พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศเพื่อซื้อที่ดิน: ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
การที่โจทก์กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ในประเทศเพื่อซื้อที่ดิน เงินกู้และดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินย่อมถือเป็นต้นทุนของที่ดินและเป็นค่าใช้จ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ต่อมาโจทก์กู้ยืมเงินตราต่างประเทศมาเพื่อใช้หนี้เงินกู้ในประเทศ แม้มิใช่กู้เงินตราต่างประเทศเพื่อซื้อที่ดินโดยตรง แต่เมื่อโจทก์นำเงินกู้ในประเทศไปใช้ซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาและแบ่งขายในลักษณะโครงการปลูกสวนป่า หนี้เงินกู้และดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศจึงเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับหนี้เงินกู้ในประเทศ ถือเป็นส่วนหนึ่งของรายจ่ายค่าซื้อที่ดินอันเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน และการที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ดังนั้นผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและค่าใช้จ่ายในการทำสัญญาดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายต่อเนื่องเท่านั้นที่เป็นผลโดยตรงจากการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศมาชำระหนี้เงินกู้ในประเทศเพื่อซื้อที่ดิน อันเป็นส่วนหนึ่งของค่าซื้อที่ดินซึ่งเป็นต้นทุนของโจทก์ หาใช่เป็นค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการบริหารงานในการดำเนินธุรกิจการค้าหากำไรของโจทก์ไม่ เมื่อโจทก์คำนวณรายได้และรายจ่ายโดยใช้เกณฑ์สิทธิแต่โจทก์ยังไม่สามารถพัฒนาที่ดินเพื่อขายได้ โจทก์จึงไม่อาจนำผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและค่าใช้จ่ายในการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ามาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7206/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์: พิจารณาผลกำไรที่สูญเสียไป ไม่ใช่ราคาขายรวมต้นทุน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการทำซ้ำ โฆษณาและนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ และขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายทางการค้า จึงเท่ากับโจทก์อ้างว่า การกระทำของจำเลยซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้นประกอบด้วยการทำซ้ำและการนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแต่เพียงในปัญหาว่าการกระทำซ้ำของจำเลยต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายหรือไม่ จึงยังไม่ถูกต้อง ต้องวินิจฉัยด้วยว่าการที่จำเลยนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าซึ่งเทปเพลงของกลางทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายทางการค้าหรือไม่
ความเสียหายจากการขาดรายได้ที่โจทก์จะได้รับเมื่อจำเลยกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการนำเทปเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ออกจำหน่าย ย่อมเป็นความเสียหายที่เกิดจากการสูญเสียโอกาสที่จะได้รับผลกำไรจากการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนออกจำหน่ายเท่านั้น หาใช่ความเสียหายที่คิดคำนวณจากราคาจำหน่ายเทปเพลงแต่ละม้วนซึ่งได้รวมต้นทุนการผลิตเอาไว้ด้วยแต่อย่างใดไม่
ความเสียหายจากการขาดรายได้ที่โจทก์จะได้รับเมื่อจำเลยกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการนำเทปเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ออกจำหน่าย ย่อมเป็นความเสียหายที่เกิดจากการสูญเสียโอกาสที่จะได้รับผลกำไรจากการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนออกจำหน่ายเท่านั้น หาใช่ความเสียหายที่คิดคำนวณจากราคาจำหน่ายเทปเพลงแต่ละม้วนซึ่งได้รวมต้นทุนการผลิตเอาไว้ด้วยแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2506/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการละเมิด: การคำนวณต้นทุนการซ่อมและค่าแรงพนักงานที่เกี่ยวข้อง
จำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ แม้ค่าใช้จ่ายและค่าควบคุมการซ่อมจะเป็นค่าใช้จ่ายประจำที่โจทก์จะต้องใช้จ่ายอยู่แล้ว แต่เมื่อเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งที่โจทก์ต้องเสียไปในการซ่อมความเสียหายที่ได้รับ ซึ่งสามารถคิดคำนวณเฉลี่ยออกมาได้ จึงถือได้ว่าเป็นต้นทุนในการซ่อมที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนเงินค่าแรงที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการซ่อมแซมความเสียหายเกี่ยวกับรถไฟ เสาโทรเลข สายควบคุมพร้อมอุปกรณ์ และอื่น ๆ อันเกิดจากการทำละเมิดนั้น แม้พนักงานของโจทก์จะได้รับเงินเดือนจากโจทก์เป็นประจำอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีการละเมิดเกิดขึ้น โจทก์ก็ย่อมไม่ต้องใช้พนักงานของโจทก์ไปทำงานนั้น หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องจ้างเหมาให้บุคคลอื่นทำการซ่อมแซมแทน จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินค่าแรงดังกล่าวให้โจทก์เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2506/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายในการซ่อมความเสียหายจากละเมิด: ต้นทุนที่จำเลยต้องรับผิด
