คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์สินสูญหาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงแรมรับผิดชอบทรัพย์สินสูญหาย แม้ผู้เสียหายมิได้แจ้ง แต่แจ้งทันทีที่ทราบ และเอกสารยกเว้นความรับผิดทำขึ้นฝ่ายเดียวเป็นโมฆะ
น.นำรถยนต์คันเกิดเหตุมาจอดไว้ในบริเวณลานจอดรถของโรงแรมจำเลยและรถยนต์คันดังกล่าวได้หายไป จำเลยจึงต้องรับผิดต่อ น.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 674 แม้ น.จะมิได้แจ้งให้พนักงานของจำเลยทราบว่าได้นำรถยนต์คันเกิดเหตุมาจอดไว้ในบริเวณลานจอดรถของโรงแรมจำเลยก็ตาม แต่เมื่อ น.ทราบแน่ชัดว่ารถยนต์ของตนหายไปก็ได้แจ้งแก่ ว.ผู้จัดการทั่วไปโรงแรมจำเลยทราบในทันที ทั้งน.ก็ได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน กรณีถือได้ว่าเป็นการแจ้งเหตุแก่จำเลยผู้เป็นเจ้าสำนักโรงแรมทราบทันทีตาม ป.พ.พ.มาตรา 676 แล้ว
ส่วนข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยตามเอกสารซึ่งเป็นเพียงใบกรอกรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ของผู้เข้าพักโรงแรมจำเลย และในตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ไว้ว่า "โรงแรมจะไม่รับผิดชอบในทรัพย์สิน สิ่งมีค่าหรือธนบัตร ซึ่งอาจเกิดการสูญหาย..." อันเป็นการยกเว้นความรับผิดของจำเลยนั้น เอกสารดังกล่าวจำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียว และไม่ปรากฏว่า น.ได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยดังกล่าวด้วย ข้อความในเอกสารเช่นนี้จึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 677 จำเลยจึงยังคงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาเช่าซื้อและการรับฝากทรัพย์ หากทรัพย์สินสูญหาย จำเลยต้องรับผิดชดใช้
โจทก์ในฐานะผู้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะยึดถือและใช้ประโยชน์ตลอดจนมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีตลอดไป และเมื่อได้ชำระเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว รถจักรยานยนต์ย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ หรือหากเลิกสัญญาเช่าซื้อกัน โจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถจักรยานยนต์คืนให้ผู้เช่าซื้อในสภาพเดิม ดังนั้น เมื่อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์นำมาฝากจำเลยได้สูญหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย จนเป็นเหตุจำเลยไม่สามารถคืนรถจักรยานยนต์ซึ่งรับฝากนั้นให้แก่โจทก์ผู้ฝาก จำเลยต้องรับผิดคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากหรือชดใช้ราคาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากทรัพย์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาทรัพย์ซึ่งรับฝากได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของยามรักษาความปลอดภัยต่อทรัพย์สินที่สูญหาย – การประมาทเลินเล่อ
จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของวิทยาลัยครู ซึ่งสังกัดอยู่กับโจทก์ทำหน้าที่ยามรักษาการณ์และรักษาความปลอดภัย จำเลยมีหน้าที่เข้าเวรตั้งแต่เวลา24 นาฬิกา ถึง 6 นาฬิกาวันรุ่งขึ้น ปรากฏว่ามีคนร้ายงัดหน้าต่างเข้าไปลักเอาเครื่องอัดสำเนาเอกสารในอาคารหลังหนึ่งซึ่งมีเวรประจำตึกเฝ้าอยู่ 1 คน โดยยังมีอาจารย์เวรและอาจารย์ผู้ตรวจเวรคอยดูแล ตรวจตราอีกชั้นหนึ่ง ตามระเบียบผู้อยู่เวรประจำตึกมีสิทธินอนได้ ส่วนยามต้องตรวจตราทั่วบริเวณไม่มีสิทธินอนพักจนกว่าจะออกเวร ยามจะต้องตรวจตราความเรียบร้อยตลอดเวลา เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า