คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์สินร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมและการใช้ทรัพย์สินร่วมกัน การก่อสร้างโดยไม่ยินยอมกระทบสิทธิผู้อื่น
ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ" ดังนั้นเมื่อที่ดินกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยังไม่มีการแบ่งแยกการครอบครองออกเป็นส่วนสัด การใช้ทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยที่ 1 จึงต้องเป็นการใช้ที่ไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ ที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารโดยเลือกบริเวณติดถนนสุขุมวิท โดยไม่ได้รับความยินยอมของเจ้าของรวมคนอื่นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกสำหรับทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่ร่วมกันและสิทธิทายาทลำดับที่ 2
ผู้ร้องที่ 2 และผู้คัดค้านต่างขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายคดีจึงมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยเพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องที่ 2 หรือผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่โต้เถียงกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้นศาลไม่อาจก้าวล่วงไปวินิจฉัยได้ ผู้ร้องที่ 2 และผู้คัดค้านชอบที่จะไปดำเนินคดีเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ทั้งนี้ทายาทที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1713 หมายความถึงทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกหรือผู้มีส่วนได้เสีย แม้ผู้ร้องที่ 2 เป็นภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแต่ได้อยู่กินร่วมกันจนผู้ตายถึงแก่ความตาย เมื่อมีทรัพย์สินได้มาในระหว่างนั้น ย่อมถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้ร้องที่ 2 จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1713 ส่วนผู้คัดค้นซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายเป็นทายาทลำดับที่ 2 แต่ก็มีสิทธิรับมรดกเสมือนทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1630 วรรคสอง ศาลจึงตั้งบุคคลทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน เพื่อความเป็นธรรมแก่ทายาททุกฝ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน: การยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดไม่ใช่การบังคับคดีตามปกติ
ศาลฎีกาพิพากษาว่าโจทก์ทั้งสามกับจำเลยมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาทและให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม หากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และหากไม่สามารถแบ่งแยกได้ให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยตามส่วน ซึ่งต่อมาการแบ่งแยกที่ดินไม่อาจทำได้ โจทก์ทั้งสามในฐานะผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งแก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยตามส่วนดังกล่าว ซึ่งการยึดทรัพย์กรณีนี้มิใช่การร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่เป็นการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้มีสิทธิร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสอง ผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593-1594/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินร่วม การครอบครอง และการโอนที่ดิน การซื้อขายที่ไม่ได้ทำตามแบบ และสิทธิการฟ้องเพิกถอน
ทรัพย์สินพิพาทได้มาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยาต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันโดยไม่อาจแยกได้ว่าฝ่ายใดประกอบอาชีพมีรายได้มากน้อยแตกต่างกันอย่างไรการที่จำเลยที่ 1 มีรายได้มากก็เนื่องจากโจทก์ทำหน้าที่เป็นแม่บ้านดูแลโจทก์จึงเป็นเจ้าของรวมทรัพย์สินพิพาทด้วย และสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1357
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ไม่ทำตามแบบ จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 3 และศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ให้การต่อสู้ไว้ก็ยกขึ้นฎีกาได้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาท (น.ส.3 ก.) จากจำเลยที่ 3แล้วได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยตลอดมา แสดงว่าจำเลยที่ 3 โอนการครอบครอง และโจทก์กับจำเลยที่ 1 เข้ายึดถือโดยเจตนายึดถือเพื่อตนจึงได้สิทธิครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 3 เมื่อโอนการครอบครองแล้วก็สิ้นสิทธิครอบครอง การที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ทำให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิใด ๆ แต่กลับเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 แบ่งเงินและทรัพย์สินให้โจทก์กึ่งหนึ่งและให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน น.ส.3 ก. ระหว่างจำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้โจทก์กึ่งหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโดยโจทก์มิได้มีคำขอนั้นเป็นการรับรองสิทธิของโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทเสียก่อนที่จะนำไปสู่การบังคับให้จำเลยที่ 1 แบ่งให้โจทก์จึงไม่เป็นการเกินคำขอ แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ มิฉะนั้นให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของหนังสือ น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 3 ไม่มีหน้าที่ต้องดำเนินการทางทะเบียนให้จึงบังคับให้ตามคำขอในส่วนนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8195/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการมรดก: ภริยาโดยชอบธรรมมีสิทธิมากกว่าผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินร่วม