แม้ค่าใช้จ่ายและค่าควบคุมการซ่อมจะเป็นค่าใช้จ่ายประจำที่โจทก์จะต้องใช้จ่ายอยู่แล้ว แต่เมื่อเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งที่โจทก์ต้องเสียไปในการซ่อมความเสียหายที่ได้รับ ซึ่งสามารถคิดคำนวณเฉลี่ยออกมาได้ จึงถือได้ว่าเป็นต้นทุนในการซ่อมที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ เงินค่าแรงที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการซ่อมแซมความเสียหายเกี่ยวกับรถไฟ เสาโทรเลข สายควบคุมพร้อมอุปกรณ์และอื่น ๆ อันเกิดจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 แม้พนักงานของโจทก์จะได้รับเงินเดือนจากโจทก์เป็นประจำอยู่แล้ว แต่เมื่อโจทก์ต้องใช้พนักงานของโจทก์ไปซ่อมแซม เพราะถ้าไม่มีการละเมิดเกิดขึ้น โจทก์ก็ย่อมไม่ต้องใช้พนักงานของโจทก์ไปทำงานนั้น หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องจ้างเหมาให้บุคคลอื่นทำการซ่อมแซมแทน จำเลยทั้งห้าจึงต้องรับผิดชดใช้เงินค่าแรงดังกล่าวให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15649-15650/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุ่มตลาด: หลักเกณฑ์การหาส่วนเหลื่อมฯ, มูลค่าปกติ, การใช้ข้อมูลต้นทุน และดุลพินิจของเจ้าหน้าที่
พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ.2542 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารที่มีความอ่อนไหว โดยแบ่งข้อมูลข่าวสารที่ต้องปกปิดเป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลข่าวสารที่ต้องปกปิดโดยสาระและเนื้อหา ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นความลับโดยสภาพ เช่น หากเปิดเผยแล้วจะเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่สำคัญแก่คู่แข่ง หรือเปิดเผยแล้วจะเกิดผลเสียที่สำคัญต่อผู้ให้ข้อมูลหรือต่อบุคคลที่ให้ข้อมูลแก่ผู้ให้ข้อมูล (a person from whom that person acquired the information) กับข้อมูลข่าวสารที่ผู้ให้ข้อมูลข่าวสารนั้นขอให้ปกปิด เมื่อข้อมูลข่าวสารในแบบคำขอให้ดำเนินการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดในกรณีนี้ ถือเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทที่บริษัท บ. ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลขอให้ปกปิด จำเลยจึงตกอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 26 วรรคสอง ที่ว่า "ข้อมูลข่าวสารที่ผู้ให้ข้อมูลข่าวสารขอให้ปกปิดนั้น การเปิดเผยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้นั้นก่อน..." ทำให้จำเลยไม่อาจเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่บริษัท บ. ขอให้ปกปิดได้ การที่จำเลยปฏิบัติต่อข้อมูลข่าวสารด้วยความระมัดระวังตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.นี้ใน มาตรา 26 รวมทั้งให้สิทธิแก่ผู้มีส่วนได้เสียดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการไต่สวนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2543) ออกตามความใน พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ.2542 ข้อ 2 (3) จึงถือได้ว่าเจ้าหน้าที่จำเลยดำเนินการมาตรการที่เหมาะสมและตามควรแก่กรณีแล้ว ส่วนในเรื่องเหตุผลอันสมควรนั้นตามบทบัญญัติมาตรา 6.5 แห่งความตกลงว่าด้วยการทำให้มีผลซึ่งบังคับใช้มาตรา 6 แห่งความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ.1994 (Agreement on lmplement of Article VI of the General Agreement on Tariffs and Trade 1994) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีในความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้าด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับ พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ.2542 มาตรา 26 ซึ่งมิได้กำหนดในเรื่องเหตุผลอันสมควรไว้ แต่อย่างไรก็ดี เพื่อให้การพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดเป็นกระบวนการที่เป็นธรรม และเกิดความสมดุลระหว่างการรักษาความลับของข้อมูลกับสิทธิในการรับรู้ข้อมูลของผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่างๆ เจ้าหน้าที่จำเลยสมควรตรวจสอบด้วยว่าเหตุผลการปกปิดที่ผู้ให้ข้อมูลปกปิดรับฟังได้หรือไม่ เมื่อเนื้อหาข้อมูลข่าวสารที่บริษัท