คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินวัดและสำนักงานทรัพย์สินฯ: ครอบครองปรปักษ์ไม่ได้
ที่วัดที่ธรณีสงฆ์และที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้ใดจะครอบครองปรปักษ์มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลวินิจฉัยสถานะทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ และการเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราจอง
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 มาตรา 4 ได้แบ่งทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์เป็น 3 ประเภท คือทรัพย์สินส่วนพระองค์ ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาตรา 5 บัญญัติว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (เว้นเครื่องอุปโภคบริโภค) ให้อยู่ในความดูแลรักษาและจัดหาประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อที่ดินมีตราจองในคดีนี้ยังอยู่ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่สำนักงานทรัพย์สินสวนพระมหากษัตริย์ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อยู่ในความดูแลของผู้ร้องแล้วจึงมีปัญหาว่าที่ดินตามตราจองนี้เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หรือไม่ การวินิจฉัยปัญหานี้เป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัยเจ้าพนักงานที่ดินไม่มีอำนาจเปลี่ยนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตรา จองมาเป็นนามผู้ร้องได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเปลี่ยนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตราจองจากพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ มาเป็นนามของผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ เพื่อผู้ร้องจะได้ดำเนินการขอเปลี่ยนจากตราจองเป็นโฉนดต่อไปได้
ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไม่ใช่ทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ร้อง การที่ผู้ร้องขอให้ลงชื่อผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์นั้นเป็นการขอถือกรรมสิทธิ์แทนพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ในการจัด การทรัพย์สิน จึงไม่ใช่การจดทะเบียนสิทธิการได้มาซึ่งที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 เจ้าพนักงานที่ดินจะอาศัยบทกฎหมายดังกล่าวจดทะเบียนลงชื่อผู้ร้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการจัดการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์: การเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์จากพระปรมาภิไธยเป็นสำนักงานทรัพย์สินฯ
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479มาตรา 4 ได้แบ่งทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์เป็น 3 ประเภทคือทรัพย์สินส่วนพระองค์ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินและทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มาตรา 5 บัญญัติว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (เว้นเครื่องอุปโภคบริโภค) ให้อยู่ในความดูแลรักษาและจัดหาประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อที่ดินมีตราจองในคดีนี้ยังอยู่ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อยู่ในความดูแลของผู้ร้องแล้วจึงมีปัญหาว่าที่ดินตามตราจองนี้เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หรือไม่ การวินิจฉัยปัญหานี้เป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัย เจ้าพนักงานที่ดินไม่มีอำนาจเปลี่ยนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราจองมาเป็นนามผู้ร้องได้ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเปลี่ยนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตราจองจากพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ มาเป็นนามของผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ เพื่อผู้ร้องจะได้ดำเนินการขอเปลี่ยนจากตราจองเป็นโฉนดต่อไปได้
ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไม่ใช่ทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ร้องการที่ผู้ร้องขอให้ลงชื่อผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์นั้น เป็นการขอถือกรรมสิทธิ์แทนพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์สิน จึงไม่ใช่การจดทะเบียนสิทธิการได้มาซึ่งที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 เจ้าพนักงานที่ดินจะอาศัยบทกฎหมายดังกล่าวจดทะเบียนลงชื่อผู้ร้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เป็นทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ ผู้ร้องมีสิทธิขอคำสั่งศาลเพื่อดำเนินการจัดการทรัพย์สิน
คำว่า 'หนี้' ที่บัญญัติไว้ในตอนต้นของมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มิได้หมายถึงเฉพาะหนี้เงินเท่านั้นแต่ยังรวมถึงหนี้อื่นๆ ด้วย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาขายที่ดินมีโฉนดให้แก่โจทก์โจทก์เข้าครอบครองที่ดินนั้นและชำระราคาครบถ้วนแล้ว เหลือแต่การโอนโฉนด โจทก์ย่อมได้ชื่อว่าอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อน โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้แน่นอนของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งจำเลยทั้งสองมีหนี้ที่จะต้องโอนที่ดินให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 กลับโอนขายที่ดินนั้นให้จำเลยที่ 3 ไปเสีย โดยจำเลยทั้งสามทราบอยู่แล้วว่า โจทก์กำลังจะฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 แต่ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นผู้มีทรัพย์สินมากพอที่จะชำระหนี้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ แม้หนี้สินอื่นที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่เป็นจำนวนมาก จำเลยก็ชำระให้โดยไม่บิดพลิ้ว การที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์นั้น เป็นเพราะโจทก์กับจำเลยแปลความในสัญญากันคนละทาง มิใช่เพราะมีเจตนาที่จะไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จึงเป็นเรื่องผิดสัญญาในทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดทางอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ และจำเลยที่ 3 ผู้รับซื้อที่ดินนั้นไว้ ก็ย่อมไม่มีความผิดทางอาญาดุจกัน (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2517 และครั้งที่ 2/2518)