คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายและมีอาวุธ: การกระทำที่ต่อเนื่องตั้งแต่ลงจากรถจนถึงการข่มขู่และเอาทรัพย์
ผู้เสียหายขับรถยนต์รับจ้างสาธารณะ จำเลยกับพวกอีก 2 คนว่าจ้างให้ขับไปส่งบริเวณเกษตร เมื่อไปถึงจำเลยกับพวกให้ผู้เสียหายหยุดรถ จำเลยกับพวกลงจากรถโดยไม่ชำระค่าโดยสารอ้างว่าผู้เสียหายโกงมิเตอร์ ผู้เสียหายจึงลงจากรถและตามจำเลยกับพวกไปเพื่อทวงค่าโดยสาร จำเลยหันกลับมาชักมีดปลายแหลมยาวประมาณ 5 นิ้วออกมาจี้หลังผู้เสียหายบังคับให้ผู้เสียหายเดินเข้าไป ในบ้านที่เกิดเหตุแล้วให้ผู้เสียหายนั่งอยู่ภายในห้องในบ้าน จำเลยกับพวกเตะผู้เสียหายคนละ 1 ครั้ง กล่าวหาว่าผู้เสียหายเป็นสายลับให้เจ้าพนักงานตำรวจและพูดข่มขู่ให้ผู้เสียหายเสพเมทแอมเฟตามีน จากนั้นบังคับให้ผู้เสียหายนั่งในลักษณะคู้ตัวไปข้างหน้า ขาเหยียดตรงแล้วจึงเอานาฬิกาข้อมือและเงินสด 880 บาท ไปจากผู้เสียหาย ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ถือได้ว่าจำเลยกับพวกเอาทรัพย์ไปโดยใช้กำลังประทุษร้าย จึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 เมื่อจำเลยร่วมกระทำความผิดกับพวกอีก 2 คน โดยมีมีดเป็นอาวุธ จึงเป็นความผิดฐานร่วมกับพวกปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวไปด้วยตามมาตรา 340 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5264/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของโจร: ความรู้ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำความผิดเป็นสาระสำคัญในการลงโทษตามมาตรา 357 วรรคสอง
จำเลยรับว่ามีคนนำรถยนต์ที่ลักมาให้จำเลยเปลี่ยนเครื่องยนต์ ดังนี้ เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าขณะกระทำความผิด จำเลยได้รู้อยู่แล้วว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสอง ไม่ได้ การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 357 วรรคแรก เท่านั้น ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 357 วรรคแรก หรือฐานรับของโจรตามมาตรา 357 วรรคสอง เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6896/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์: การกระทำหลายกรรมต่างกัน
++ เรื่อง ยักยอก ++
จำเลยกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา 352 วรรคแรก โดยจำเลยกระทำผิดหน้าที่ รับชำระเงินสดหรือเช็คจากลูกค้าที่ชำระราคาค่าซื้อรถยนต์ให้แก่ผู้เสียหายรวม 8 ครั้งไว้แล้ว จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบให้ผู้เสียหายในแต่ละครั้งทันทีเมื่อจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวแต่ละครั้งเป็นของตนโดยทุจริต การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งจึงเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไป เป็นความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร: โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด
ในคดีความผิดฐานรับของโจรนั้น โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับจำนำรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ว่าเมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์ของกลางแล้วจำเลยต้องนำสืบแก้ตัวว่าตนไม่รู้ว่าเป็นของที่ได้มาจากการกระทำความผิด เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยรับจำนำรถจักรยานยนต์ของกลางโดยรู้ว่าเป็นรถจักรยานยนต์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ พยานโจทก์จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ลำพังคำรับสารภาพชั้นจับกุม แต่จำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาคดี จะนำมาฟังลงโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานรับของโจรหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7058/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในราคาประมูลซื้อทรัพย์: ความประมาทเลินเล่อของผู้ซื้อทำให้ใช้ข้อสำคัญผิดไม่ได้
ผู้ซื้อทรัพย์มีความประสงค์จะประมูลซื้อทรัพย์จำนองจริง และเป็น ผู้ประมูลซื้อทรัพย์จำนองรายนี้ได้ในราคาสูงสุด แต่มีการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์จำนองหลายรายการทำให้ผู้ซื้อทรัพย์สับสนโดยนำราคาที่จะต้องเข้าประมูลในคดีอื่นมาประมูลซื้อในคดีนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในราคาอันเป็นคุณสมบัติของทรัพย์ แต่ความสำคัญผิดของผู้ซื้อทรัพย์เกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการแสดงเจตนาเข้าประมูลซื้อทรัพย์โดยไม่ตรวจสอบราคาให้ถูกต้อง ผู้ซื้อทรัพย์จะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 จึงไม่มีเหตุที่จะยกเลิก การขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ พิจารณาจากพฤติการณ์และคำพูดของผู้กระทำ หากไม่มีเจตนาเอาทรัพย์ไปเป็นการถาวร ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
