คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์สินร่วมกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาคดีทรัพย์สินร่วมกันของสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยฟ้องแย้งขอให้แบ่งเงิน 4,000,000 บาท โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกันระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ จึงถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่พิพาทตามฟ้องแย้ง เมื่อโจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีการนำเงิน 4,000,000 บาท ไปฝากที่สถาบันการเงินต่าง ๆ ครั้งสุดท้ายนำไปฝากที่บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ในนามของจำเลย ต่อมาเมื่อปี 2546 ได้มีการเปลี่ยนชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นชื่อของโจทก์ และโจทก์ได้เบิกถอนเงิน 4,000,000 บาท จากบริษัทเงินทุน หากในที่สุดแล้วศาลพิพากษาให้แบ่งเงินแก่จำเลยกึ่งหนึ่ง จำเลยก็จะได้ประโยชน์จากการที่ศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองประโยชน์ตามคำร้องของจำเลย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างพิจารณาโดยให้โจทก์นำเงินจำนวน 2,000,000 บาท มาวางต่อศาลชั้นต้นชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8647/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อมีทรัพย์สินร่วมกันและเจ้ามรดกมีภูมิลำเนาต่างกัน
ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้ศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อ อ. และ ก. เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดมหาสารคามอันเป็นศาลชั้นต้นในขณะที่ถึงแก่ความตายการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของบุคคลทั้งสองไว้เพื่อทำการไต่สวนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ผู้ร้องอาจใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ป. เป็นอีกคดีหนึ่งได้ที่ศาลจังหวัดหนองคาย อันเป็นศาลที่ ป. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงเบื้องต้นปรากฏจากคำร้องขอว่า เจ้ามรดกทั้งสามราย คือ อ. ก. และ ป. มีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกัน คือ ที่ดิน น.ส. 3. ซึ่งตั้งอยู่จังหวัดมหาสารคามโดยเจ้ามรดก 2 ราย คือ อ. และ ก. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดมหาสารคาม ในขณะที่ถึงแก่ความตายย่อมถือได้ว่าคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่พิจารณารวมกันได้ ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ป. ผู้ตายต่อศาลจังหวัดมหาสารคาม โดยอาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 5 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าทรัพย์สินร่วมกัน: แม้ลงชื่อเช่าเพียงคนเดียว สิทธิยังเป็นของทั้งสองฝ่าย
โจทก์จำเลยแต่งงานกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส หลังจากนั้นได้เช่าร้านพิพาทพักอาศัย และร่วมทำการค้าในร้านพิพาทด้วยกันเรื่อยมา ดังนั้น สิทธิการเช่าร้านพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของโจทก์จำเลยร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสหลังหย่า: ทรัพย์สินยังเป็นของร่วมกันจนกว่าจะแบ่ง
ฎีกาของผู้ร้องทั้งสองโต้แย้งเพียงว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียว ผู้ร้องที่ 2 มิได้โต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 2 ด้วย ข้อโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องที่ 2จึงยุติเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เพราะในชั้นอุทธรณ์ผู้ร้องที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 2 ดังนั้น ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียว ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 1เมื่อผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันโดยยังไม่มีการแบ่งสินสมรส ทรัพย์พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน หาใช่ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ 1แต่ผู้เดียวไม่ ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มรดกตกทอด การแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน และค่าเสียหายจากการกีดกันการทำกิน
ที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดแต่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองและพระภิกษุ ส. ผู้เป็นทายาท และนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ยังอยู่ภายในอายุความที่พระภิกษุ ส.จะสึกจากสมณเพศมาเรียกร้องขอแบ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622 ดังนี้ ต้องแบ่งที่พิพาทออกเป็น 5 ส่วน โจทก์ได้คนละ 1 ใน 5
