พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาลาออกมีผลทันที แม้ถอนทีหลัง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงานและหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้วลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 วรรคสอง เมื่อจำเลย ยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาวันที่21 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่หนังสือขอลาออกจากงาน ของจำเลยยังคงมีผลต่อไป ทั้งโจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงาน และลูกจ้างที่กำหนดว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์ จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา โดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้วจึงให้ถือว่า ออกจากงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับ แก่โจทก์และจำเลยได้ ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการดำเนินการ ของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลย ในการประชุมวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผล ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 เป็นต้นไป การที่จำเลยต้องออก จากงานหาใช่เพราะถูกโจทก์เลิกจ้างไม่ โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย แต่การที่โจทก์จ่าย ค่าชดเชยให้แก่จำเลยเนื่องจากจำเลยออกจากงานอันถือเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์จึงหามีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลยไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแก้แผนที่โฉนดหลังคำพิพากษาศาลฎีกา: ผูกพันคู่ความ, ถอนเจตนาไม่ได้, ชี้ขาดเด็ดขาด
เมื่อมีคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับเขตที่ดินของโจทก์จำเลยและคู่ความตกลงกันให้แก้แผนที่หลังโฉนดศาลได้จดข้อตกลงไว้ในรายงานพิจารณา และแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว โจทก์จะกลับมาขอถอนการแสดงเจตนานั้นโดยอ้างว่าโจทก์เข้าใจผิด หาได้ไม่ ไม่มีเหตุผลพอให้ถือได้ว่า เข้าใจผิด เพราะเป็นข้อความชัดแจ้งและเป็นการยอมให้แก้ไขแผนที่หลังโฉนดให้ตรงกับเขตที่ดินที่ศาลฎีกาได้ชี้ขาดในคดีนั้นนั่นเอง
โจทก์ขอมาในฎีกาให้ศาลฎีกาอธิบายเขตที่ดินอีก เมื่อปรากฎว่าศาลฎีกาได้กล่าวในคำพิพากษาฎีกาฉบับก่อนชัดแจ้งอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องอธิบายอะไรอีก
โจทก์ขอมาในฎีกาให้ศาลฎีกาอธิบายเขตที่ดินอีก เมื่อปรากฎว่าศาลฎีกาได้กล่าวในคำพิพากษาฎีกาฉบับก่อนชัดแจ้งอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องอธิบายอะไรอีก