บ. ขอปกปิดนั้นมีข้อมูลภายในที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท บ. รวมอยู่ด้วย จึงเห็นได้ชัดเจนว่าหากเปิดเผยแล้วกระทบต่อการประกอบธุรกิจของบริษัทดังกล่าว ดังนั้นเจ้าหน้าที่จำเลยจึงพิจารณาถึงเหตุสมควรก่อนที่จะใช้ดุลพินิจเชื่อตามที่บริษัท บ. ชี้แจงแล้ว ส่วนมาตรา 30 เป็นขั้นตอนก่อนประกาศคำวินิจฉัย โดยกฎหมายให้โอกาสผู้มีส่วนได้เสียโต้แย้งก่อนมีการประกาศคำวินิจฉัยชั้นที่สุด จึงกำหนดหน้าที่ให้จำเลยแจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบถึงข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาหรืออีกนัยหนึ่งคือร่างผลการไต่สวนชั้นที่สุด จำเลยได้ส่งร่างผลการไต่สวนชั้นที่สุดให้แก่โจทก์แล้ว ซึ่งต่อมาโจทก์โต้แย้งร่างผลการไต่สวนชั้นที่สุดดังกล่าว แต่ในคดีนี้เป็นขั้นตอนการตรวจดูข้อมูลของผู้มีส่วนได้เสียซึ่งหากพิจารณาจากความตกลงว่าด้วยการทำให้มีผลบังคับใช้ซึ่งมาตรา 6 แห่งความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ.1994 (Agreement on lmplement of Article VI of the General Agreement on Tariffs and Trade 1994) จะเห็นได้ว่ามาตรา 30 ดังกล่าวมีที่มาจากมาตรา 6.9 ของความตกลงดังกล่าว ส่วนเรื่องการตรวจดูข้อมูลของผู้มีส่วนได้เสียความตกลงดังกล่าวบัญญัติไว้ในมาตรา 6.4
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคหนึ่ง จะไม่นำมาใช้กับกรณีที่คณะกรรมการฯ มีคำวินิจฉัยเบื้องต้นหรือคำวินิจฉัยชั้นที่สุดเกี่ยวกับการไต่สวนการทุ่มตลาด เนื่องจาก พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 38 บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 36 และมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับคำสั่งทางปกครองที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" ซึ่งในเรื่องการทุ่มตลาดมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2543) ออกตามความใน พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ กำหนดรูปแบบของคำสั่งทางปกครองไว้เป็นการเฉพาะ กล่าวคือ เมื่อคณะกรรมการฯ มีคำวินิจฉัยเบื้องต้นหรือคำวินิจฉัยชั้นที่สุดเกี่ยวกับการไต่สวนการทุ่มตลาดแล้ว จำเลยจะออกประกาศแสดงรายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาไต่สวนและเนื่องจากคำวินิจฉัยชั้นที่สุดของคณะกรรมการฯ ในคดีนี้ให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด จำเลยจึงต้องประกาศรายละเอียดข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่คณะกรรมการฯ ใช้เป็นหลักในการวินิจฉัยให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด โดยมีรายการตามกฎหมายดังกล่าว ข้อ 1 (1) (ก) ถึง (จ) กับรายการที่เพิ่มเติมในข้อ 1 (2) เมื่อพิจารณาประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่องผลการไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้าบล็อกแก้วชนิดใสที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 แล้วปรากฏว่ามีรายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาผลการไต่สวนตลอดจนรายการครบถ้วนตามที่กำหนดกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2543) ออกตามความใน พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ จึงฟังว่าประกาศดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนั้น ไม่จำเป็นที่จำเลยหรือคณะกรรมการฯ ต้องแจกแจ้งข้อเท็จจริงทุกอย่าง ที่ใช้เป็นข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนโดยละเอียด
ตามพ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ ส่วนที่ 1 ว่าด้วยการเริ่มต้นกระบวนพิจารณาเมื่อบุคคลหรือคณะบุคคลตามมาตรา 33 ยื่นคำขอต่อกรมจำเลยเพื่อขอให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาด จำเลยต้องตรวจสอบรายละเอียดและพยานหลักฐาน แล้วเสนอคำขอต่อคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อพิจารณาโดยคณะกรรมการฯ จะพิจารณาว่าคำขอมีมูลเกี่ยวกับการทุ่มตลาดและความเสียหายหรือไม่ จึงเห็นได้ว่าบุคคลและบุคคลตามมาตรา 3 เป็นเพียงผู้เริ่มกระบวนการพิจารณา แต่กระบวนพิจารณาต่อไปเป็นเรื่องของจำเลย ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการด้านกฎหมายว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาดและดำเนินมาตรการป้องกันและตอบโต้ทางการค้าเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการค้า ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2545 และของคณะกรรมการฯ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ.2542 มาตรา 73 ดังเห็นได้จากก่อนเริ่มการไต่สวนการทุ่มตลาดและความเสียหาย คำขอต้องผ่านการพิจารณาของจำเลยและคณะกรรมการฯ ก่อน การไต่สวนการทุ่มตลาดและความเสียหายจึงมิได้ถูกจำกัดเฉพาะสินค้าที่ระบุในคำขอหรือตามเจตนารมณ์ของผู้ยื่นขอเท่านั้น จำเลยและคณะกรรมการฯ ดังกล่าวในฐานะผู้มีอำนาจ (the authorities) ย่อมสามารถประเมิน ทบทวน รวมทั้งพิจารณาว่าข้อเท็จจริงตามคำขอควรครอบคลุมถึงสินค้าใดบ้าง มิฉะนั้นอำนาจในการกำหนดขอบเขตจะกลายเป็นอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลผู้ยื่นคำขอ ทั้งที่การทุ่มตลาดมีผลถึงผู้บริโภค ประโยชน์สาธารณรัฐ และเศรษฐกิจโดยรวมด้วย มิใช่มีผลกระทบเฉพาะผู้ยื่นคำขอเท่านั้น ในเรื่องการกำหนดขอบเขตนี้ การวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ที่ได้วินิจฉัยไว้ดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยตามอำนาจของคณะกรรมการฯ ตาม พ.