คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ถือหุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นและการแบ่งผลกำไร: การกระทำเพื่อเรียกร้องสิทธิ ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
ตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ซึ่งโจทก์ส่งไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ก. เป็นเอกสารราชการ นอกจากนี้ ส. กรรมการโจทก์ได้ลงชื่อรับรองว่าเป็นรายการที่ถูกต้องตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง เอกสารดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1 ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์จำนวน 5,000 หุ้น เมื่อโจทก์ไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ ดังนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งถือหุ้นจำนวน 5,000 หุ้น รองจาก ส. กรรมการโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับการแบ่งผลกำไรจากการทำธุรกิจร่วมกันกับโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์กันโดยจำเลยที่ 1 เห็นว่า โจทก์ไม่แบ่งผลประโยชน์ให้ จึงถอดเครื่องอุปกรณ์ของเครื่องจักรในโรงงานและเอาสีต่าง ๆ ไปเก็บไว้เพื่อต่อรองให้โจทก์จ่ายผลประโยชน์ในส่วนที่ตนพึงจะได้รับเครื่องอุปกรณ์ชิ้นส่วนดังกล่าวเมื่อนำมาติดตั้งใหม่ก็สามารถติดตั้งและใช้งานได้ดีตามปกติ การกระทำของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่ามิได้ประสงค์ต่อผลที่จะเอาทรัพย์ของโจทก์ไปเป็นของตนหรือของผู้อื่น แสดงว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาทุจริตแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์นำสิ่งของดังกล่าวไปฝากไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 3 ก็ไม่มีความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นและการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์: ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายและการขาดเจตนาทุจริต
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่โจทก์ส่งไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครเป็นเอกสารราชการ และนาง ส. กรรมการบริษัทโจทก์ได้ลงชื่อรับรองว่าเป็นรายการที่ถูกต้องตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง เอกสารดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1 ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์จำนวน 5,000 หุ้น เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ถือหุ้นแทนบุตรสาวของนาง ส. โดยโจทก์มีเพียงนาง ส. เท่านั้นมานำสืบ จึงไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
จำเลยที่ 1 ถือหุ้นจำนวน 5,000 หุ้น รองจากนาง ส. ย่อมมีสิทธิได้รับการแบ่งผลกำไรจากการทำธุรกิจร่วมกับโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์กัน โดยจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์ไม่แบ่งผลประโยชน์ให้ จึงถอดเครื่องอุปกรณ์ของเครื่องจักรในโรงงานและเอาสีต่าง ๆ ไปเก็บไว้เพื่อต่อรองให้โจทก์จ่ายผลประโยชน์ในส่วนที่ตนพึงจะได้รับ เครื่องอุปกรณ์ชิ้นส่วนดังกล่าวเมื่อนำมาติดตั้งใหม่ก็สามารถติดตั้งและใช้งานได้ดีตามปกติ การกระทำเช่นนี้ของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่ามิได้ประสงค์ต่อผลที่จะเอาทรัพย์ของโจทก์ไปเป็นของตนหรือของผู้อื่น แสดงว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาทุจริตแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์นำสิ่งของดังกล่าวไปฝากที่บ้านของจำเลยที่ 3 ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ และจำเลยที่ 3 ผู้รับฝากทรัพย์ข้างต้นย่อมไม่มีความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8207/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยการนำทรัพย์สินมาจัดตั้งบริษัทให้ทายาทถือหุ้น ถือเป็นการแบ่งมรดกที่สมบูรณ์
ที่ดินประทานบัตรทำเหมืองแร่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกนำมาเป็นทุนจัดตั้งเป็นบริษัทจำเลยที่ 8 แล้วให้ทายาททุกคนเป็นผู้ถือหุ้นตามส่วนสัดที่ทายาทแต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดก การนำที่ดินมรดกมาเป็นทุนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 8ดังกล่าวเป็นการจัดการตามที่จำเป็นเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกซึ่งอยู่ในขอบอำนาจและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และมาตรา 1736 วรรคสอง เนื่องจากไม่สามารถจัดการให้ทายาทเข้าครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดได้
แม้ทายาทบางคนยังเป็นผู้เยาว์อยู่ขณะนำที่ดินมรดกมาเป็นทุนของบริษัทจำเลยที่ 8 ผู้จัดการมรดกก็ไม่ต้องขออนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เพราะกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 และ 1736 วรรคสอง
