คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ถูกกำจัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถูกกำจัดมิให้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตาย และสิทธิในการสืบมรดกของผู้สืบสันดาน
โจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ใช่คู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่154/2527 ของศาลชั้นต้น ดังนั้นโจทก์สามารถพิสูจน์ได้ว่าที่ดินส่วนของ บ.ในโฉนดเลขที่ 2505 ดังกล่าวเป็นมรดกของ บ. จำเลยมิได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (2)
ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ บ. โดย บ.มีบุตร 4 คน คือโจทก์ทั้งสองจำเลย และ จ. แต่ จ.ถึงแก่ความตายก่อน บ. โดย จ.มีบุตร 3 คน บ.ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงมีสิทธิได้ส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ บ.เพียงหนึ่งในสี่ส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ บ.ทั้งหมดโดยการครอบครอง ทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาถึง 10 ปีก่อนจำเลยยื่นคำร้องขอเช่นนั้น แล้วจำเลยนำพยานหลักฐานมาไต่สวนในคดีดังกล่าวจนศาลชั้นต้นหลงเชื่อและมีคำสั่งว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของบ.ในโฉนดเลขที่ 2505 โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แล้วจำเลยนำคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นไปจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น จำเลยจึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเลยตามมาตรา 1605 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 เบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 154/2527 ของศาลชั้นต้น ยืนยันว่าจำเลยครอบครองที่ดินของบ.โดยสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีโดยเจตนาให้หลานและทายาทอื่นของ บ.ไม่ได้รับมรดกด้วย โจทก์ที่ 1ย่อมต้องได้รับผลในลักษณะคดีในฐานพยานเท็จ ไม่ได้รับมรดกที่ดินในกรณีพิพาทนี้ด้วยนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามไม่ให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ ที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่งเช่นกัน
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1639 บัญญัติให้ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกรับมรดกแทนที่ทายาทนั้นได้ในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้นก็ตาม แต่มาตรา 1607 บัญญัติว่า การถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัวผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว โดยมิได้บัญญัติว่า ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกสืบมรดกต่อไปได้เฉพาะในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้น ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกของ บ.เจ้ามรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้และต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของ บ.เลย อันเป็นการถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตายก็ตาม บุตรของจำเลยซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของจำเลยทายาทผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของนายบุญช่วยย่อมสืบมรดกของ บ.ต่อไปได้เหมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 1607 และบทบัญญัติมาตรา 1607 หาได้อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 1639 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ vs. เหตุฟ้องต่างกัน: การถูกกำจัดมิให้รับมรดก และอายุความมรดก
คดีก่อนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยที่ 1 มิใช่สามีของนาง จ. เจ้ามรดก ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีถึงที่สุดว่านาง จ. และจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภรรยากัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้เป็นผู้สืบสันดานของนาง จ. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนาง จ. แต่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความมรดกส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยที่ 1 ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของนาง จ. เนื่องจากจำเลยที่ 1 ปิดบังซ่อนเร้นเพื่อมิให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ได้รับมรดกของนาง จ. เหตุที่ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจึงเป็นคนละเหตุกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถูกกำจัดมิให้ได้มรดก, อายุความมรดก, การแบ่งมรดก, สิทธิทายาท, การแก้ไขคำพิพากษา
กำหนดอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดก เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายนั้น ใช้บังคับสำหรับกรณีที่ทายาทฟ้องเรียกร้องทรัพย์มรดกจากทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกัน แต่สำหรับกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อรวบรวมทรัพย์มรดกมาแบ่งปันแก่ทายาทนั้น ตราบใดที่ยังมิได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกหรือการแบ่งปันทรัพย์มรดกยังไม่แล้วเสร็จ ถือว่าทรัพย์มรดกอยู่ระหว่างการจัดการมรดกทายาทย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกเมื่อใดก็ได้ ไม่มีกำหนดอายุความ เมื่อที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกยังมิได้จัดสรรแบ่งปันแก่ทายาท จึงถือว่าอยู่ในระหว่างการจัดการทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดก อายุความตามมาตรา 1754 จึงไม่นำมาใช้บังคับ คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความมรดก
แม้จำเลยต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกในที่ดินพิพาท แต่การถูกกำจัดมิให้รับทรัพย์มรดกนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของจำเลย ผู้สืบสันดานของจำเลยสืบมรดกแทนจำเลยต่อไปได้ ข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของจำเลยว่า จำเลยมีบุตรทั้งหมด 4 คน จึงถือว่าจำเลยมีผู้สืบสันดานที่สามารถสืบมรดกแทนจำเลยเสมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วได้ตามมาตรา 1607 เมื่อทายาทของ ก. เจ้ามรดกมีทั้งหมด 10 คน แม้ ส. ทายาทคนหนึ่งได้ตายไปก่อนที่ ก. ถึงแก่ความตาย แต่ ส. ก็มีผู้สืบสันดานเข้ารับมรดกแทนที่ ส่วนจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ก. คนหนึ่งถูกกำจัดมิให้ได้มรดกที่ดินพิพาท แต่จำเลยก็มีผู้สืบสันดานมรดกแทนที่จำเลยได้ ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงต้องแบ่งเป็น 10 ส่วนเท่าจำนวนทายาทของ ก. โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทคนละ 1 ใน 10 ส่วน
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสาม หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ย่อมเป็นการพิพากษาตามคำขอบังคับของโจทก์ทั้งสามที่ให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งสามถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยครบถ้วนแล้ว ไม่จำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขในกรณีที่จำเลยไม่สามารถปฏิบัติการตามคำพิพากษาดังกล่าวได้ต่อไปอีก ทั้งการถูกกำจัดมิให้รับมรดกเป็นการวินิจฉัยถึงสิทธิในการรับมรดกของทายาท ไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในคำพิพากษาเพื่อบังคับคดี