แม้ผู้คัดค้านและผู้ตายจะมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันโดยต่างมีส่วนในทรัพย์สินดังกล่าวในฐานะเจ้าของรวม แต่เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินเหล่านั้นย่อมตกเป็นของผู้คัดค้านส่วนหนึ่งและตกเป็นมรดกของผู้ตายที่จะต้องเอามาแบ่งให้แก่ทายาทของผู้ตายอีกส่วนหนึ่ง ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายโดยตรงจึงสมควรได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้มีสิทธิเฉพาะในทรัพย์สินที่เป็นของผู้คัดค้านและผู้ตายแต่ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายเลย จึงไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือครองกรรมสิทธิ์ร่วมโดยสุจริต และสิทธิในการขอแบ่งทรัพย์สินร่วม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตดังนั้นการที่โจทก์และร. เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยสุจริตเมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์หลอกลวงร. ให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมแต่พยานหลักฐานจำเลยไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้จึงถือว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินและบ้านพิพาทร. มารดาของจำเลยเป็นผู้ซื้อและใช้เงินตนเองเท่านั้นการที่จำเลยนำสืบและอุทธรณ์ว่าเงินที่ใช้ซื้อที่ดินและบ้านเป็นของจำเลยส่วนหนึ่งด้วยจึงเป็นการนำสืบและอุทธรณ์นอกคำให้การ โจทก์และมารดาจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยโจทก์รับโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทมาโดยสุจริตทั้งไม่ได้มีนิติกรรมห้ามไม่ให้แบ่งโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1363วรรคแรก โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมห้ามมิให้แบ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งแยกที่ดินและตึกแถวพิพาทได้และก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์และจำเลยไปพบพนักงานสอบสวนแล้วบันทึกลงประจำวันไว้เป็นหลักฐานว่าผู้แจ้งทั้งสองมีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ร้อยตำรวจเอกส.พยายามไกล่เกลี่ยแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ทั้งสองฝ่ายตกลงไปฟ้องร้องกันต่อศาลแพ่งเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้ใดมีกรรมสิทธิ์กรณีเช่นนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55โดยไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวขอแบ่งแยกไปยังจำเลยแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5274/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในมรดก แม้หย่าแล้ว แต่มีทรัพย์สินร่วมกัน ย่อมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
แม้การจดทะเบียนหย่าจะทำให้ผู้คัดค้านที่3มิใช่ทายาทของผู้ตายแต่เมื่อผู้คัดค้านที่3ยังมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตายผู้คัดค้านที่3จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713 กฎหมายมิได้บัญญัติบังคับว่าผู้ยื่นคำร้องจะต้องขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกเพียงแต่บังคับว่าผู้ยื่นคำร้องจะต้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียจึงจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอและจะขอให้ศาลตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกก็ต้องให้ผู้นั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการไม่คืนสินส่วนตัวและทรัพย์สินร่วม, การคิดดอกเบี้ยในราคาทรัพย์
สินสอดที่เป็นทองรูปพรรณหนัก 12 บาท และของหมั้นรวม 5รายการ เป็นสินส่วนตัวของโจทก์อยู่แล้ว เมื่อโจทก์ขอคืนแต่จำเลยไม่ยอมคืน โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ย แต่หนี้ส่งมอบทรัพย์ดังกล่าวคืนโจทก์ไม่ใช่หนี้เงิน จึงคิดดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดถึงวันฟ้องไม่ได้ ต้องคิดดอกเบี้ยในราคาทรัพย์นับแต่วันฟ้อง ส่วนสร้อยคอกับสร้อยข้อมือที่ได้มาในวันแต่งงานนั้น เป็นทรัพย์ที่โจทก์กับจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกันตั้งแต่ก่อนวันฟ้อง หากมีการใช้ราคา โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในราคาทรัพย์นับแต่วันฟ้องเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากการไม่คืนสินส่วนตัวและทรัพย์สินร่วม กรณีสามีภริยาแยกกันอยู่
สินสอดที่เป็นทองรูปพรรณหนัก 12 บาท และของหมั้นรวม 5 รายการเป็นสินส่วนตัวของโจทก์อยู่แล้ว เมื่อโจทก์ขอคืนแต่จำเลยไม่ยอมคืนโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ย แต่หนี้ส่งมอบทรัพย์ดังกล่าวคืนโจทก์ไม่ใช่หนี้เงิน จึงคิดดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดถึงวันฟ้องไม่ได้ต้องคิดดอกเบี้ยในราคาทรัพย์นับแต่วันฟ้อง ส่วนสร้อยคอกับสร้อยข้อมือที่ได้มาในวันแต่งงานนั้น เป็นทรัพย์ที่โจทก์กับจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกันตั้งแต่ก่อนวันฟ้อง หากมีการใช้ราคา โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในราคาทรัพย์นับแต่วันฟ้องเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าของรวม (แม้เป็นพระภิกษุ) ในการเรียกร้องแบ่งทรัพย์สินร่วม
โจทก์ฟ้องว่าหลังจาก ห. ตาย โจทก์และ ล. ได้รับมรดกที่พิพาทและร่วมกันครอบครองโดยมิได้แบ่งแยก ต่อมาโจทก์ไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และ ล. ตาย จำเลยซึ่งเป็นบุตรของ ล. ไปขอออกน.ส. 3 ก. เป็นของตนฝ่ายเดียว ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยแบ่งที่ พิพาทให้ เป็นกรณีโจทก์ฟ้องในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของรวมมิใช่ ในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมเรียกร้องเอาทรัพย์มรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1622เพราะเมื่อ ห. ตาย โจทก์ และ ล. ได้รับมรดก มาแล้ว ที่พิพาทจึงมิใช่มรดกของ ห.อีกต่อไป แต่เป็นทรัพย์สินร่วมกันของโจทก์และ ล.เมื่อจำเลยไม่ยอมแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ไม่มีกฎหมายห้ามฟ้อง.
of 7