พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการบริษัทในการถอดถอนผู้แทนในกิจการร่วมค้า และความชอบด้วยกฎหมายของการประชุม
ป.พ.พ. มาตรา 1144 บัญญัติว่า "บรรดาบริษัทจำกัด ให้มีกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนด้วยกันจัดการตามข้อบังคับของบริษัท และอยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวง" กรรมการของจำเลยที่ 1 จึงต้องจัดการบริษัทตามข้อบังคับของบริษัทและอยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว เมื่อในการเรียกประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อบังคับของจำเลยที่ 1 กำหนดระยะเวลาในการเรียกประชุมกรรมการไว้เป็นการเฉพาะ และปรากฏตามรายงานการประชุมตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ว่าที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้ใช้ ป.พ.พ. เป็นข้อบังคับของบริษัท ดังนั้น ในการเรียกประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1162 ที่บัญญัติว่า "กรรมการคนหนึ่งคนใดจะนัดเรียกให้ประชุมกรรมการเมื่อใดก็ได้" อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับการเรียกประชุมกรรมการบริษัท ซึ่งในกรณีนี้กฎหมายมิได้กำหนดขั้นตอนและวิธีการบอกกล่าวเรียกประชุมไว้ และเมื่อการเรียกประชุมกรรมการบริษัทมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้กรรมการนัดเรียกประชุมเมื่อใดก็ได้ กรณีจึงไม่อาจนำวิธีการบอกกล่าวเรียกประชุมตามมาตรา 1175 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในการเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทมาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 ได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงสามารถเรียกประชุมกรรมการเมื่อใดก็ได้
ข้อบังคับของบริษัทเป็นข้อตกลงในการจัดการงานของบริษัทที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมตั้งบริษัท และข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้สำหรับบริษัทใดย่อมใช้บังคับสำหรับบริษัทนั้น เมื่อบริษัท ร. เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นในลักษณะของกิจการร่วมค้าตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนและเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไทย โดยจำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ถือหุ้นรายหนึ่งในบริษัท ร. เท่านั้น แม้สัญญาร่วมลงทุนของบริษัท ร. จะกำหนดว่าการเรียกประชุมกรรมการของบริษัทต้องเรียกประชุมล่วงหน้า 15 วัน ก็ตาม แต่เมื่อที่ประชุมของจำเลยที่ 1 ให้ใช้ ป.พ.พ. เป็นข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ตกลงให้นำข้อบังคับของบริษัท ร. มาใช้เป็นข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ด้วย ระยะเวลาในการบอกกล่าวเรียกประชุมกรรมการของบริษัท ร. ที่กำหนดให้ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1
การออกหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการระบุวาระการประชุมว่า เรื่องต่าง ๆ รวมถึงมาตรการที่เหมาะสมที่เกี่ยวข้องกับผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ในฐานะกรรมการของบริษัท ร. เมื่อพิจารณาถึงวาระการประชุมตามที่กำหนดไว้ในเอกสารดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นวาระการประชุมเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการใด ๆ ที่เหมาะสมที่เกี่ยวข้องกับผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ที่ดำรงตำแหน่งในฐานะกรรมการของบริษัท ร. ซึ่งครอบคลุมรวมถึงการคงอยู่ หรือการถอดถอน หรือการแต่งตั้งผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทดังกล่าวด้วย การที่ที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ ๑ ได้พิจารณาและลงมติให้ถอดถอนโจทก์กับพวกซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ที่ได้รับแต่งตั้งให้เข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการของบริษัท ร. ออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้งบุคคลอื่นแทนจึงเป็นการพิจารณาและลงมติในวาระหรือเรื่องที่กำหนดไว้
บริษัท ร. เป็นนิติบุคคลและมีคณะกรรมการของบริษัทแยกต่างหากจากบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น การที่ที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ ๑ มีมติถอดถอนโจทก์กับพวกออกจากการเป็นผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ที่เข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัท ร. จึงมิใช่เป็นการถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ ๑ ที่จะต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๑๑๕๑ ที่กำหนดให้การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการบริษัทต้องกระทำโดยมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น
ข้อบังคับของบริษัทเป็นข้อตกลงในการจัดการงานของบริษัทที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมตั้งบริษัท และข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้สำหรับบริษัทใดย่อมใช้บังคับสำหรับบริษัทนั้น เมื่อบริษัท ร. เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นในลักษณะของกิจการร่วมค้าตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนและเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไทย โดยจำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ถือหุ้นรายหนึ่งในบริษัท ร. เท่านั้น แม้สัญญาร่วมลงทุนของบริษัท ร. จะกำหนดว่าการเรียกประชุมกรรมการของบริษัทต้องเรียกประชุมล่วงหน้า 15 วัน ก็ตาม แต่เมื่อที่ประชุมของจำเลยที่ 1 ให้ใช้ ป.พ.พ. เป็นข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ตกลงให้นำข้อบังคับของบริษัท ร. มาใช้เป็นข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ด้วย ระยะเวลาในการบอกกล่าวเรียกประชุมกรรมการของบริษัท ร. ที่กำหนดให้ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1
การออกหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการระบุวาระการประชุมว่า เรื่องต่าง ๆ รวมถึงมาตรการที่เหมาะสมที่เกี่ยวข้องกับผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ในฐานะกรรมการของบริษัท ร. เมื่อพิจารณาถึงวาระการประชุมตามที่กำหนดไว้ในเอกสารดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นวาระการประชุมเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการใด ๆ ที่เหมาะสมที่เกี่ยวข้องกับผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ที่ดำรงตำแหน่งในฐานะกรรมการของบริษัท ร. ซึ่งครอบคลุมรวมถึงการคงอยู่ หรือการถอดถอน หรือการแต่งตั้งผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทดังกล่าวด้วย การที่ที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ ๑ ได้พิจารณาและลงมติให้ถอดถอนโจทก์กับพวกซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ที่ได้รับแต่งตั้งให้เข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการของบริษัท ร. ออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้งบุคคลอื่นแทนจึงเป็นการพิจารณาและลงมติในวาระหรือเรื่องที่กำหนดไว้
บริษัท ร. เป็นนิติบุคคลและมีคณะกรรมการของบริษัทแยกต่างหากจากบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น การที่ที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ ๑ มีมติถอดถอนโจทก์กับพวกออกจากการเป็นผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ที่เข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัท ร. จึงมิใช่เป็นการถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ ๑ ที่จะต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๑๑๕๑ ที่กำหนดให้การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการบริษัทต้องกระทำโดยมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น