน ต่างเวลากัน ทั้งข้อเท็จจริงที่เกิดเหตุแตกต่างกัน การนำสืบพยานหลักฐานต่าง ๆ ย่อมไม่สะดวกต่อการพิจารณาของศาลและการที่รถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยคันหนึ่งละเมิดชนรถยนต์โดยสารของโจทก์เสียหาย ก็มิได้หมายความว่า รถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้อีกคันหนึ่งจะต้องรับผิดต่อรถยนต์โดยสารของโจทก์คันอื่นด้วย เป็นการแสดงชัดแจ้งว่า ข้อหาแต่ละอย่างตามฟ้องมิได้เกี่ยวข้องกัน แม้จะเป็นมูลหนี้เรียกค่าเสียหายมีลักษณะประเภทเดียวกันก็ตามโจทก์จะนำมารวมฟ้องเป็นคดีเดียวกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์บัตรเอทีเอ็มแล้วกดเงิน ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างวาระ
การที่จำเลยได้ลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม. 1 ใบราคา 30 บาท ของธนาคารกสิกรไทย แล้วจำเลยได้นำบัตร เอ.ที.เอ็ม. ที่ลักมานั้นไปเข้าเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ กดเบิกเงินเอาไปจำนวน 5,000 บาทแล้วได้นำบัตร เอ.ที.เอ็ม. ดังกล่าวโยนทิ้งน้ำไปนั้น ทรัพย์ที่จำเลยลักไปจากธนาคารกสิกรไทยเป็นคนละประเภทกัน แม้จำเลยจะมีความประสงค์เพื่อเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ที่ลักมาไปกดเบิกเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกระทงลงโทษจำเลยได้ การกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรมต่างวาระ ฆ่าและทำร้ายร่างกาย ต้องลงโทษทุกกรรม
ขณะที่ ส. กับน้องชายจำเลยกำลังทะเลาะวิวาทและต่างคนต่างใช้เท้าเตะถีบกันอยู่นั้น จำเลยได้ใช้ปืนยิงส. หนึ่งนัด กระสุนปืนถูก ส.ล้มลงจากนั้นจำเลยถือปืนวิ่งไปหาพ. ซึ่งยืนดูอยู่ห่างออกไปประมาณ 1วาเศษ แล้วใช้อาวุธปืนตบตีศีรษะ พ. หนึ่งครั้งและยิงที่บริเวณศีรษะอีกหนึ่งนัด พ. ล้มลง จำเลยวิ่งกลับไปยิง ส.อีก2-3นัดโจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาของพ.และเป็นแม่ยายของส. เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงได้วิ่งหนีไปจากที่เกิดเหตุ จำเลยวิ่งตามและใช้ปืนยิงโจทก์ร่วมหนึ่งนัด แต่กระสุนไม่ถูก เมื่อโจทก์ร่วมล้มลงจำเลยวิ่งไล่ไปทันและได้ใช้อาวุธปืนตีทำร้ายที่ศีรษะโจทก์ร่วมจนเป็นอันตรายแก่กายถึงบาดเจ็บ ส่วน ส.และพ. ได้ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาเพราะบาดแผลที่จำเลยยิง การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน กรณีต้องด้วยมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาซ้ำซ้อน ความผิดคนละกระทงต่างวาระกัน และขอบเขตการฟ้องคดีอาญา
มีคนร้ายลักอาวุธปืนของผู้เสียหายไปตั้งแต่วันที่12 ต่อมาวันที่ 16 เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมอาวุธปืน พนักงานอัยการโจทก์จึงฟ้องจำเลยฐานมีปืนไว้ในความครอบครองไม่รับอนุญาตเป็นคดีหนึ่ง แล้วฟ้องฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรอีกคดีหนึ่ง ดังนี้เห็นได้ว่าการกระทำผิดฐานมีอาวุธปืนนั้น จำเลยย่อมจะได้กระทำผิดนับแต่วาระแรกที่ได้ปืนนั้นมาไว้ในครอบครอง และเป็นความผิดอยู่เรื่อยไปจนกระทั่งจำเลยถูกจับได้พร้อมอาวุธปืน ส่วนความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรนั้น เป็นความผิดในขณะใดขณะหนึ่งตามที่โจทก์กล่าวหา ฉะนั้น การกระทำผิดของจำเลยที่โจทก์กล่าวหาทั้งสองคดีจึงอาจเป็นความผิดคนละกระทงต่างกรรมต่างวาระกันได้ ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2507

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างวาระ การลงโทษตามกฎหมายหลายบท
การกระทำผิดเป้นกิจลักษณต่างกรรมต่างวาระกันมิได้กระทำลงในเวลาเดียวกัน นับเป็นความผิด 2 ไม่ใช่กรรมอันเดียวต้องด้วยกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8351/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟอกเงิน: การกระทำต่างวันต่างเวลาถือเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ แม้เชื่อมโยงกับการจำหน่ายยาเสพติด
จำเลยทั้งสองและ ศ. ร่วมกันโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 จำนวน 3 ครั้ง ต่างวันต่างเวลากัน แม้ลักษณะการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน และมีเจตนาประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันโดยเป็นการกระทำต่อเนื่องจากการจำหน่ายยาเสพติดในครั้งเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อร่วมกระทำความผิดแต่ละครั้งต่างวันต่างเวลา มิได้กระทำต่อเนื่องกัน จึงแยกต่างหากจากกันเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6910/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารหลายกรรมต่างวาระ ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 91
จำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเราเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 บิดาและ ศ. มารดาในฐานะผู้ดูแลและผู้มีอำนาจปกครอง จึงเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์มีอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร จำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเรา 5 ครั้ง ต่างวันต่างเวลากัน แม้จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 รายเดียวกัน ลักษณะการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน สถานที่เกิดเหตุเดียวกัน และมีเจตนาประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกัน แต่จำเลยกระทำความผิดแต่ละครั้งต่างวันต่างเวลามิได้กระทำต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งจึงแยกต่างหากจากกันเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91