พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6653/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน – การซื้อขาย – ทางจำเป็น – ทรัพยสิทธิไม่บริบูรณ์ – ผลกระทบต่อผู้ซื้อ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกัน โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางออกสู่ทางหลวงได้ตลอดไปแต่ไม่มีการจดทะเบียนข้อตกลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการที่โจทก์ได้มาโดยนิติกรรมซึ่งทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ใช้ทางในที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยโจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ใช้ที่ดินพิพาทอย่างเป็นทางจำเป็น ทั้งในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาและเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ทำละเมิดต่อโจทก์ มิใช่เป็นเรื่องฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอให้เปิดทางจำเป็น ไม่จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก จึงฟังไม่ขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ใช้ทางในที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยโจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ใช้ที่ดินพิพาทอย่างเป็นทางจำเป็น ทั้งในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาและเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ทำละเมิดต่อโจทก์ มิใช่เป็นเรื่องฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอให้เปิดทางจำเป็น ไม่จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก จึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลสิทธิ vs. ทรัพย์สิทธิ: การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินเมื่อมีสัญญาจะซื้อจะขายก่อน
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ ตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินเอกสารท้ายฟ้องต่อมาจำเลยที่ 1 กลับจดทะเบียนโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ใช้อำนาจปกครอง เป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 นั้น เมื่อสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งมีสิทธิเพียงที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปทำการโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้น โจทก์หามีทรัพย์สิทธิที่จะไปบังคับแก่จำเลยที่ 4 ผู้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่ ดังนี้โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลสิทธิ vs. ทรัพย์สิทธิ และอำนาจฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ ตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินเอกสารท้ายฟ้อง ต่อมาจำเลยที่ 1 กลับจดทะเบียนโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 นั้น เมื่อสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งมีสิทธิเพียงที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปทำการโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้น โจทก์หามีทรัพย์สิทธิที่จะไปบังคับแก่จำเลยที่ 4 ผู้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่ ดังนี้โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลสิทธิ vs. ทรัพย์สิทธิ: อำนาจฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดิน
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยที่1ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินเอกสารท้ายฟ้องต่อมาจำเลยที่1กลับจดทะเบียนโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่4โดยความยินยอมของจำเลยที่2และที่3ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่4นั้นเมื่อสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งมีสิทธิเพียงที่จะบังคับให้จำเลยที่1ไปทำการโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้นโจทก์หามีทรัพย์สิทธิที่จะไปบังคับแก่จำเลยที่4ผู้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากจำเลยที่1แต่อย่างใดไม่ดังนี้โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ถอนขายฝากภายในกำหนดเวลา ไม่ขาดอายุความ แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
เมื่อโจทก์ได้ไถ่ถอนการขายฝากที่ดินภายในกำหนดเวลาตามสัญญาขายฝากแล้ว คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะการจดทะเบียนไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นเพียงการทำให้การกลับคืนมาซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดินบริบูรณ์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ไม่ได้จดทะเบียน และผลกระทบต่อผู้รับโอนทรัพย์สิทธิ สัญญาเช่าระยะเวลาเกิน 3 ปีมีผลบังคับใช้แค่ 3 ปี
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดอายุการเช่า 10 ปี แต่มิได้จดทะเบียนการเช่า แม้จะเป็นการตอบแทนกับผู้ที่เช่าออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนในกรณีพิเศษนอกเหนือจากสัญญาเช่าธรรมดาก็ตาม ก็เป็นบุคคลสิทธิผูกพันระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันเจ้าของผู้รับโอนตึกนั้นไปภายหลัง
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 7 ปี ซึ่งมิได้จดทะเบียนการเช่าแต่แบ่งทำเป็น 3 ฉบับในคราวเดียวกันฉบับละ 3 ปี และฉบับที่ 3 มีกำหนด 1 ปีก็ถือว่ามีผลใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น.
จำเลยฎีกาว่าใช้ตึกพิพาทเป็นที่อยู่อาศัย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แม้จะปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ก็ตาม เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 7 ปี ซึ่งมิได้จดทะเบียนการเช่าแต่แบ่งทำเป็น 3 ฉบับในคราวเดียวกันฉบับละ 3 ปี และฉบับที่ 3 มีกำหนด 1 ปีก็ถือว่ามีผลใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น.