ร.บ.นี้ในมาตรา 73 โดยมิได้เป็นการใช้ดุลพินิจเกินกว่าขอบเขตแต่อย่างใด ประกอบกับการกำหนดขอบเขตการไต่สวนให้ครอบคลุมสินค้าบล็อกแก้วชนิดใสทุกขนาดเพื่อป้องกันปัญหาการหลีกเลี่ยงการชำระอากรตอบโต้การทุ่มตลาด โดยวิธีการเปลี่ยนขนาดของสินค้าบล็อกแก้วชนิดใส ซึ่งจะทำให้การตอบโต้การทุ่มตลาดไม่สมประโยชน์และเป็นอันไร้ผลถือได้ว่าการวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ กระทำตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติแล้ว นอกจากนี้ตาม พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 4 คำว่า "สินค้าชนิดเดียวกัน" หมายความว่า "สินค้าที่มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการกับสินค้าที่ถูกพิจารณา แต่ในกรณีที่ไม่มีสินค้าดังกล่าวให้หมายความว่าสินค้าที่คล้ายคลึงกันอย่างมากกับสินค้าดังกล่าว" นิยามดังกล่าวบัญญัติไว้กว้างๆ มิได้กำหนดรายละเอียดในการพิจารณาเอาไว้ จึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป ดังนั้น ในการพิจารณาสินค้าชนิดเดียวกัน จำเลยใช้องค์ประกอบทั้งหกประการประกอบกัน ในเรื่องพิกัดอัตราศุลกากรซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบนั้น เป็นระบบจัดแบ่งสินค้าตามประเภทโดยมีเลขรหัสกำกับ หรือ "Harmonized System" แม้โดยหลักจะใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีศุลกากร แต่ยังมีประโยชน์ในการเก็บสถิติทางการค้าระหว่างประเทศ และช่วยแยกแยะความเหมือนและแตกต่างของสินค้าได้ และโดยสภาพย่อมทดแทนกันได้ สำหรับขนาดและลวดลายของบล็อกแก้วชนิดใสเป็นเรื่องกลยุทธ์ทางการตลาดที่ต้องการทำให้สินค้าครอบคลุมความต้องการและรสนิยมที่แตกต่างกันของผู้บริโภค โดยใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้ของผู้บริโภคว่าสินค้าบล็อกแก้วชนิดใสมีความแตกต่างกัน ทั้งที่สินค้าบล็อกแก้วชนิดใสไม่มีคุณลักษณะแตกต่างกันในสาระสำคัญในแง่ของประโยชน์ใช้สอย ถือได้ว่าสินค้าบล็อกแก้วชนิดใสทุกขนาดเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ การกำหนดมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด จึงไม่ต้องจำกัดเฉพาะสินค้าบล็อกแก้วชนิดใสขนาด 190 x 190 x 80 มิลลิเมตร และขนาด 190 x 190 x 100 มิลลิเมตร เท่านั้น
ในการหามูลค่าปกติเมื่อได้ราคาขายภายในประเทศผู้ส่งออก ตาม พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่งแล้ว ต้องพิจารณาว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตตามวรรคสามด้วย จะเห็นได้ว่าการตัดราคาส่งออกบางจำนวนออกไปอาจทำให้ราคาส่งออกโดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเกิดความคลาดเคลื่อนได้ นอกจากนี้เมื่อคำนวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดแล้ว ปรากฏว่าราคาส่งออกต่ำกว่ามูลค่าปกติประมาณร้อยละ 9 วิธีการคำนวณของจำเลยจึงมีความแม่นยำกว่า การคำนวณของจำเลยจึงสอดคล้องกับหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดใน พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 15 และมาตรา 14 กล่าวคือใช้วิธีการตามมาตรา 15 วรรคสาม ประกอบวรรคหนึ่ง ในการหามูลค่าปกติและใช้วิธีการตามมาตรา 14 วรรคหนึ่ง ในการหาราคาส่งออก จากนั้นใช้วิธีเปรียบเทียบที่เรียกว่าวิธีเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าปกติถั่วเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักกับราคาส่งออกถั่วเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (weighted average - to - weighted average) ตามมาตรา 18 วรรคสอง (1) เพื่อหาส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด ส่วนเรื่องความเสียหายต้องพิจารณาเป็น 2 ส่วนคือ ความเสียหายอย่างสำคัญที่เกิดแก่อุตสาหกรรมภายใน และความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าทุ่มตลาดกับความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายใน (causal link between dumped imports and material injury) เรื่องความเสียหายอย่างสำคัญเกิดแก่อุตสาหกรรมภายในตาม พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 19 (1) ต้องมีพยานหลักฐานโดยตรงสนับสนุนเกี่ยวกับความเสียหายอย่างสำคัญที่เกิดแก่อุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดโดยมาตรา 20 วรรคหนึ่ง ได้แก่ (1) ปริมาณของสินค้าทุ่มตลาดและผลของการทุ่มตลาดที่มีต่อราคาของสินค้าชนิดเดียวกันในตลาดภายในประเทศ และ (2) ผลกระทบของการทุ่มตลาดนั้นที่มีต่ออุตสาหกรรมภายใน เมื่อพิสูจน์ได้ว่ามีความเสียหายเนื่องจากปริมาณของสินค้าทุ่มตลาด และการทุ่มตลาดมีผลต่อราคาของสินค้าชนิดเดียวกันในตลาดภายในประเทศตาม พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาด มาตรา 20 วรรคหนึ่ง (1) แล้ว การที่เจ้าหน้าที่จำเลยพิจารณาความเสียหายจากปัจจัยทั้งสิบห้าประการดังกล่าวสอดคล้องกับความตกลงด้วยการทำให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งมาตรา 6 แห่งความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ.1994 (Agreement on lmplement of Article VI of the General Agreement on Tariffs and Trade 1994) มาตรา 3.4 การพิจารณาของจำเลยจึงมีความน่าเชื่อถือ ทั้งการพิจารณาข้อมูลในเรื่องการทุ่มตลาดเป็นการพิจารณาในภาพรวมเรื่องปริมาณของสินค้าทุ่มตลาด โดยพิจารณาจากสินค้าบล็อกแก้วชนิดใสจากประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียทุกรายเพียงแต่มีบริษัท พ. ซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกจากประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียเพียงบริษัทเดียวที่ตอบแบบสอบถาม สำหรับเรื่องผลกระทบของการทุ่มตลาดต่ออุตสาหกรรมภายในโดยพิจารณาผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศที่มีผลผลิตรวมกันได้เกินกึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตภายในประเทศ ดังนั้นการที่จำเลยได้รับข้อมูลจากบริษัททั้งสองซึ่งครอบคลุมปัจจัยต่างๆ เพียงพอที่จะใช้ในการพิจารณาผลกระทบแล้ว แม้บริษัท บ. อยู่ในระหว่างฟื้นฟูกิจการก็ไม่มีผลต่อการพิจารณาข้อมูลแต่อย่างใด
สำหรับการพิจารณาความเสียหายในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าทุ่มตลาดกับความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในนั้น พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 21 เมื่อเทียบเคียงกับความตกลงว่าด้วยการทำให้มีผลบังคับใช้ซึ่งมาตรา 6 แห่งความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ.1994 มาตรา 3.5 แล้วจะเห็นได้ว่าสาระสำคัญของบทบัญญัติมาตรานี้คือการพิจารณาปัจจัยที่ทราบทั้งหมด (ซึ่งรวมถึงปัจจัยที่มีการหยิบยกขึ้นในระหว่างการไต่สวน) นอกเหนือจากการทุ่มตลาด (any known factors other than dumped imports) แต่ให้พิจารณาเฉพาะปัจจัยที่ก่อความเสียหายแก่อุตสาหกรรมภายในในเวลาเดียวกันกับการทุ่มตลาด และความเสียหายจากปัจจัยอื่นนั้นต้องไม่ถือว่าเกิดจากการทุ่มตลาด (the injuries caused by these other factors must not be attributed to the dumped imports) โดยการฟื้นฟูกิจการของบริษัท บ. ย่อมเกี่ยวกับสถานะของอุตสาหกรรมภายใน (the state of the industry) ซึ่งเป็นเรื่องต้องใช้พิจารณาตาม พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 20 วรรคหนึ่ง (2) และปัจจัย 15 ประการ ที่จำเลยพิจารณาครอบคลุมการดำเนินงานของบริษัทดังกล่าวระหว่างที่ฟื้นฟูกิจการอยู่แล้ว โดยมีความตกลงว่าด้วยการทำให้มีผลบังคับใช้ซึ่งมาตรา 6 แห่งความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ.1994 มาตรา 3.4 เป็นบทบัญญัติในเรื่องผลกระทบของการทุ่มตลาดที่มีต่ออุตสาหกรรมภายใน ซึ่งใช้พิจารณาว่ามีความเสียหายอย่างสำคัญเกิดแก่อุตสาหกรรมภายในหรือไม่ และเทียบเคียงได้กับ พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 20 วรรคหนึ่ง (2) นอกจากนี้ยังปรากฏว่ากระทรวงพาณิชย์นำข้อความในมาตรา 3.4 แห่งความตกลงนี้ไปบัญญัติไว้ในกฎกระทรวงพาณิชย์กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการพิจารณาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อุตสาหกรรมภายในจากการทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน พ.ศ.2545 โดยข้อความตอนท้ายของมาตราดังกล่าวที่ว่า "This list is not exhaustive, nor can one or several of these factors necessarily give decisive guidance." บัญญัติไว้ในข้อ 2 วรรคท้าย ว่า "ทั้งนี้ ปัจจัยข้างต้นยังไม่ครอบคลุมทุกอย่าง และปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัยที่กล่าวนี้ ไม่ถือเป็นข้อพิจารณาที่ตายตัว" ส่วนเรื่องความสัมพันธ์สินค้าทุ่มตลาดกับความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในเป็นกรณีของพ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 21 หรือเทียบเคียงได้กับ มาตรา 3.5 แห่งความตกลงว่าด้วยการซึ่งให้มีผลซึ่งบังคับใช้ซึ่งมาตรา 6 แห่งความตกลงทั่วไปด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ.1994 ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศอ้างกฎกระทรวงพาณิชย์ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการพิจารณาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อุตสาหกรรมภายในจากการทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน พ.ศ.2545 ข้อ 2 วรรคท้าย กับความตกลงว่าด้วยการทำให้มีผลซึ่งบังคับใช้ซึ่งมาตรา 6 แห่งความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ.1994 มาตรา 3.4 ในการพิจารณาความสัมพันธ์สินค้าทุ่มตลาดกับความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในจึงไม่ถูกต้อง
