พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมสัญญาประกันภัย การใช้สิทธิบอกล้างต้องภายใน 1 เดือนนับแต่วันทราบมูล
สามีของโจทก์เอาประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยโดยปกปิดความจริงและแถลงเท็จว่าไม่เคยให้แพทย์คนใดวินิจฉัยโรคมาก่อน ทั้งที่สามีของโจทก์เป็นโรคตับแข็งและโรคในลำคออยู่ก่อน ทำให้บริษัทจำเลยไม่อาจบอกปัดไม่ยอมรับประกันชีวิตเสียได้ สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆียะ แต่บริษัทจำเลยไม่ใช้สิทธิบอกล้างเสียภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันทราบมูลอันจะบอกล้างได้จึงหมดสิทธิจะบอกล้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1247/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบอกล้างสัญญาประกันภัย เริ่มนับแต่วันที่ทราบมูลอันจะบอกล้าง ไม่ใช่วันที่ทราบความจริง
อายุความบอกล้างสัญญาประกันภัยตอนแรกของมาตรา 865 วรรคสองนั้นหมายถึงว่า ผู้รับประกันภัยต้องใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้
โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิตซึ่งผู้ตายทำไว้กับบริษัทจำเลยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2509 พร้อมด้วยรายงานของนายแพทย์โรงพยาบาลผู้รักษาผู้ตายครั้งสุดท้ายว่า ผู้ตายป่วยเป็นมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่และตายด้วยโรคดังกล่าว และได้ระบุไว้ในรายงานนั้นอีกว่าผู้ตายเคยรับการผ่าตัดด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งเป็นเวลาก่อนผู้ตายเอาประกันชีวิตไว้กับบริษัทจำเลย เช่นนี้ถือว่าบริษัทจำเลยย่อมมีเหตุควรทราบได้แล้วว่าผู้ตายได้ปกปิดข้อความจริงดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2509 บริษัทจำเลยจะอ้างว่ารายงานแพทย์ดังกล่าวนั้น ยังไม่แน่นอน บริษัทจำเลยยังต้องสืบสวนต่อไปจนได้ความจริงแน่นอนเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 ว่าผู้ตายได้ป่วยและรับการผ่าตัดด้วยโรคดังกล่าวมิได้ เพราะอายุความกฎหมายกำหนดให้เริ่มนับแต่วันที่ทราบมูลอันจะบอกล้างได้เท่านั้นมิใช่เริ่มนับแต่วันที่ทราบความจริง ฉะนั้นเมื่อบริษัทจำเลยบอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2509 ซึ่งเป็นเวลาเกินหนึ่งเดือนแล้วกรมธรรม์ประกันชีวิตจึงมีผลบังคับบริษัทจำเลย
โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิตซึ่งผู้ตายทำไว้กับบริษัทจำเลยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2509 พร้อมด้วยรายงานของนายแพทย์โรงพยาบาลผู้รักษาผู้ตายครั้งสุดท้ายว่า ผู้ตายป่วยเป็นมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่และตายด้วยโรคดังกล่าว และได้ระบุไว้ในรายงานนั้นอีกว่าผู้ตายเคยรับการผ่าตัดด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งเป็นเวลาก่อนผู้ตายเอาประกันชีวิตไว้กับบริษัทจำเลย เช่นนี้ถือว่าบริษัทจำเลยย่อมมีเหตุควรทราบได้แล้วว่าผู้ตายได้ปกปิดข้อความจริงดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2509 บริษัทจำเลยจะอ้างว่ารายงานแพทย์ดังกล่าวนั้น ยังไม่แน่นอน บริษัทจำเลยยังต้องสืบสวนต่อไปจนได้ความจริงแน่นอนเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 ว่าผู้ตายได้ป่วยและรับการผ่าตัดด้วยโรคดังกล่าวมิได้ เพราะอายุความกฎหมายกำหนดให้เริ่มนับแต่วันที่ทราบมูลอันจะบอกล้างได้เท่านั้นมิใช่เริ่มนับแต่วันที่ทราบความจริง ฉะนั้นเมื่อบริษัทจำเลยบอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2509 ซึ่งเป็นเวลาเกินหนึ่งเดือนแล้วกรมธรรม์ประกันชีวิตจึงมีผลบังคับบริษัทจำเลย