จำเลยทั้งสองว่าจ้างให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ไปส่งระหว่างทางมีการบังคับให้ผู้เสียหายเข้าไปในกระท่อมแต่ผู้เสียหายไม่ยอม จำเลยที่ 2 เอามือรัดคอผู้เสียหายและดึงเอากุญแจมาส่งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งนั่งคร่อมรถจักรยานยนต์อยู่ เมื่อมีคนขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้ามาช่วย จำเลยทั้งสองก็เอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายขับหลบหนีไป ก่อนจำเลยทั้งสองขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไปมีจำเลยคนหนึ่งพูดว่าให้ผู้เสียหายไปเอารถจักรยานยนต์คืนที่โรงเรียนวัด บ. แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองเพียงต้องการนำรถจักรยานยนต์คันที่ผู้เสียหายขับไปใช้ชั่วคราวโดยตั้งใจจะคืนให้ภายหลัง มิได้กระทำเพื่อเป็นการตัดกรรมสิทธิ์ตลอดไป จึงมิใช่เป็นการกระทำที่ถือว่าเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป อันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ การเป็นผู้เสียหายและอำนาจร้องทุกข์
จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่การเงินการบัญชีผู้รับผิดชอบเก็บรักษาเงินต่าง ๆของสหกรณ์ออมทรัพย์โจทก์ร่วม เมื่อคณะกรรมการของโจทก์ร่วมอนุมัติให้สมาชิกกู้เงินแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งมอบเงินให้แก่สมาชิก หรือเงินกู้ ตามสัญญากู้ใหม่ซึ่งจะต้องหักเงินบางส่วนชำระหนี้เก่าที่ยังค้างชำระอยู่รวมทั้งเงินของสมาชิกผู้ขอลาออกจากสมาชิกโจทก์ร่วมซึ่งโจทก์ร่วมจะต้องหักเงินของสมาชิกใช้หนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนจะอนุมัติให้ลาออกเงินเหล่านี้ล้วนยังเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วมอยู่ กรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวยังมิได้โอนไปยังสมาชิกของโจทก์ร่วมเพราะยังมิได้มีการส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่กันโดยชอบ เมื่อจำเลยยักยอกเงินดังกล่าวไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวและกรรโชกทรัพย์ ความผิดสองกรรมต่างกัน
จำเลยที่ 2 กับพวกใช้กำลังประทุษร้ายโดยล็อกคอผู้เสียหายทั้งสองให้เข้าไปนั่งในรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เป็นคนขับ แล้วจำเลยที่ 1 พูดบังคับ ขู่เข็ญให้ผู้เสียหายทั้งสองมอบเงินให้จำเลยที่ 1 กับพวกคนละ 1,000 บาท หากไม่ให้จะอยู่ในอำเภอหาดใหญ่ไม่ได้ ผู้เสียหายทั้งสองเกรงกลัวจึงยอม ตามที่จำเลยที่ 1 ขู่บังคับ และได้มอบเงิน 500 บาท ให้จำเลยที่ 3 ไป วันเดียวกัน ผู้เสียหายที่ 1 โทรศัพท์นัดหมายให้จำเลยที่ 1 มารับเงิน ส่วนที่เหลืออีก 1,500 บาท เมื่อจำเลยที่ 1 มารับเงินจึงถูกเจ้าพนักงาน ตำรวจจับกุมได้ แล้วจำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ในวันเดียวกัน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะไม่ได้มารับเงิน ส่วนที่เหลือจากผู้เสียหายทั้งสองด้วยก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แสดง ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันวางแผนและกระทำความผิด ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการเรียกร้องเงินจากผู้เสียหายทั้งสองตั้งแต่ต้น ทั้งยังร่วมกับจำเลยที่ 1 นำเงิน 500 บาท ที่ผู้เสียหายมอบให้ในวันเกิดเหตุไปใช้ในการรับประทานอาหารกันการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกดังกล่าวครบองค์ประกอบความผิดโดยร่วมกันเป็นตัวการในการกระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายทั้งสองให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายและกรรโชกผู้เสียหายทั้งสอง และการที่จำเลยทั้งสามกับพวกเอาตัวผู้เสียหายทั้งสองไปหน่วงเหนี่ยวไว้ในรถยนต์โดยเจตนาทำให้ผู้เสียหายทั้งสองปราศจากเสรีภาพในร่างกายเป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อมีการขู่เรียกเอาเงินโดยเจตนากรรโชกเอาทรัพย์จนผู้เสียหายทั้งสองยินยอมให้เงินก็เป็นความผิดฐานกรรโชกอีกกรรมหนึ่งจึงเป็นความผิดสองกรรม ไม่ใช่กระทำกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์ของพนักงานธนาคาร: ความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย มีหน้าที่รับจ่ายเงินสดแทนผู้เสียหายจำเลยมีอำนาจยึดถือเงินสดของผู้เสียหายไว้เพียงชั่วระยะเวลาทำการ พฤติการณ์เช่นนี้เป็นการที่จำเลยยึดถือเงินสดเพื่อผู้เสียหาย ผู้เสียหายหาได้ส่งมอบเงินสดให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยไม่ เมื่อจำเลยเอาเงินสดนั้นไปเป็นของตนโดยไม่มีสิทธิ อันเป็นการทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(11)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์: ลูกจ้างเบียดบังสินค้าของผู้เสียหาย แม้รับค่าคอมมิชชั่น ไม่ใช่เหตุผิดสัญญาแพ่ง
จำเลยเป็นลูกจ้างผู้เสียหายมีหน้าที่จำหน่ายสินค้า ให้แก่ลูกค้าแล้วนำเงินมามอบให้ผู้เสียหาย จำเลยรับสินค้าไปจากผู้เสียหายแล้ว มิได้นำไปจำหน่ายแก่ลูกค้า แต่นำไปจำนำ และขายฝาก เป็นการเบียดบังทรัพย์สินของผู้อื่นที่อยู่ในความครอบครอง ของจำเลยโดยทุจริต ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะเป็นลูกจ้าง ผู้เสียหายหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยครอบครองทรัพย์ ของผู้เสียหายแล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปโดยทุจริต จำเลยย่อม มีความผิดฐานยักยอกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรกฎีกาของจำเลยที่ว่า พนักงานของผู้เสียหายไม่มีเงินเดือน แต่จะได้รับรายได้จากค่าคอมมิชชั่นของการขายและเปอร์เซ็นต์ จากการขายเป็นรายเดือน จำเลยจึงไม่ใช่ลูกจ้างผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น จึงไม่เป็นสาระสำคัญ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
of 21