คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์สาธารณะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์พระพุทธรูปที่ไม่เป็นทรัพย์สาธารณะ: เปลี่ยนข้อหาจาก 335 ทวิ เป็น 335(1)(7)(9)
พระพุทธรูปองค์ที่หายไปเป็นพระที่ ต. ขุดพบที่จอมปลวกแห่งหนึ่งห่างจากวัดร่องขุ่นไปประมาณ 1 กิโลเมตร เมื่อปี 2475ขณะ ต.บวชเณรอยู่ที่วัดร่องขุ่นต. นำมาให้เจ้าอาวาสวัดร่องขุ่นในขณะนั้นเก็บไว้ หลังเจ้าอาวาสรูปนั้นมรณภาพแล้วต. ได้นำไปเก็บไว้ที่บ้านของตน จนปี 2519 จึงนำมาเก็บไว้ใต้ฐานเจดีย์ที่เกิดเหตุ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 ทวิ วรรคแรก แม้จำเลยที่ 2 กับพวกจะลักพระพุทธรูปดังกล่าวในวัดก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสอง และกรณีเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1และที่ 3 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและการพิพากษาคดีทำให้เสียทรัพย์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สาธารณะ
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358, 360 เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 358 ได้ ส่วนกรณีตามมาตรา 360 ไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 7 ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องในส่วนนี้เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำให้เสียทรัพย์ vs. ความเสียหายต่อทรัพย์สาธารณะ: การปิดกั้นการซ่อมทำนบไม่ถือเป็นการทำลายทรัพย์
ในข้อหาฐานทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 360 นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องในข้อหาฐานนี้มีผลเป็นการพิพากษากลับ โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
การที่จำเลยใช้ฝาเฝือกปิดกั้น ทำให้ซ่อมทำนบที่พังไม่ได้ เป็นเหตุให้น้ำในลำห้วยไม่มีใช้เมื่อถึงหน้าแล้งทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน เช่นนี้ยังไม่มีลักษณะเป็นการทำลายทำให้เสื่อมสภาพที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่มีไว้เพื่อสารธารณประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจให้เช่าทรัพย์สาธารณะ & ความรับผิดของผู้ลงชื่อสัญญาแม้ห้างเลิก & เจตนาปิดบัง
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของสวนลุมพินีซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกให้เป็นวนะสาธารณ์สำหรับประชาชนอยู่ในความดูแลรักษาของกรมนคราทร กระทรวงมหาดไทย เทศบาลนครกรุงเทพ โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชนพักผ่อนหย่อนใจดังนั้นเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ย่อมมีสิทธิเอาที่พิพาทให้เช่าเพื่อหารายได้มาใช้จ่ายปรับปรุงสวนลุมพินีให้อยู่ในสภาพเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิมได้ ไม่ขัดพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญาเช่ากับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯ โดยไม่มีการชำระบัญชีแต่ในการต่อสัญญาปีต่อ ๆ มา จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วก็ยังใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่ากับโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเหล่านั้นในฐานะผู้จัดการและดำเนินกิจการค้าและใช้ที่ดินที่เช่าเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ตามวัตถุประสงค์เดิมตลอดมาเป็นเวลาหลายปี เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาในปี 2513 จำเลยที่ 2 ก็ได้ติดต่อกับโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และอาศัยชื่อจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1 อยู่เช่นเดิม หาได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วไม่พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาปิดบังแอบอ้างอาศัยใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์เพื่อกิจการค้าของจำเลยที่ 2 หรือเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 เองดังนั้นแม้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯ แล้วก็ตามแต่สัญญานั้นก็ยังมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นผู้ลงชื่อในสัญญานั้นจำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำลายทรัพย์สาธารณะ: เจตนาทำลายหรือทำให้เสียหาย แม้มีเจตนาอื่น ย่อมถือว่ามีเจตนาตามกฎหมาย
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบังอาจทำลายทรัพย์ที่ใช้และมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยจำเลยขุดดินทำร่องน้ำ ทำคันนากั้นน้ำ แล้วปักดำข้าวลงในที่สาธารณประโยชน์ ชื่อ "กุดบ้านลาด" เป็นเหตุให้ประชาชนผู้มีสิทธิที่จะใช้ที่สาธารณประโยชน์ เสียหายไร้ประโยชน์ที่จะใช้ร่วมกัน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 เป็นการแสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ได้ฟ้องหาว่าจำเลยทำลาย ทำให้เสียหาย และทำให้ไร้ประโยชน์อันครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 แล้ว
กระทำโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสอง หมายถึงบุคคลกระทำโดยตั้งใจและประกอบด้วยประสงค์ต่อผลอย่างหนึ่งหรืออาจเล็งเห็นผลจากการกระทำนั้นอีกอย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลกระทำการใดโดยตั้งใจ แม้ประสงค์ต่อผลอย่างอื่น แต่บุคคลนั้นอาจเล็งเห็นผลจะพึงบังเกิดขึ้นจากการกระทำของตนว่าจะบังเกิดผลอย่างใดแล้ว ก็ถือได้ว่า ผู้นั้นเจตนาต่อการกระทำอันจะบังเกิดผลเช่นนั้น
จำเลยมุ่งประสงค์ต่อการทำนาในหนองน้ำสาธารณะ แต่การกระทำของจำเลยเป็นการทำลายหรือทำให้เสียหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งหนองน้ำ ซึ่งจำเลยย่อมเล็งเห็นผลที่จะบังเกิดขึ้นดังกล่าว ดังนี้ถือได้ว่า จำเลยมีเจตนาทำลายหรือทำให้เสียหาย หรือไร้ประโยชน์ซึ่งหนองน้ำนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสร้างสิ่งกีดขวางบนทางเดินส่วนตัวที่ดินแบ่งแยก ไม่ถือเป็นความผิดต่อทรัพย์สาธารณะ
ที่ดินของจำเลยและที่ดินของผู้เสียหายกับที่ดินแปลงอื่นแบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงใหญ่ โดยตกลงให้มีการกันที่ดินทุกแปลงเป็นทางเดินเพื่อออกสู่ซอยราชดำเนิน 3 เพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินในกลุ่มนี้และผู้รับโอนเท่านั้น ไม่ปรากฏว่ามีการจดทะเบียนแบ่งแยกยกให้เป็นทางสาธารณะ แม้บุคคลทั่วไปจะใช้สัญจรไปมาได้ ทางที่กันไว้ก็ไม่ใช่ทางสาธารณะ เมื่อจำเลยสร้างรั้วคอนกรีตและท่อระบายน้ำบนทางเดินดังกล่าวในที่ดินของจำเลยซึ่งไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ จำเลยย่อมไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 360 และ ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1), 108 ทวิ วรรคสอง