พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมแปลงตรา – ครอบคลุมทั้งรอยตราของทบวงการเมืองและเจ้าพนักงาน
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่สามารถที่จะปรับความผิดตาม ป.อ.มาตรา 251 ได้เพราะโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกับพวกได้ทำปลอมขึ้นซึ่งรอยตราประเภทนักท่องเที่ยว และรอยตราครุฑ ไม่ใช่ดวงตราอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 251 นั้น แม้ฎีกาของจำเลยจะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ก็เป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะการทำปลอมรอยตราของทบวงการเมืองหรือของเจ้าพนักงานก็เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตรานี้ และตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของทบวงการเมือง: ราชบัณฑิตยสถานมีอำนาจฟ้องได้เองโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 30 และข้อ 29 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้บัญญัติให้โจทก์เป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงใด มีฐานะเป็นกรมและให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลจำพวกทบวงการเมืองตามป.พ.พ. มาตรา 72 (เดิม) และ 73 (เดิม)
ส. นายกราชบัณฑิตยสถานได้ประชุมราชบัณฑิตทุกสำนักและจัดวางระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานว่าด้วยการปฏิบัติงานทั่วไปของนายก อุปนายก และเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 (2) ประกอบมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2485 ระเบียบการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ ตามข้อ 6 ของระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าให้นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้แทนราชบัณฑิตยสถานซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้น ตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการจัดการควบคุมทบวงการเมืองโจทก์ จึงถือได้ว่าในขณะฟ้องคดีโจทก์มี บ.นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นเป็นผู้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 (เดิม)โจทก์โดย บ.นายกราชบัณฑิตยสถานย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้เองโดยตรง ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้บังคับบัญชาก่อนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง(ปรีชา - เฉลิมวณิชย์ - สมาน เวทวินิจ - สังเวียน รัตนมุง)ศาลแพ่ง นายสุเมธ อุปนิสากรศาลอุทธรณ์ นายสุทธิ นิชโรจน์
นายปริญญา ดีผดุง - ตรวจ/ย่อ
นายวิชัย วิวิตเสวี - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
สุมาลี พ/ท
ส. นายกราชบัณฑิตยสถานได้ประชุมราชบัณฑิตทุกสำนักและจัดวางระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานว่าด้วยการปฏิบัติงานทั่วไปของนายก อุปนายก และเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 (2) ประกอบมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2485 ระเบียบการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ ตามข้อ 6 ของระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าให้นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้แทนราชบัณฑิตยสถานซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้น ตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการจัดการควบคุมทบวงการเมืองโจทก์ จึงถือได้ว่าในขณะฟ้องคดีโจทก์มี บ.นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นเป็นผู้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 (เดิม)โจทก์โดย บ.นายกราชบัณฑิตยสถานย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้เองโดยตรง ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้บังคับบัญชาก่อนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง(ปรีชา - เฉลิมวณิชย์ - สมาน เวทวินิจ - สังเวียน รัตนมุง)ศาลแพ่ง นายสุเมธ อุปนิสากรศาลอุทธรณ์ นายสุทธิ นิชโรจน์
นายปริญญา ดีผดุง - ตรวจ/ย่อ
นายวิชัย วิวิตเสวี - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
สุมาลี พ/ท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีซื้อขายปุ๋ย: ทบวงการเมืองไม่ใช่พ่อค้าหรือผู้ประกอบศิลปอุตสาหกรรม
โจทก์เป็นทบวงการเมืองได้สั่งซื้อปุ๋ยจากต่างประเทศมาขายให้จำเลยในราคาถูกกว่าท้องตลาดโดยมิได้มุ่งหากำไรแต่ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อเพิ่มผลผลิตในการทำนาโจทก์จึงมิใช่พ่อค้าหรือบุคคลจำพวกประกอบศิลปอุตสาหกรรมและประกอบการค้าเพื่อหากำไรตามปกติเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าซื้อปุ๋ยจากจำเลยกรณีจึงไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความตามป.พ.พ.มาตรา165(1)และวรรคท้ายแต่อยู่ในบังคับของมาตรา164.