เมื่อทายาททุกคนโดยเฉพาะโจทก์ได้รับหุ้นและผลประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทจำเลยที่ 8 เรื่อยมาจนกระทั่งโจทก์ขายหุ้นทั้งหมดให้แก่ ป. และ อ. ไปในปี 2509 โดยไม่ได้คัดค้านว่าการกระทำของผู้จัดการมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมายแสดงว่าโจทก์และทายาททุกคนพอใจและให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวแล้วถือว่าโจทก์ได้รับแบ่งมรดกตามสิทธิครบถ้วนและถือว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันมรดกเสร็จสมบูรณ์แล้วตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 8เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2503 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5733/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินปันผลยกเว้นภาษี: การถือหุ้นของผู้จ่ายปันผลหลังรับเงินปันผล ไม่ทำให้ต้องนำรายได้มาคำนวณภาษี
วันที่ 23 ธันวาคม 2536 บริษัทโจทก์ซื้อหุ้นของบริษัท ส. จำนวน 18,700,000 หุ้น ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดในบริษัท ส. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 บริษัท ส. ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น ประกาศจ่ายเงินปันผลให้โจทก์จำนวน 175,219,000บาท และโจทก์ไม่ได้โอนหุ้นดังกล่าวไปก่อน 3 เดือน นับแต่ได้เงินปันผลต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2538 บริษัท ซ. และบริษัท อ. ซึ่งถือหุ้นของโจทก์จำนวน 34,879,982 หุ้น ได้ขายหุ้นดังกล่าวให้แก่บริษัท ส. ดังนั้น เมื่อขณะที่บริษัท ส. ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น ประกาศจ่ายเงินปันผลให้โจทก์จำนวนดังกล่าวซึ่งเป็นวันที่ถือว่าโจทก์มีรายได้ในเงินปันผลนั้น บริษัท ส. ยังมิได้เข้าถือหุ้นในบริษัทโจทก์ เงินปันผลจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้ทั้งจำนวนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(10)(ข) การที่บริษัท ส. เข้ามาถือหุ้นในบริษัทโจทก์ไม่ว่าจะอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีที่โจทก์ได้รับเงินปันผลนั้นมาหรือไม่ก็ตาม ไม่ทำให้เงินปันผลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้ทั้งจำนวน ต้องกลับมาเป็นเงินปันผลที่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้กึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 65 ทวิ(10) วรรคหนึ่ง ไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: การถือหุ้นและตำแหน่งกรรมการ ไม่ทำให้เกิดความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง
โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและประธานกรรมการของบริษัทจำเลยเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของพนักงานรองจาก ถ. ซึ่งเป็นประธานกิตติมศักดิ์ โจทก์ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับการทำงานของจำเลยทั้งไม่มีผู้ใดในบริษัทจำเลยสามารถสั่งการหรือบังคับบัญชาโจทก์ได้โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นเกินสิบเปอร์เซ็นต์โดยธนาคารพาณิชย์ และความรับผิดของพนักงานต่อความเสียหาย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ 2522 มาตรา 31
ธนาคารโจทก์เจตนาฝ่าฝืน พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์พ.ศ.2505 โดยธนาคารโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท ป.และบริษัท ส.โดยโจทก์จัดตั้งและจดทะเบียนบริษัททั้งสองดังกล่าวขึ้นมาแล้วให้พนักงานที่โจทก์ไว้วางใจเป็นผู้ถือหุ้นแทน จึงเป็นการที่ธนาคารโจทก์มีหุ้นในบริษัทจำกัด ป.และส.เกินร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัททั้งสอง อันเป็นการต้องห้ามโดยบทกฎหมายดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง การถือหุ้นของธนาคารโจทก์ในบริษัท ป.และบริษัท ส.จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เข้าถือหุ้นในบริษัททั้งสองดังกล่าว
แม้การที่ธนาคารโจทก์ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทอื่นเป็นการถือหุ้นโดยมิชอบและตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ดำเนินธุรกิจให้โจทก์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินและทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ไปเป็นประโยชน์ของตนโดยมิชอบอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคารโจทก์
จำเลยร่วมกับพวกดำเนินการทางธุรกิจโดยมิชอบจนมีการขายที่ดินให้แก่บริษัท ร.เป็นเหตุให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย การที่บริษัทร.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีนำที่ดินดังกล่าวทั้งหมดมาจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีที่โจทก์ฟ้องบริษัท ป.ที่ธนาคารโจทก์เข้าถือหุ้นเป็นจำเลย เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับจำนองที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ไม่ใช่โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนมาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นและการชำระค่าหุ้น: สิทธิและหน้าที่ของผู้ถือหุ้นตามบัญชีรายชื่อและการสันนิษฐานตามกฎหมาย
ตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ในวันประชุมตั้งบริษัทจำเลยเอกสารหมาย จ.2 ปรากฎลายมือชื่อของผู้ร้องคัดค้านทั้งสองลงชื่อจองหุ้น และค้างชำระค่าหุ้น อยู่ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปและยังมีบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญครั้งที่ 1/2525 ที่บริษัทจำเลย ส่งต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพมหานครเอกสาร หมาย จ.9 เป็นพยานสนับสนุนอีกซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1024 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บรรดาสมุดบัญชีเอกสารของบริษัทนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ทุกประการ ผู้ร้องคัดค้านไม่สามารถนำสืบหักล้างพยานหลักฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ ดังนี้ฟังได้ว่า ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองยังคงถือหุ้นและค้างชำระค่าหุ้น และค้างชำระค่าหุ้นอยู่ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทวงหนี้ไปจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งการถือหุ้นในคดีล้มละลายและการจำกัดสิทธิอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์
ผู้ร้องอุทธรณ์ว่าผู้ร้องไม่ได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นโดย ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้มีการรับโอนหุ้นตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 จึงไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทลูกหนี้ ตามมาตรา 1141ถือว่าผู้ร้องโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่ว่า ผู้ร้องไม่ได้รับโอนหุ้นของบริษัทลูกหนี้และไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทลูกหนี้ที่ผู้ร้องยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นอ้าง ก็เพียงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างที่ว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทลูกหนี้อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงนั่นเอง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 20,000 บาท คดีย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามมาตรา 224 และผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกา ตามมาตรา 247 ประกอบมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทจำกัด: ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาเหตุผลประกอบการค้า, การถือหุ้น, และผลขาดทุน
การที่บริษัทจำกัดทำผิดวัตถุประสงค์ของบริษัท ก็ไม่ใช่เหตุที่จะปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1237 ที่จะให้ศาลสั่งเลิกบริษัทได้ และแม้บริษัทจะเริ่มประกอบการค้าเกิน 1 ปี นับแต่วันจดทะเบียนบริษัทก็ตามแต่มาตรา 1237 มิได้เป็นบทบังคับให้ศาลสั่งเลิกบริษัท เพียงแต่บัญยัติให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าสมควรสั่งให้เลิกบริษัทหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเงินค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นชำระให้บริษัทจำเลยด้วยเงินสดและเช็คส่วนใหญ่ โจทก์ที่ 8ซึ่งเป็นกรรมการรักษาเงินเป็นคนเก็บรักษาและไม่ยอมมอบให้บริษัทจำเลยดังนั้น ที่บริษัทจำเลยไม่เริ่มทำการค้าภายใน 1 ปี อาจเป็นเพราะบริษัทจำเลยไม่มีทุนดำเนินการค้า จึงยังไม่สมควรที่จะสั่งเลิกบริษัทจำเลย
แม้บริษัทจำเลยจะขาดทุนมาทุกปะ แต่เมื่อรวมยอดขาดทุนแล้วก็เพียงร้อยละ 12 ขแงจำนวนทุนทั้งหมด และเหตุที่ขาดทุนเป็นเพราะโจทก์ที่ 8 กับบริษัทจำเลยมีข้อพิพาทฟ้องร้องกัน และเงินค่าหุ้นส่วนใหญ่อยู่ที่โจทก์ที่ 8ซึ่งไม่ให้ความร่วมมือโดยกักเงินค่าหุ้นไว้ เมื่อบริษัทจำเลยเรียกให้ชำระค่าหุ้นฝ่ายโจทก์ก็ไม่ยอมชำระ บริษัทจำเลยจึงไม่มีทุนดำเนินการค้าได้เต็มที่ อย่างไรก็ดีบริษัทจำเลยได้ซื้อหุ้นของบริษัทอื่นเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแสดงว่าบริษัทจำเลยยังมุ่งประกอบการค้าเพื่อให้ได้ผลกำไรอยู่ และมีลุ่ทางจะทำกำไรได้จึงย่อมไม่สมควรจะเลิกบริษัทจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดทางอาญาจากการถือหุ้นเกินสัดส่วนในธนาคารพาณิชย์ ทำให้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นตกไป
บริษัทโจทก์และบริษัทจำเลยที่ 1 ต่างรู้เห็นร่วมกันให้บริษัทจำเลยที่ 1ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ มีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทโจทก์เป็นจำนวนเกินกว่าที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์บัญญัติไว้ อันเป็นความผิดทางอาญา ย่อมได้ชื่อว่าต่างไม่สุจริตด้วยกัน เพราะร่วมกันก่อให้เกิดความผิดทางอาญาขึ้น บริษัทโจทก์จะยกสิทธิอันไม่สุจริต ซึ่งเกิดขึ้นจากการกระทำความผิดทางอาญาด้วยกันมาเรียกร้องเงินค่าหุ้นของบริษัทโจทก์ซึ่งยังไม่ได้รับชำระจากบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ไม่สุจริตด้วยกันหาได้ไม่เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมซึ่งกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดด้วย กรณีดังกล่าวแล้วเป็นเรื่องเรียกเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระอันเกิดจากการร่วมกันใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการผู้ทำแทนบริษัทจำเลยที่ 1 จึงมิได้ทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัทโจทก์ จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76 มาใช้หาได้ไม่
of 2