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคหนึ่ง จะไม่นำมาใช้กับกรณีที่คณะกรรมการฯ มีคำวินิจฉัยเบื้องต้นหรือคำวินิจฉัยชั้นที่สุดเกี่ยวกับการไต่สวนการทุ่มตลาด เนื่องจาก พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 38 บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 36 และมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับคำสั่งทางปกครองที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" ซึ่งในเรื่องการทุ่มตลาดมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2543) ออกตามความใน พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ กำหนดรูปแบบของคำสั่งทางปกครองไว้เป็นการเฉพาะ กล่าวคือ เมื่อคณะกรรมการฯ มีคำวินิจฉัยเบื้องต้นหรือคำวินิจฉัยชั้นที่สุดเกี่ยวกับการไต่สวนการทุ่มตลาดแล้ว จำเลยจะออกประกาศแสดงรายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาไต่สวนและเนื่องจากคำวินิจฉัยชั้นที่สุดของคณะกรรมการฯ ในคดีนี้ให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด จำเลยจึงต้องประกาศรายละเอียดข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่คณะกรรมการฯ ใช้เป็นหลักในการวินิจฉัยให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด โดยมีรายการตามกฎหมายดังกล่าว ข้อ 1 (1) (ก) ถึง (จ) กับรายการที่เพิ่มเติมในข้อ 1 (2) เมื่อพิจารณาประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่องผลการไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้าบล็อกแก้วชนิดใสที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 แล้วปรากฏว่ามีรายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาผลการไต่สวนตลอดจนรายการครบถ้วนตามที่กำหนดกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2543) ออกตามความใน พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ จึงฟังว่าประกาศดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนั้น ไม่จำเป็นที่จำเลยหรือคณะกรรมการฯ ต้องแจกแจ้งข้อเท็จจริงทุกอย่าง ที่ใช้เป็นข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนโดยละเอียด
ตามพ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ ส่วนที่ 1 ว่าด้วยการเริ่มต้นกระบวนพิจารณาเมื่อบุคคลหรือคณะบุคคลตามมาตรา 33 ยื่นคำขอต่อกรมจำเลยเพื่อขอให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาด จำเลยต้องตรวจสอบรายละเอียดและพยานหลักฐาน แล้วเสนอคำขอต่อคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อพิจารณาโดยคณะกรรมการฯ จะพิจารณาว่าคำขอมีมูลเกี่ยวกับการทุ่มตลาดและความเสียหายหรือไม่ จึงเห็นได้ว่าบุคคลและบุคคลตามมาตรา 3 เป็นเพียงผู้เริ่มกระบวนการพิจารณา แต่กระบวนพิจารณาต่อไปเป็นเรื่องของจำเลย ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการด้านกฎหมายว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาดและดำเนินมาตรการป้องกันและตอบโต้ทางการค้าเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการค้า ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2545 และของคณะกรรมการฯ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ.2542 มาตรา 73 ดังเห็นได้จากก่อนเริ่มการไต่สวนการทุ่มตลาดและความเสียหาย คำขอต้องผ่านการพิจารณาของจำเลยและคณะกรรมการฯ ก่อน การไต่สวนการทุ่มตลาดและความเสียหายจึงมิได้ถูกจำกัดเฉพาะสินค้าที่ระบุในคำขอหรือตามเจตนารมณ์ของผู้ยื่นขอเท่านั้น จำเลยและคณะกรรมการฯ ดังกล่าวในฐานะผู้มีอำนาจ (the authorities) ย่อมสามารถประเมิน ทบทวน รวมทั้งพิจารณาว่าข้อเท็จจริงตามคำขอควรครอบคลุมถึงสินค้าใดบ้าง มิฉะนั้นอำนาจในการกำหนดขอบเขตจะกลายเป็นอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลผู้ยื่นคำขอ ทั้งที่การทุ่มตลาดมีผลถึงผู้บริโภค ประโยชน์สาธารณรัฐ และเศรษฐกิจโดยรวมด้วย มิใช่มีผลกระทบเฉพาะผู้ยื่นคำขอเท่านั้น ในเรื่องการกำหนดขอบเขตนี้ การวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ที่ได้วินิจฉัยไว้ดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยตามอำนาจของคณะกรรมการฯ ตาม พ.