คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์สินหลังหย่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6080/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินหลังหย่า และการลงชื่อในเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์รถยนต์
โจทก์และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ย่อมสิ้นสุดลง และขาดจากการเป็นสามีภริยาตาม ป.พ.พ.มาตรา 1501 โดยมีผลสมบูรณ์เมื่อจดทะเบียนหย่าแล้ว ตามมาตรา1515 และศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์กึ่งหนึ่งในทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องหรือไม่ และการโอนขายที่ดินโฉนดพิพาทพร้อมบ้านระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการแสดงเจตนาลวงหรือไม่เท่านั้น โดยไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง รวมทั้งการแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้หย่าขาดจากกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้แบ่งทรัพย์สินขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบ
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้วทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างอยู่ร่วมกันและมิได้แบ่งกันต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมและสันนิษฐานว่ามีส่วนเท่ากันตามมาตรา 1357
โจทก์ฟ้องขอใส่ชื่อโจทก์ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ แม้ใบคู่มือดังกล่าวมิใช่เอกสารสำคัญที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานอันหนึ่งที่แสดงถึงการเสียภาษีประจำปี ซึ่งแสดงว่าผู้มีชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์น่าจะเป็นเจ้าของเท่านั้นก็ตาม แต่ในกรณีที่เจ้าของขายรถยนต์แล้วกรรมสิทธิ์ในรถยนต์โอนเป็นของผู้ซื้อทันที แม้ไม่จดทะเบียนโอนก็ใช้ได้ แต่ ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง บัญญัติว่า ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่ายได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน ดังนั้นการมีชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ย่อมเป็นการคุ้มครองประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์คันที่มีเจ้าของรวมให้ทราบว่าการซื้อรถยนต์คันดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมของเจ้าของรวมทุกคนก่อนเป็นการตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่รถยนต์เป็นทรัพย์ของบุคคลหลายคน แต่มีชื่อเจ้าของรวมเพียงคนเดียวในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ซึ่งผู้ซื้อซื้อไปโดยไม่ทราบว่ามีเจ้าของรวมที่ไม่ได้ให้ความยินยอมในการขาย ทำให้เจ้าของรวมที่ไม่ยินยอมและผู้ซื้อได้รับความเสียหายจากการที่ต้องฟ้องและถูกฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขาย
ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ดังนั้น การลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์นอกจากไม่ขัดต่อกฎหมายแล้ว ยังมีประโยชน์มากกว่าการไม่ลงชื่อไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ เมื่อได้ความว่าโจทก์ จำเลยที่ 1เป็นเจ้าของรวมในรถยนต์คันพิพาท จึงสมควรพิพากษาให้โจทก์ลงชื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวได้ตามขอ
การที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์นั้น เมื่อปรากฏว่า แต่เดิมสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 1 โดยอาศัยสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวม และไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิการเป็นเจ้าของรวม ประกอบกับไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้เจ้าของรวมจำต้องครอบครองทรัพย์สินที่ตนมีกรรมสิทธิ์รวมโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บันทึกข้อตกลงเป็นโมฆะ ทรัพย์สินยังเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม ผู้ร้องมีสิทธิขอรับส่วนแบ่ง
ผู้ร้องกับลูกนี้ได้จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่าว่าที่ดินโฉนดเลขที่125591พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นของผู้ร้องส่วนที่พิพาททั้งห้าแปลงเป็นของลูกหนี้ในชั้นสอบสวนคำร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์ที่ดินโฉนดเลขที่125591ของผู้ร้องนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฟังข้อเท็จจริงว่าบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่าระหว่างผู้ร้องกับลูกหนี้ที่ตกลงกันให้ที่ดินโฉนดเลขที่125591เป็นของผู้ร้องนั้นเป็นการแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับข้อเท็จจริงดังกล่าวต้องผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ร้องเมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอกันส่วนเงินค่าขายทอดตลาดที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอ้างว่าคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่125591เพียงแปลงเดียวไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกห้าแปลงที่เหลือย่อมไม่ได้เพราะที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงก็เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่าซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์วินิจฉัยว่าเป็นการแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะไปแล้วนั่นเองเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทรัพย์สินของผู้ร้องกับลูกหนี้ตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่ายังไม่มีการแบ่งกันที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงตามคำร้องจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของผู้ร้องและลูกหนี้ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาททั้งห้าแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินที่ซื้อก่อนสมรสและจดทะเบียนเป็นเจ้าของร่วมกันหลังสมรส