จำเลยฎีกาว่าใช้ตึกพิพาทเป็นที่อยู่อาศัย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แม้จะปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ก็ตาม เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดินเป็นทรัพย์สิทธิที่ต้องจดทะเบียน เพื่อให้มีผลผูกพันต่อบุคคลภายนอก
สิทธิเหนือพื้นดินเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่งซึ่งจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์มีสิทธิสร้างบ้านในที่ดินของบุคคลอื่นตามที่เจ้าของอนุญาต แต่มิได้จดทะเบียนสิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์จึงไม่สิทธิเหนือพื้นดินที่สร้างบ้านนั้น และไม่มีทรัพย์สิทธิอย่างใดในที่ดินนั้น เมื่อบ้านที่โจทก์สร้างไว้ตกเป็นของจำเลย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิอะไรที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อบ้านออกไปจากที่ดินนั้น
โจทก์มีสิทธิสร้างบ้านในที่ดินของบุคคลอื่นตามที่เจ้าของอนุญาต แต่มิได้จดทะเบียนสิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์จึงไม่สิทธิเหนือพื้นดินที่สร้างบ้านนั้น และไม่มีทรัพย์สิทธิอย่างใดในที่ดินนั้น เมื่อบ้านที่โจทก์สร้างไว้ตกเป็นของจำเลย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิอะไรที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อบ้านออกไปจากที่ดินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ต้องมีทรัพย์สิทธิเหนือทรัพย์สินลูกหนี้ การยึดโฉนดหรือระบุทรัพย์ในสัญญาไม่ถือเป็นประกัน
เจ้าหนี้มีประกันตามความหมายของมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้น ต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มีทรัพย์สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือมีสิทธิยึดหน่วงหรือมีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ
การที่โจทก์เจ้าหนี้เพียงแต่ยึดโฉนดไว้ โดยไม่ได้ไปทำจำนองกันโดยถูกต้อง และเครื่องจักรที่ระบุไว้ในสัญญานั้นจำเลยลูกหนี้ก็ยังคงครอบครองใช้สอยอยู่โดยไม่ได้ส่งมอบให้โจทก์เจ้าหนี้ยึดไว้แต่ประการใด ดังนี้ โจทก์เจ้าหนี้ย่อมไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีประกันตามความหมายในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
การที่โจทก์เจ้าหนี้เพียงแต่ยึดโฉนดไว้ โดยไม่ได้ไปทำจำนองกันโดยถูกต้อง และเครื่องจักรที่ระบุไว้ในสัญญานั้นจำเลยลูกหนี้ก็ยังคงครอบครองใช้สอยอยู่โดยไม่ได้ส่งมอบให้โจทก์เจ้าหนี้ยึดไว้แต่ประการใด ดังนี้ โจทก์เจ้าหนี้ย่อมไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีประกันตามความหมายในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงบุคคลสิทธิ ไม่ใช่ทรัพย์สิทธิ จึงไม่สามารถเพิกถอนการจดทะเบียนได้
สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายอสังหาาริมทรัพย์นั้น เป็นเพียงบุคคลสิทธิ ไม่ใช่ทรัพย์สิทธิซึ่งจะติดตามตัวทรัพย์เอากลับคืนจากบุคคลภายนอกได้และไม่เป็นสิทธิที่จะจดทะิบียนได้ จึงไม่มีสิทธิที่จะจดทะเบียนได้ จึงไม่มีสิทธิจะฟ้องร้องให้เพิกถอนการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ตามมาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นบุคคลสิทธิ ไม่ใช่ทรัพย์สิทธิ จึงไม่สามารถเพิกถอนการจดทะเบียนให้บุคคลภายนอกได้
สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นเพียงบุคคลสิทธิ ไม่ใช่ทรัพย์สิทธิซึ่งจะติดตามตัวทรัพย์เอากลับคืนจากบุคคลภายนอกได้และไม่เป็นสิทธิที่จะจดทะเบียนได้ จึงไม่มีสิทธิจะฟ้องร้องให้เพิกถอนการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้วตามมาตรา1300