ร.บ.นี้ในมาตรา 73 โดยมิได้เป็นการใช้ดุลพินิจเกินกว่าขอบเขตแต่อย่างใด ประกอบกับการกำหนดขอบเขตการไต่สวนให้ครอบคลุมสินค้าบล็อกแก้วชนิดใสทุกขนาดเพื่อป้องกันปัญหาการหลีกเลี่ยงการชำระอากรตอบโต้การทุ่มตลาด โดยวิธีการเปลี่ยนขนาดของสินค้าบล็อกแก้วชนิดใส ซึ่งจะทำให้การตอบโต้การทุ่มตลาดไม่สมประโยชน์และเป็นอันไร้ผลถือได้ว่าการวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ กระทำตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติแล้ว นอกจากนี้ตาม พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 4 คำว่า "สินค้าชนิดเดียวกัน" หมายความว่า "สินค้าที่มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการกับสินค้าที่ถูกพิจารณา แต่ในกรณีที่ไม่มีสินค้าดังกล่าวให้หมายความว่าสินค้าที่คล้ายคลึงกันอย่างมากกับสินค้าดังกล่าว" นิยามดังกล่าวบัญญัติไว้กว้างๆ มิได้กำหนดรายละเอียดในการพิจารณาเอาไว้ จึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป ดังนั้น ในการพิจารณาสินค้าชนิดเดียวกัน จำเลยใช้องค์ประกอบทั้งหกประการประกอบกัน ในเรื่องพิกัดอัตราศุลกากรซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบนั้น เป็นระบบจัดแบ่งสินค้าตามประเภทโดยมีเลขรหัสกำกับ หรือ "Harmonized System" แม้โดยหลักจะใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีศุลกากร แต่ยังมีประโยชน์ในการเก็บสถิติทางการค้าระหว่างประเทศ และช่วยแยกแยะความเหมือนและแตกต่างของสินค้าได้ และโดยสภาพย่อมทดแทนกันได้ สำหรับขนาดและลวดลายของบล็อกแก้วชนิดใสเป็นเรื่องกลยุทธ์ทางการตลาดที่ต้องการทำให้สินค้าครอบคลุมความต้องการและรสนิยมที่แตกต่างกันของผู้บริโภค โดยใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้ของผู้บริโภคว่าสินค้าบล็อกแก้วชนิดใสมีความแตกต่างกัน ทั้งที่สินค้าบล็อกแก้วชนิดใสไม่มีคุณลักษณะแตกต่างกันในสาระสำคัญในแง่ของประโยชน์ใช้สอย ถือได้ว่าสินค้าบล็อกแก้วชนิดใสทุกขนาดเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ การกำหนดมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด จึงไม่ต้องจำกัดเฉพาะสินค้าบล็อกแก้วชนิดใสขนาด 190 x 190 x 80 มิลลิเมตร และขนาด 190 x 190 x 100 มิลลิเมตร เท่านั้น
ในการหามูลค่าปกติเมื่อได้ราคาขายภายในประเทศผู้ส่งออก ตาม พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่งแล้ว ต้องพิจารณาว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตตามวรรคสามด้วย จะเห็นได้ว่าการตัดราคาส่งออกบางจำนวนออกไปอาจทำให้ราคาส่งออกโดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเกิดความคลาดเคลื่อนได้ นอกจากนี้เมื่อคำนวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดแล้ว ปรากฏว่าราคาส่งออกต่ำกว่ามูลค่าปกติประมาณร้อยละ 9 วิธีการคำนวณของจำเลยจึงมีความแม่นยำกว่า การคำนวณของจำเลยจึงสอดคล้องกับหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดใน พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 15 และมาตรา 14 กล่าวคือใช้วิธีการตามมาตรา 15 วรรคสาม ประกอบวรรคหนึ่ง ในการหามูลค่าปกติและใช้วิธีการตามมาตรา 14 วรรคหนึ่ง ในการหาราคาส่งออก จากนั้นใช้วิธีเปรียบเทียบที่เรียกว่าวิธีเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าปกติถั่วเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักกับราคาส่งออกถั่วเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (weighted average - to - weighted average) ตามมาตรา 18 วรรคสอง (1) เพื่อหาส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด ส่วนเรื่องความเสียหายต้องพิจารณาเป็น 2 ส่วนคือ ความเสียหายอย่างสำคัญที่เกิดแก่อุตสาหกรรมภายใน และความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าทุ่มตลาดกับความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายใน (causal link between dumped imports and material injury) เรื่องความเสียหายอย่างสำคัญเกิดแก่อุตสาหกรรมภายในตาม พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 19 (1) ต้องมีพยานหลักฐานโดยตรงสนับสนุนเกี่ยวกับความเสียหายอย่างสำคัญที่เกิดแก่อุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดโดยมาตรา 20 วรรคหนึ่ง ได้แก่ (1) ปริมาณของสินค้าทุ่มตลาดและผลของการทุ่มตลาดที่มีต่อราคาของสินค้าชนิดเดียวกันในตลาดภายในประเทศ และ (2) ผลกระทบของการทุ่มตลาดนั้นที่มีต่ออุตสาหกรรมภายใน เมื่อพิสูจน์ได้ว่ามีความเสียหายเนื่องจากปริมาณของสินค้าทุ่มตลาด และการทุ่มตลาดมีผลต่อราคาของสินค้าชนิดเดียวกันในตลาดภายในประเทศตาม พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาด มาตรา 20 วรรคหนึ่ง (1) แล้ว