คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์อันตราย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากทรัพย์อันตราย-แท่นไฮดรอลิกชำรุด-ผู้รับประกันภัยต้องร่วมรับผิด
ความเสียหายของรถยนต์บรรทุกและรถลากพ่วง 4 คัน เกิดขึ้นในขณะที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กำลังยกแท่นไฮดรอลิกเพื่อเทน้ำตาลดิบออกจากรถยนต์บรรทุกและรถลากพ่วงซึ่งจอดอยู่บนแท่นไฮดรอลิกนั้นลงฉางเก็บโดยแท่นไฮดรอลิกดังกล่าวเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้มีไว้ในครอบครองจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดขึ้นแต่ทรัพย์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายนั้นเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่า เหตุที่เกิดความเสียหายสืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างจำเลยที่ 1
ขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกน้ำตาลดิบมาจากจังหวัดอุดรธานี ระหว่างการเดินทางน้ำตาลมีความชื้นสูงจึงเกาะกันแน่น ซึ่งก่อนเทมิได้มีการทำให้น้ำตาลแตกตัวทั้งหมดก่อนที่จะยกแท่นไฮดรอลิกขึ้นเทแต่อย่างใด น้ำตาลดิบที่ยังคงมีสภาพเกาะกันแน่นย่อมทำให้น้ำหนักเฉลี่ยไม่สม่ำเสมอ เมื่อถ่ายน้ำหนักออกจากรถพ่วงทันทีทันใดย่อมทำให้แหนบรถเกิดแรงต้านดีดตัวรถให้ลอยขึ้นข้ามที่กั้นล้อแล้วดึงโซ่ที่มัดคานหน้าไว้ขาดก่อนที่จะไหลลงมากระโดดข้ามที่กั้นล้อทุกล้อ ทำให้รถยนต์บรรทุกและรถพ่วงที่บรรทุกน้ำตาลมาไหลชนรถยนต์บรรทุกและรถพ่วงคันอื่นได้รับความเสียหาย ซึ่งมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย เพราะจำเลยที่ 1 อาจป้องกันได้โดยทำให้น้ำตาลแตกตัวเสียก่อนที่จะนำรถขึ้นแท่นไฮดรอลิก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 และจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกและรถลากพ่วงคันที่ได้รับความเสียหายและได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าซ่อมแซมรถที่เสียหายนั้นไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าต่อความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดจากทรัพย์อันตราย
เหตุที่เกิดเพลิงไหม้อาคารที่จำเลยที่ 3 เช่ามาจากจำเลยที่ 1เสียหาย และทำให้วัสดุที่ถูกเพลิงไหม้หล่นใส่รถยนต์ที่จอดอยู่หน้าอาคารที่เกิดเหตุเนื่องจากมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่อาคารดังกล่าวโดยสายไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเดินอยู่นั้นเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จำเลยที่ 3 ผู้เช่าผู้มีทรัพย์ดังกล่าวไว้ในครอบครองจึงต้องรับผิดต่อเจ้าของรถยนต์เพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง
ในปัญหาที่ว่าเพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือไม่ ซึ่งจำเลยที่ 3มีภาระการพิสูจน์ จำเลยที่ 3 นำสืบแต่เพียงว่า ได้เปลี่ยนสายไฟฟ้าในอาคารที่เกิดเหตุใหม่ทั้งหมด ขณะเกิดเหตุภายในอาคารไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และเปิดไฟฟ้าไว้ที่หน้าอาคารและในห้องครัวแห่งละ 1 ดวงเท่านั้น จำเลยที่ 3 มิได้ประมาทเลินเล่อ กระแสไฟฟ้าเกิดลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้อย่างไร จำเลยที่ 3ไม่ทราบ ข้อนำสืบของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าต่อความเสียหายจากทรัพย์อันตรายตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 437
เหตุที่เกิดเพลิงไหม้อาคารที่จำเลยที่ 3 เช่ามาจากจำเลยที่ 1 เสียหาย และทำให้วัสดุที่ถูกเพลิงไหม้หล่นใส่รถยนต์ที่จอดอยู่หน้าอาคารที่เกิดเหตุเนื่องจากมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่อาคารดังกล่าวโดยสายไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเดิมอยู่นั้นเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จำเลยที่ 3 ผู้เช่าผู้มีทรัพย์ดังกล่าวไว้ในครอบครองจึงต้องรับผิดต่อเจ้าของรถยนต์เพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าวเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 วรรคสอง
ในปัญหาที่ว่าเพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือไม่ ซึ่งจำเลยที่ 3 มีภาระการพิสูจน์ จำเลยที่ 3 นำสืบแต่เพียงว่า ได้เปลี่ยนสายไฟฟ้าในอาคารที่เกิดเหตุใหม่ทั้งหมด ขณะเกิดเหตุภายในอาคารไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และเปิดไฟฟ้าไว้ที่หน้าอาคารและในห้องครัวแห่งละ 1 ดวงเท่านั้น จำเลยที่ 3 มิได้ประมาทเลินเล่อกระแสไฟฟ้าเกิดลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้อย่างไร จำเลยที่ 3 ไม่ทราบ ข้อนำสืบของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในความเสียหายจากทรัพย์อันตราย จำเลยต้องรับผิดหากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือความผิดของผู้เสียหาย
เหตุที่เกิดไฟไหม้ตึกแถวของโจทก์เสียหาย เนื่องจากมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่เสาไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยโดยที่สายไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเดินอยู่และหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จำเลยผู้ครอบครองจึงต้องรับผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากทรัพย์ดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 437 โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าเหตุที่เกิดไฟไหม้ตึกแถวของโจทก์เสียหายเกิดขึ้นเนื่องจากจำเลยประมาทเลินเล่อหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ครอบครองทรัพย์อันตราย: แม้มิประมาทเลินเล่อก็ต้องรับผิดหากเกิดความเสียหายจากทรัพย์นั้น
สายไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเดินอยู่และหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จำเลยผู้มีทรัพย์ดังกล่าวไว้ในครอบครองจึงต้องรับผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์ดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเองตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 แม้จำเลยมิได้ประมาทเลินเล่อทำให้เกิดไฟไหม้ จำเลยก็ต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์อันเกิดจากสายไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้าของจำเลยเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากเพลิงไหม้โรงงาน: การพิสูจน์ความประมาทเลินเละและทรัพย์อันตราย
ประเด็นว่า เตา อบ และน้ำยาฆ่าแมลงที่จำเลยครอบครองเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพหรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ตามป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง หรือไม่นั้น เมื่อโจทก์มิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างหรือตั้งประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดตามมาตราดังกล่าวไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากทรัพย์อันตราย การประมาทเลินเล่อของผู้ผลิตไฟฟ้าและผู้ต้องเสียหาย
กระแสไฟฟ้าเป็นทรัพย์อันเกิดอันตรายได้โดยสภาพ ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำเลยผู้ผลิตและจำหน่ายเป็นผู้มีไว้ในครอบครองจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายที่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา437 การที่กระแสไฟฟ้าลัดวงจรไหม้ทรัพย์สินของโจทก์เพราะเหตุที่ต้นมะพร้าวอยู่ใกล้ชิดกับแนวสายไฟฟ้าเป็นเหตุให้ทางมะพร้าวพาดไปถูกสายไฟฟ้าเมื่อมีลมพัด มิใช่เหตุสุดวิสัยเพราะจำเลยอาจป้องกันได้ถ้าตัดต้นมะพร้าวหรือแจ้งให้โจทก์ตัดอันเป็นหน้าที่จำเลย แต่โจทก์ไม่สนใจตัดต้นมะพร้าวในที่ดินที่โจทก์เช่าหรือแจ้งให้จำเลยตัดถือได้ว่าโจทก์มีส่วนทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงควรรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพียงครึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ครอบครองทรัพย์อันตราย (ไฟฟ้า) และขอบเขตความรับผิดของผู้ดูแลบ้าน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสามีภริยากันเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุ ซึ่งจำเลยขึงสายทองแดงเปลือยปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้รอบบ้าน แล้วไม่ดูแลให้สายไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ในสภาพเรียบร้อยเป็นเหตุให้สายไฟฟ้าตกลงมาพาดรั้ว ผู้ตายไปยืนปัสสาวะริมรั้วจึงถูกกระแสไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตายดังนี้ จำเลยได้ชื่อว่า เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ไฟฟ้านั้น ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นแต่เพียงผู้ดูแลบ้านเท่านั้น แม้จะเป็นผู้ว่าจ้างให้ช่างไฟฟ้ามาเดินสายไฟดังกล่าวก็ไม่ใช่ผู้ครอบครองไฟฟ้านั้น จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ครอบครองทรัพย์อันตราย (ไฟฟ้า) และขอบเขตความรับผิดของผู้ดูแลทรัพย์
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสามีภริยากันเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุซึ่งจำเลยขึงสายทองแดงเปลือยปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้รอบบ้าน แล้วไม่ดูแลให้สายไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ในสภาพเรียบร้อยเป็นเหตุให้สายไฟฟ้าตกลงมาพาดรั้ว ผู้ตายไปยืนปัสสาวะริมรั้วจึงถูกกระแสไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตายดังนี้ จำเลยได้ชื่อว่าเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ไฟฟ้านั้น ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นแต่เพียงผู้ดูแลบ้านเท่านั้น แม้จะเป็นผู้ว่าจ้างให้ช่างไฟฟ้ามาเดินสายไฟดังกล่าวก็ไม่ใช่ผู้ครอบครองไฟฟ้านั้น จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในความเสียหายจากทรัพย์อันตราย: น้ำมันเบนซิน และการพิสูจน์เหตุสุดวิสัย
ลูกจ้างของจำเลยนำเรือของจำเลยไปบรรทุกน้ำมันเบนซินจากคลังน้ำมันตามที่จำเลยใช้ เมื่อถ่ายน้ำมันเสร็จแล้วลูกจ้างของจำเลยได้แก้เชือกผูกเรือและติดเครื่องยนต์เพื่อจะนำเรือออกจากท่า จึงได้เกิดไฟไหม้ เมื่อน้ำมันเบนซินอยู่ในความครอบครองของลูกจ้างจำเลยและน้ำมันเบนซินเป็นทรัพย์อันเกิดอันตรายได้โดยสภาพ กรณีจึงปรับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรคสอง ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่น้ำมันเบนซินเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนี้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์เองแต่พยานที่จำเลยนำสืบได้ความแต่เพียงว่า เมื่อลูกจ้างของจำเลยแก้เชือกผูกเรือและติดเครื่องยนต์เรือได้ 5 - 10 นาที ก็เกิดการระเบิดและไฟได้ไหม้ เพียงเท่านี้ยังไม่พอฟังว่าความเสียหายเกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่พ้นความรับผิด
of 2