จำเลยฟ้องแย้งให้แบ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์แบ่งสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินด้วยเป็นการนอกเหนือคำฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทด้วยเงินของโจทก์ก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลย หลังจากจดทะเบียนสมรสกันแล้วได้มีการจดทะเบียนลงชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกับโจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่โจทก์มีเจตนาให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่ากัน ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นสินสมรสต้องแบ่งกันระหว่างโจทก์และจำเลยคนละส่วน ดังนั้นจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหนึ่งในสี่ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ต้องมีส่วนร่วมในการทำมาหาได้จึงมีสิทธิเรียกร้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาได้ช่วยกันประกอบอาชีพทำให้มีทรัพย์สินเพิ่มทวีขึ้นซึ่งโจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เมื่อศาลพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน โจทก์จำเลยต่างมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวคนละกึ่งหนึ่ง เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมกับจำเลยโจทก์มีสิทธิขอแบ่งจากจำเลยในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า โจทก์มีส่วนร่วมในการทำมาหาได้ในทรัพย์สินร่วมกับจำเลย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิแบ่งทรัพย์สินนั้นจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากเงินค่าชดเชยจากการทำงาน: การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า
จำเลยประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน นายจ้างปลดจำเลยออกจากงาน จำเลยได้รับเงินค่าชดเชยและผลประโยชน์ตามสิทธิที่จำเลยพึงได้ตามกฎหมายซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างโดยเกิดสิทธิขึ้นจากผลของกฎหมายหาใช่เพราะนายจ้างจ่ายให้จำเลยโดยเสน่หาไม่ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่สมรสของโจทก์ได้เงินดังกล่าวมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1474(1) อันโจทก์มีสิทธิขอแบ่งจากจำเลยเมื่อหย่ากัน
จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าชดเชยต่าง ๆ มาแล้วต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายและอื่น ๆ คงมีอยู่เท่าที่เหลือฝากธนาคารไว้ 100,000 บาท เท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยรับเงินค่าชดเชยและอื่น ๆ ตามฟ้องเมื่อชดใช้หนี้และใช้อย่างอื่นแล้วยังเหลืออยู่ 242,150.87 บาท ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: สินสมรส vs. สินส่วนตัว และสิทธิในการรับเงินจากการขายทรัพย์สิน
จำเลยมีร้านทำการค้าขณะที่จำเลยกับผู้ร้องเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์เป็นอย่างอื่น ย่อมฟังได้ว่า กิจการร้านค้าดังกล่าวจำเลยกับผู้ร้องกระทำด้วยกันตามธรรมดาของสามีภริยา จำเลยกู้เงินโจทก์ไปใช้ในกิจการร้านค้าจึงเป็นหนี้ที่เกิดจากการงานที่ผู้ร้องกับจำเลยทำด้วยกัน เป็นหนี้ร่วม ต้องเอาชำระจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย ที่ดินที่ขายทอดตลาดเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง ผู้ร้องจึงขอกันส่วนของตนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: สินสมรส vs. สินส่วนตัว และการบังคับชำระหนี้ร่วม
จำเลยมีร้านทำการค้าขณะที่จำเลยกับผู้ร้องเป็นสามีภริยากัน อยู่ เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์เป็นอย่างอื่นย่อมฟังได้ว่า กิจการร้านค้าดังกล่าว จำเลยกับผู้ร้องกระทำด้วยกันตามธรรมดาของสามีภริยาจำเลยกู้เงินโจทก์ ไปใช้ในกิจการร้านค้าจึงเป็นหนี้ที่เกิดจากการงานที่ผู้ร้องกับจำเลย ทำด้วยกันเป็นหนี้ร่วม ต้องเอาชำระจากสินสมรสและสินส่วนตัว ของทั้งสองฝ่าย ที่ดินที่ขายทอดตลาดเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องผู้ร้องจึงขอกันส่วนของตนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินที่ได้ก่อนจดทะเบียนสมรสเป็นสินเดิมและเป็นเจ้าของรวม
บิดาจำเลยยกที่พิพาทให้โจทก์จำเลยใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำกินเมื่อแต่งงานกันก่อนจดทะเบียนสมรส ก่อนใช้บรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่ ที่พิพาทจึงตกเป็นของโจทก์จำเลยคนละครึ่งครั้นโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสก็กลายเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่ายและเป็นสินส่วนตัวตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บ้านที่ตกเป็นของภริยาตามทะเบียนหย่า ถือเป็นกรรมสิทธิ์ภริยาทำพินัยกรรมยกได้
สามีภริยาได้จดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1512 แล้ว ซึ่งปรากฏในทะเบียนหย่าว่าบ้านพิพาทตกเป็นของภริยาการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวนี้ย่อมมีผลผูกพันสามี สามีจะโต้แย้งในภายหลังว่าการแบ่งบ้านพิพาทให้นี้ยังมิได้โอนทะเบียนกรรมสิทธิ์ยังเป็นของสามีอยู่หาได้ไม่ และกรณีไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หาด้วย เมื่อบ้านพิพาทตกเป็นของภริยา ภริยาย่อมทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้อื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บันทึกหลังทะเบียนหย่ามีผลผูกพันทางกฎหมาย
สามีภริยาจดทะเบียนหย่อขาดกันที่อำเภอบันทึกหลังทะเบียนการหย่อที่ว่า ในเรื่องทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการสมรส ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันเรียบร้อยก่อนมาจดทะเบียนหย่านั้น ถือได้ว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือสัญยาประนีประนอมยอมความในเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยานั้นแล้ว.
of 2