การที่เจ้าหน้าที่จำเลยพิจารณาความเสียหายจากปัจจัยทั้งสิบห้าประการดังกล่าวสอดคล้องกับความตกลงด้วยการทำให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งมาตรา 6 แห่งความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ.1994 (Agreement on lmplement of Article VI of the General Agreement on Tariffs and Trade 1994) มาตรา 3.4 การพิจารณาของจำเลยจึงมีความน่าเชื่อถือ ทั้งการพิจารณาข้อมูลในเรื่องการทุ่มตลาดเป็นการพิจารณาในภาพรวมเรื่องปริมาณของสินค้าทุ่มตลาด โดยพิจารณาจากสินค้าบล็อกแก้วชนิดใสจากประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียทุกรายเพียงแต่มีบริษัท พ. ซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกจากประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียเพียงบริษัทเดียวที่ตอบแบบสอบถาม สำหรับเรื่องผลกระทบของการทุ่มตลาดต่ออุตสาหกรรมภายในโดยพิจารณาผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศที่มีผลผลิตรวมกันได้เกินกึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตภายในประเทศ ดังนั้นการที่จำเลยได้รับข้อมูลจากบริษัททั้งสองซึ่งครอบคลุมปัจจัยต่างๆ เพียงพอที่จะใช้ในการพิจารณาผลกระทบแล้ว แม้บริษัท บ. อยู่ในระหว่างฟื้นฟูกิจการก็ไม่มีผลต่อการพิจารณาข้อมูลแต่อย่างใด
สำหรับการพิจารณาความเสียหายในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าทุ่มตลาดกับความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในนั้น พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 21 เมื่อเทียบเคียงกับความตกลงว่าด้วยการทำให้มีผลบังคับใช้ซึ่งมาตรา 6 แห่งความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ.1994 มาตรา 3.5 แล้วจะเห็นได้ว่าสาระสำคัญของบทบัญญัติมาตรานี้คือการพิจารณาปัจจัยที่ทราบทั้งหมด (ซึ่งรวมถึงปัจจัยที่มีการหยิบยกขึ้นในระหว่างการไต่สวน) นอกเหนือจากการทุ่มตลาด (any known factors other than dumped imports) แต่ให้พิจารณาเฉพาะปัจจัยที่ก่อความเสียหายแก่อุตสาหกรรมภายในในเวลาเดียวกันกับการทุ่มตลาด และความเสียหายจากปัจจัยอื่นนั้นต้องไม่ถือว่าเกิดจากการทุ่มตลาด (the injuries caused by these other factors must not be attributed to the dumped imports) โดยการฟื้นฟูกิจการของบริษัท บ. ย่อมเกี่ยวกับสถานะของอุตสาหกรรมภายใน (the state of the industry) ซึ่งเป็นเรื่องต้องใช้พิจารณาตาม พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 20 วรรคหนึ่ง (2) และปัจจัย 15 ประการ ที่จำเลยพิจารณาครอบคลุมการดำเนินงานของบริษัทดังกล่าวระหว่างที่ฟื้นฟูกิจการอยู่แล้ว โดยมีความตกลงว่าด้วยการทำให้มีผลบังคับใช้ซึ่งมาตรา 6 แห่งความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ.1994 มาตรา 3.4 เป็นบทบัญญัติในเรื่องผลกระทบของการทุ่มตลาดที่มีต่ออุตสาหกรรมภายใน ซึ่งใช้พิจารณาว่ามีความเสียหายอย่างสำคัญเกิดแก่อุตสาหกรรมภายในหรือไม่ และเทียบเคียงได้กับ พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 20 วรรคหนึ่ง (2) นอกจากนี้ยังปรากฏว่ากระทรวงพาณิชย์นำข้อความในมาตรา 3.4 แห่งความตกลงนี้ไปบัญญัติไว้ในกฎกระทรวงพาณิชย์กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการพิจารณาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อุตสาหกรรมภายในจากการทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน พ.ศ.2545 โดยข้อความตอนท้ายของมาตราดังกล่าวที่ว่า "This list is not exhaustive, nor can one or several of these factors necessarily give decisive guidance." บัญญัติไว้ในข้อ 2 วรรคท้าย ว่า "ทั้งนี้ ปัจจัยข้างต้นยังไม่ครอบคลุมทุกอย่าง และปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัยที่กล่าวนี้ ไม่ถือเป็นข้อพิจารณาที่ตายตัว" ส่วนเรื่องความสัมพันธ์สินค้าทุ่มตลาดกับความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในเป็นกรณีของพ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ มาตรา 21 หรือเทียบเคียงได้กับ มาตรา 3.5 แห่งความตกลงว่าด้วยการซึ่งให้มีผลซึ่งบังคับใช้ซึ่งมาตรา 6 แห่งความตกลงทั่วไปด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ.1994 ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศอ้างกฎกระทรวงพาณิชย์ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการพิจารณาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อุตสาหกรรมภายในจากการทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน พ.ศ.2545 ข้อ 2 วรรคท้าย กับความตกลงว่าด้วยการทำให้มีผลซึ่งบังคับใช้ซึ่งมาตรา 6 แห่งความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ.1994 มาตรา 3.4 ในการพิจารณาความสัมพันธ์สินค้าทุ่มตลาดกับความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในจึงไม่ถูกต้อง