เมื่อยังไม่ได้แบ่งที่พิพาทกัน โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง และส.เป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกัน โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งที่พิพาทให้และเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่จำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำนาตั้งแต่พ.ศ. 2517 ทำให้โจทก์ขาดรายได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งนาพิพาทให้โจทก์ทั้งสองกึ่งหนึ่ง และให้ใช้ค่าเสียหายปีละ 1,500 บาท นับแต่ปี 2516 จนถึงปีที่จำเลยยอมแบ่งนาให้โจทก์ จำเลยมิได้ฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ เพราะการที่จำเลยเข้าทำนาในที่พิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ คงฎีกาเพียงว่าที่ศาลอุทธรณ์ให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตั้งแต่ปี 2516 เป็นการพิพากษาเกินคำขอเท่านั้น จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในทรัพย์สินร่วมกันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อผู้ซื้อโดยสุจริต
เจ้าของสวนยางร่วมกันคนหนึ่ง ยกส่วนของตนตีใช้หนี้แก่อีกคนหนึ่ง โดยมิได้จดทะเบียน ภายหลังผู้ที่รับตีใช้หนี้โอนขายสวนยาง ผู้ซื้อรับซื้อไว้โดยสุจริต ดังนี้ เจ้าของเดิมมาฟ้องเรียกสวนยางคืนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน โดยพิจารณาการครอบครองเป็นส่วนสัดและการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกับจำเลย ขอให้ศาลแบ่งครึ่งระหว่างโจทก์จำเลย จำเลยว่าได้ปกครองเป็นส่วนสัดขอให้แบ่งตามส่วนที่ปกครองมา ศาลฎีกาเห็นว่าในที่พิพาทมีทั้งที่ ที่ปลูกบ้านและที่สวนสำหรับที่บ้านโจทก์จำเลยปกครองเป็นส่วนสัดกันมาต้องแบ่งตามที่ปกครองโดยถือลำคูเป็นเขต ส่วนที่สวนหลังบ้านต่างยังปกครองร่วมกันอยู่ ฉะนั้นส่วนในการเป็นเจ้าของ ของโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่คนละครึ่งในที่ดินพิพาททั้งแปลงนั้น จึงให้แบ่งให้โจทก์จำเลยคนละเท่าๆกัน โดยให้ถือแนวกลางอู่หรือคู จากคลองยืนขึ้นมาทางเหนือแล้วหักมุมตามแนวกลางคูหรือร่องสวนไปทางทิศตะวันออกจนถึงจุด จุดหนึ่ง ซึ่งเมื่อลากเส้นขนานกับเขตที่ดินด้านทิศตะวันตกจากจุดนั้นไปทางทิศเหนือ จนจดเขตทางด้านทิศเหนือแล้ว ที่ดินทั้งสองจะมีเนื้อที่แปลงละ 3 งาน 46 วา 2 ศอก หรือครึ่งหนึ่งของจำนวนเนื้อที่ทั้งหมดเท่าๆกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเงินจากการขายทรัพย์สินร่วมกัน ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือวิ่งราวทรัพย์
จำเลยมีส่วนได้รับเงินในการขายนา รับเงินมาจากอำเภอแล้วไม่ได้มาจัดการแบ่งให้แก่พวกน้อง ๆ ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ หรือวิ่งราวทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11216/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อมีทรัพย์สินร่วมกันและภูมิลำเนาต่างกัน
ถ. และ บ. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดเพชรบุรี อันเป็นศาลชั้นต้นในขณะที่ถึงแก่ความตาย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของบุคคลทั้งสองไว้แล้วทำการไต่สวนตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. และ บ. จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่งแล้ว ส่วนคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ผ. เจ้ามรดกอีกคนหนึ่งไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะรับไว้พิจารณาเนื่องจาก ผ. มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่จังหวัดสมุทรสาครในขณะถึงแก่ความตายนั้น แม้ผู้ร้องอาจใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ผ. เป็นอีกคดีหนึ่งได้ที่ศาลชั้นต้นแห่งอื่น อันเป็นศาลที่ ผ. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายก็ตาม แต่กรณีก็ต้องปรับด้วย มาตรา 5 แห่ง ป.วิ.พ. เมื่อเจ้ามรดกทั้งสามรายมีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกันคือ ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ย่อมถือได้ว่าคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่จะพิจารณารวมกันได้ ผู้ร้องย่อมมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ผ. ต่อศาลชั้นต้นได้โดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11216/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกกรณีเจ้ามรดกมีภูมิลำเนาต่างกัน และมีทรัพย์สินร่วมกัน ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกสามราย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย" แต่เจ้ามรดกทั้งสามรายมีภูมิลำเนาต่างท้องที่กัน ตามมาตรา 5 บัญญัติว่า "คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดี เพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นได้" เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้ามรดกทั้งสามรายมีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกัน ย่อมถือได้ว่าคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่จะพิจารณารวมกันได้ ผู้ร้องย่อมมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายต่อศาลชั้นต้นเดียวกัน