หลังจากจำเลยได้เข้ารับเวรต่อจากผลัดก่อนแล้วนั้น จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องสำรวจพื้นที่ และทรัพย์สินในอาคารให้ครบทั้ง 30 อาคาร ซึ่งโดยวิสัยของผู้มีหน้าที่อยู่ยามที่ต้องดูแลบริเวณที่มีพื้นที่ถึง 150 ไร่ และมีอาคารถึง 30 อาคารขณะที่มีการเข้าเวรเพียงผลัดละ 2 คน ทั้งไม่มีระเบียบชัดแจ้งให้กระทำการดังกล่าวจำเลยไม่น่าจะต้องใช้ความระมัดระวังถึงระดับนั้น อีกทั้งของอาจจะหายในช่วงการอยู่เวรยามของผลัดก่อนก็ได้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของยามต่อทรัพย์สินสูญหาย: พิจารณาความเหมาะสมของระดับความระมัดระวังตามพื้นที่และจำนวนกำลัง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้ให้คำจำกัดความคำว่าประมาทเลินเล่อตามมาตรา 420 ไว้ คงมีแต่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ และตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 แต่ก็กล่าวโดยสรุปได้ความหมายว่า การขาดความระมัดระวังนั่นเอง ระเบียบของวิทยาลัยโจทก์ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยกำหนดอำนาจหน้าที่ยามต้องตรวจตราความเรียบร้อยตลอดเวลาอยู่ประจำทางเข้าออกประตูหน้าที่วิทยาลัยขณะเปิดปิดประตูอยู่อย่างน้อย 1 คน ตลอดเวลา วิทยาลัยของโจทก์มีเนื้อที่ถึง 150 ไร่ มีอาคาร 30 หลัง ทรัพย์สินที่หายเก็บไว้ในอาคาร 2 โดยไม่มีระเบียบชัดแจ้งให้จำเลยต้องสำรวจพื้นที่และทรัพย์สินในอาคารให้ครบทั้ง 30 อาคาร และโดยวิสัยของผู้มีหน้าที่ยามซึ่งต้องดูแลบริเวณที่มีพื้นที่และอาคารมากขนาดนี้ ขณะเข้าเวรเพียงผลัดละ 1 คน จำเลยทั้งสองไม่น่า จะต้องใช้ความระมัดระวังถึงระดับนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองประมาทเลินเล่อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของยามรักษาความปลอดภัย: การพิจารณาความรับผิดในกรณีทรัพย์สินสูญหาย
จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของวิทยาลัยครูซึ่งสังกัดอยู่กับโจทก์ทำหน้าที่ยามรักษาการณ์และรักษาความปลอดภัยจำเลยมีหน้าที่เข้าเวรตั้งแต่เวลา24นาฬิกาถึง6นาฬิกาวันรุ่งขึ้นปรากฏว่ามีคนร้ายงัดหน้าต่างเข้าไปลักเอาเครื่องอัดสำเนาเอกสารในอาคารหลังหนึ่งซึ่งมีเวรประจำตึกเฝ้าอยู่1คนโดยยังมีอาจารย์เวรและอาจารย์ผู้ตรวจเวรคอยดูแลตรวจตราอีกชั้นหนึ่งตามระเบียบผู้อยู่เวรประจำตึกมีสิทธินอนได้ส่วนยามต้องตรวจตราทั่วบริเวณไม่มีสิทธินอนพักจนกว่าจะออกเวรยามจะต้องตรวจตราความเรียบร้อยตลอดเวลาเมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าหลังจากจำเลยได้เข้ารับเวรต่อจากผลัดก่อนแล้วนั้นจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องสำรวจพื้นที่และทรัพย์สินในอาคารให้ครบทั้ง30อาคารซึ่งโดยวิสัยของผู้มีหน้าที่อยู่ยามที่ต้องดูแลบริเวณที่มีพื้นที่ถึง150ไร่และมีอาคารถึง30อาคารขณะที่มีการเข้าเวรเพียงผลัดละ2คนทั้งไม่มีระเบียบชัดแจ้งให้กระทำการดังกล่าวจำเลยไม่น่าจะต้องใช้ความระมัดระวังถึงระดับนั้นอีกทั้งของอาจจะหายในช่วงการอยู่เวรยามของผลัดก่อนก็ได้จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์ต่อการไม่ระมัดระวัง ทำให้ทรัพย์สินสูญหายหรือถูกยึด
ผู้รับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดั่งนั้นการที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยขนทรัพย์สินของโจทก์ที่ฝากไว้ออกจากสถานที่รับฝากโดยหลบหนีภาษีศุลกากร จนทรัพย์สินของโจทก์ถูกยึดเป็นของกลางในคดีอาญา แสดงว่าจำเลยขาดความระมัดระวังไม่ใช้ฝีมือสงวนทรัพย์สินของโจทก์เช่นวิญญูชน หาใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยคืนทรัพย์สินที่ฝากไม่ได้ จำเลยต้องใช้ราคา
โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องค่าเสียหาย ประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้จึงถึงที่สุดแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์สินต่อการสูญหายจากความประมาทเลินเล่อ แม้เกิดเหตุอาญา
โจทก์ฝากทรัพย์สินไว้แก่เจ้าหน้าที่ของจำเลยโดยมีบำเหน็จค่าฝาก จำเลยผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้รถยนต์ของจำเลยขนทรัพย์สินของโจทก์ออกไปโดยหลบหนีภาษีศุลกากรจนทรัพย์สินของโจทก์ถูกยึดเป็นของกลางระหว่างดำเนินคดีอาญา แสดงว่า จำเลยขาดความระมัดระวังไม่ใช้ฝีมือสงวนรักษาทรัพย์สินที่รับฝากไว้เช่นวิญญูชนกรณีมิใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยจึงต้องรับผิดในทรัพย์สินที่รับฝากจากโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับฝากทรัพย์ต้องระมัดระวังรักษาทรัพย์สินให้ปลอดภัย หากขาดความระมัดระวังจนทรัพย์สินสูญหายหรือถูกยึด ต้องรับผิดชดใช้ราคา
ผู้รับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นการที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยขนทรัพย์สินของโจทก์ที่ฝากไว้ออกจากสถานที่รับฝากโดยหลบหนีภาษีศุลกากร จนทรัพย์สินของโจทก์ถูกยึดเป็นของกลางในคดีอาญา แสดงว่าจำเลยขาดความระมัดระวังไม่ใช้ฝีมือสงวนทรัพย์สินของโจทก์เช่นวิญญูชน หาใช่เหตุสุดวิสัยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์สินที่ฝากไม่ได้ จำเลยต้องใช้ราคา โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องค่าเสียหายประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้จึงถึงที่สุดแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อทรัพย์สินสูญหาย ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดตามสัญญา แต่ข้อตกลงในสัญญาอาจเป็นเบี้ยปรับได้
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง จึงต้องนำบทบัญญัติลักษณะเช่าทรัพย์มาใช้บังคับด้วย เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับตั้งแต่วันที่รถยนต์สูญหาย ตามป.พ.พ. มาตรา 567 ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อต่อไปส่วนข้อกำหนดตามสัญญาที่ระบุว่า ถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัย หรือสูญหาย ผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบนั้นพอแปลได้ว่าผู้เช่าซื้อยอมชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตามจำนวนดังกล่าวอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลมีอำนาจที่กำหนดให้ตามที่เห็นสมควร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อทรัพย์สินสูญหาย ผู้เช่าซื้อรับผิดตามข้อตกลงเบี้ยปรับ ศาลพิจารณาความเสียหายที่แท้จริง
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ระบุว่า ถ้าทรัพย์สิน ที่เช่าซื้อถูกโจรภัย...สูญหาย...ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดและยอมชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบข้อสัญญาดังกล่าวแปลได้ว่าเป็นข้อตกลง ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ได้รับความเสียหาย เพราะเหตุ ที่รถยนต์พิพาทได้หายไปในระหว่างการครอบครองของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ไม่สามารถกลับเข้าครอบครองได้ และถือว่าเป็นการกำหนดเบี้ยปรับโดยเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระมาเป็นจำนวนค่าเสียหาย ดังนั้น ศาลย่อมกำหนดให้โจทก์ได้ตามควรแก่ความเสียหายที่โจทก์ได้รับ.
of 5