พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4662/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองต่างราย ยื่นคำร้องรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองที่ถูกยึดบังคับคดีแล้ว แม้เป็นนิติบุคคลเดียวกัน
ผู้ร้องกับโจทก์เป็นนิติบุคคลเดียวกัน แต่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งและเป็นเจ้าหนี้ต่างรายกับโจทก์ในคดีนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินพิพาทที่เจ้าหนี้บังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคสอง และเมื่อเป็นการจำนองโดยหนังสือสัญญาฉบับเดียวกันบุริมสิทธิของผู้ร้องและบุริมสิทธิของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกันได้ไม่เกินวงเงินจำนอง แม้สิทธิของผู้ร้องมิใช่เป็นสิทธิที่จะขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ตนก่อนโจทก์ในคดีนี้ตามมาตรา 289 วรรคหนึ่ง แต่ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนองพิพาทได้อีกเพราะที่ดินพิพาทของจำเลยตกอยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้ยึดซ้ำตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหนึ่งจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาของตนในคดีอื่นซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายสนับสนุนให้กระทำได้ดังเช่นการขอเฉลี่ยทรัพย์หรือการขอรับชำระหนี้จำนองหรือบุริมสิทธิโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาเข้ามาในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4661/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองต่างราย การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองเดียวกัน และข้อจำกัดการยึดซ้ำ
โจทก์และผู้ร้องได้ฟ้องบังคับชำระหนี้ต่างรายกันและขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยหนังสือสัญญาจำนองฉบับเดียวกันแก่ที่ดินพิพาทเป็นคนละคดีกัน แม้ผู้ร้องกับโจทก์เป็นนิติบุคคลเดียวกัน แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งและเป็นเจ้าหนี้ต่างรายกับโจทก์ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินจำนองพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง และเมื่อเป็นการจำนองโดยอาศัยหนังสือสัญญาฉบับเดียวกัน บุริมสิทธิของผู้ร้องและบุริมสิทธิของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินจำนองพิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกันได้ไม่เกินวงเงินจำนอง ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนองพิพาทได้อีกเพราะตกอยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้ยึดซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ของตนในคดีอื่นได้จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายสนับสนุน เช่น การขอเฉลี่ยทรัพย์หรือการขอรับชำระหนี้จำนองหรือบุริมสิทธิ โดยการยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาจากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินจำนองพิพาทร่วมกับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: ยึดทรัพย์เพิ่มเติมเพื่อชำระหนี้ แม้ทรัพย์จำนองมีราคาไม่เพียงพอ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยึดทรัพย์เพิ่มเติมได้
หนี้ตามคำพิพากษาคำนวณถึงวันที่โจทก์ขอยึดที่ดินพิพาททั้งต้นและดอกเบี้ยรวมมากกว่า 10,000,000 บาท แต่ทรัพย์จำนองทั้งสามแปลงมีราคาตามราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีรวมไม่ถึง 1,000,000 บาท ที่ดินพิพาทเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาที่ดิน 98,119,440 บาท แม้ปัจจุบันเป็นชื่อจำเลยที่ 3 ถือกรรมสิทธิ์รวม แต่จำเลยที่ 3 รับมรดกมาจากผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม ที่ดินจึงอยู่ในขอบเขตที่อาจถูกบังคับคดีได้ตามคำพิพากษา แม้การบังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนองก่อน หากไม่ครบจำนวนหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่น แต่การยึดทรัพย์ที่ดินพิพาทสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ยึด หากเพิกถอนการยึดโจทก์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมการยึดทรัพย์โดยไม่มีการขายอัตราร้อยละ 3.5 ซึ่งจะเป็นเงินค่าธรรมเนียมจำนวนมาก เนื่องจากจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองทั้งสามแปลงยังไม่เสร็จสิ้น ก็ยังไม่ทราบจำนวนหนี้ที่เหลือที่จะบังคับคดีต่อไป และนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณค่าธรรมเนียมได้ และจากสภาพราคาทรัพย์จำนองเป็นที่เห็นได้ว่าไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อขายทรัพย์จำนองเสร็จก็ต้องกลับมายึดที่ดินพิพาทใหม่ การยึดที่ดินพิพาทไว้แต่ยังไม่ต้องนำออกขายจนกว่ามีการขายทอดตลาดจำนองเสร็จสิ้นและได้เงินไม่พอชำระหนี้ จึงค่อยนำที่ดินพิพาทออกขายนั้นไม่ขัดต่อขั้นตอนการบังคับคดีตามคำพิพากษาและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้เลื่อนไต่สวนและคำสั่งยกคำร้องขอเป็นผู้จัดการทรัพย์จำนอง รวมถึงผลของการอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ.มาตรา307 ในระหว่างการไต่สวน จำเลยขอเลื่อนคดีหลายครั้ง จนครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นเห็นว่าพฤติการณ์ของจำเลยส่อแสดงว่าจะประวิงการบังคับคดี จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนต่อไปอีก และมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเท่ากับศาลชั้นต้นได้พิจารณาในเนื้อหาของคำร้องแล้วว่าไม่มีเหตุที่จะอนุญาตตามคำร้องของจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรานี้จำเลยย่อมอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งหรือคำพิพากษาอย่างใดแล้ว คำสั่งหรือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 307 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542 มาตรา 14
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนองเหนือทรัพย์ที่ถูกครอบครองปรปักษ์: สิทธิจำนองยังคงมีผลเหนือทรัพย์ส่วนที่ได้มาจากการครอบครองปรปักษ์
ผู้ร้องอ้างว่า เมื่อประมาณปี 2514 ผู้ร้องได้ซื้อที่ดินเนื้อที่84 ตารางเมตรพร้อมตึกแถว 2 คูหา เลขที่ 2741 ซึ่งปลูกบนที่ดินดังกล่าวอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 4783 ที่จำเลยได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์ผู้ร้องชำระราคาแล้ว ผู้ร้องและครอบครัวได้เข้าไปอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทตั้งแต่ปี 2515 แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และต่อมาผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แต่โจทก์รับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 4783 ทั้งแปลงจากจำเลยเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม2516 จึงเห็นได้ว่าโจทก์ย่อมได้สิทธิจำนองอันครอบไปถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 4783ทั้งแปลงโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วตั้งแต่ก่อนที่ผู้ร้องจะสามารถอ้างได้ว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาท สิทธิจำนองนี้เป็นสิทธิครองเหนือทรัพย์จำนองทั้งหมดด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 716 ทรัพย์ส่วนที่ผู้ร้องได้ไปโดยการครอบครองปรปักษ์นับเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์ที่จำนอง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินทั้งแปลงได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ผู้รับจำนองได้รับจำนองที่ดินและตึกแถวพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนและได้ทะเบียนจำนองโดยสุจริต ผู้ร้องซึ่งได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองที่ยังไม่ได้จดทะเบียนจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับจำนองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ราคาทรัพย์จำนองเมื่อหนี้ต่ำกว่าราคา และผลกระทบจากการขาดนัด
ที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่าทรัพย์จำนองนั้นไม่มีราคาสูงกว่าหนี้ค้างชำระคลาดเคลื่อนต่อเงื่อนไข ซึ่งกำหนดหน้าที่ของฝ่ายที่มีภาระการพิสูจน์ไว้ชัดเจนแล้วว่าผู้จำนองต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า ราคาทรัพย์สินนั้นท่วมเงินอันค้างชำระนั้นเมื่อปรากฏว่าที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์จำนอง มีราคาประมาณ 64,500 บาท แต่มีหนี้ทั้งหมดเพียง 26,290 บาท และคดีนี้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนั้นไม่ว่าฝ่ายใดจะมีภาระการพิสูจน์ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปข้อกฎหมายที่โจทก์ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิบังคับคดีจำกัดเฉพาะทรัพย์จำนองหรือไม่
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมกำหนดไว้ว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ ให้ศาลพิพากษาสั่งให้ยึดที่ดินพิพาทซึ่งจำนองไว้และให้นำออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทน โดยไม่มีข้อความว่าหากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้โจทก์ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้ด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องดำเนินการตามลำดับที่ตกลง หากยังไม่ได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง การหักบัญชีเงินฝากถือเป็นการผิดสัญญา
เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หากคู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาดังกล่าว ปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วแต่ยังขายไม่ได้ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมจำเลยจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ได้ ก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้การที่ยังขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้มิใช่กรณีขายแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ การที่จำเลยหักบัญชีเงินฝากของ จทก์ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงเป็นการปฏิบัติ นอกเหนือและผิดไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยไม่อาจทำได้ และจำเลยจะอ้างว่าเป็นการหักกลบลบหนี้ ก็มิได้เพราะโจทก์และจำเลยมีข้อสัญญาที่จะต้องปฏิบัติ ต่อกันอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องดำเนินการตามลำดับที่กำหนด หากยังไม่ได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง การหักเงินจากบัญชีฝากจึงเป็นการผิดสัญญา
โจทก์กับพวกเคยถูกจำเลยฟ้องและตกลงทำสัญญาประนีประนอม ยอมความต่อหน้าศาลว่า โจทก์กับพวกยอมร่วมกันชำระเงินจำนวน 17,188,274.38 บาท ให้แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ในต้นเงิน 13,400,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยโจทก์กับพวกจะชำระทั้งหมดภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันทำ สัญญาประนีประนอมยอมความ หากผิดนัด ยอมให้จำเลยยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอ ชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของโจทก์กับพวกชำระหนี้จนครบศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้วหากคู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด เมื่อยังขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงยังไม่เสร็จสิ้นและจะต้องดำเนินการต่อไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความและ คำพิพากษาตามยอมจำเลยจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของ โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์การที่จำเลยหักบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ตามสัญญา ประนีประนอมยอมความ จึงเป็นการปฏิบัตินอกเหนือและผิดไปจาก ที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจะอ้างว่าเป็น การหักกลบลบหนี้มิได้เพราะโจทก์และจำเลยมีข้อสัญญาที่จะต้อง ปฏิบัติต่อกันอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าใช้หนี้ไถ่ถอนจำนอง: การชำระหนี้ทั้งหมดเพื่อไถ่ถอนทรัพย์
จำเลยในคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องบังคับยึดทรัพย์จำนองรวมถึงทรัพย์พิพาทในคดีนี้ให้บริษัท ส.ชำระหนี้จำนองโดยการขายทอดตลาดรวมทั้งทรัพย์พิพาทตามที่บริษัท ส.เป็นลูกหนี้อยู่ ดังนั้น เมื่อโจทก์อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทที่อาจจะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในการที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาท หากปล่อยให้จำเลยบังคับคดีโดยการขายทอดตลาด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้ให้จำเลยแทนบริษัท ส.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 230
หนี้จำนองที่บริษัท ส.มีต่อจำเลยในคดีนี้ยังมีเหลืออยู่อีกจำนวน5,396,629.37 บาท แต่มีทรัพย์จำนองเป็นประกันในการชำระหนี้คือที่ดินพิพาทแปลงนี้เหลืออยู่เพียงแปลงเดียว การที่จะบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนอง จึงต้องเป็นการชำระหนี้ทั้งหมดที่บริษัท ส.เป็นหนี้จำเลยอยู่ คือจำนวน 5,396,629.37 บาทโจทก์จะบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองเพียงจำนวน 386,784.60 บาทหาได้ไม่ ทั้งนี้ตามนัย ป.พ.พ.มาตรา 716 และ 717 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับไถ่ถอนจำนองจากโจทก์ต่ำกว่าหนี้ที่จำเลยเป็นเจ้าหนี้อยู่ได้
หนี้จำนองที่บริษัท ส.มีต่อจำเลยในคดีนี้ยังมีเหลืออยู่อีกจำนวน5,396,629.37 บาท แต่มีทรัพย์จำนองเป็นประกันในการชำระหนี้คือที่ดินพิพาทแปลงนี้เหลืออยู่เพียงแปลงเดียว การที่จะบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนอง จึงต้องเป็นการชำระหนี้ทั้งหมดที่บริษัท ส.เป็นหนี้จำเลยอยู่ คือจำนวน 5,396,629.37 บาทโจทก์จะบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองเพียงจำนวน 386,784.60 บาทหาได้ไม่ ทั้งนี้ตามนัย ป.พ.พ.มาตรา 716 และ 717 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับไถ่ถอนจำนองจากโจทก์ต่ำกว่าหนี้ที่จำเลยเป็นเจ้าหนี้อยู่ได้