พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: เริ่มนับจากวันที่ทราบเรื่องและตัวผู้กระทำผิด
โจทก์มอบอำนาจให้ ร. เป็นตัวแทนและผู้รับมอบอำนาจเพื่อโจทก์และในนามโจทก์ในประเทศไทย ในอันที่จะดำเนินการทุกอย่างเพื่อยับยั้งและจำกัดการเลียนแบบ การละเมิดและการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวกับชื่อทางการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และอื่น ๆ ที่ใช้เกี่ยวกับการค้าของโจทก์ให้ป้องกันการค้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้มีอำนาจร้องทุกข์ ฟ้องร้องดำเนินคดีและต่อสู้ในนามของโจทก์ ร. จึงมีอำนาจร้องทุกข์และฟ้องร้องผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ในประเทศไทยในนามของโจทก์ได้ตามกฎหมาย ร. ได้รู้เรื่องการกระทำความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีนี้แล้ว ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ส่วนการตรวจสอบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ซื้อมาโดย ส. ก็เพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ในการฟ้องคดี ไม่ใช่เพื่อให้รู้ถึงการกระทำความผิด ดังนั้น ร. ต้องดำเนินการร้องทุกข์หรือฟ้องร้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่ ร. รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นครั้งแรก เมื่อโจทก์นำคดีนี้ ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้มาฟ้องเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีความผิดอันยอมความได้ เริ่มนับจากวันที่โจทก์ทราบเรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิด
ในขณะที่จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินกับ อ.มีการรังวัดที่ดินกัน 1 ครั้งโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงลงชื่อยินยอมในการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินไว้ด้วยจำเลยทำคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ 24 กรกฎาคม 2538 แล้วทำสัญญาขายที่ดินเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2538 และตามคำขอจดทะเบียนสิทธิก็ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่บันทึกให้มีการประกาศเป็นเวลา 30 วันก่อน แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการรังวัดกันเมื่อใด แต่ก็ย่อมต้องกระทำก่อนที่มีการทำสัญญาซื้อขาย แสดงว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยตกลงขายที่ดินตั้งแต่ก่อนวันที่ 19 กันยายน 2538 แล้ว ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบเรื่องเมื่อธันวาคม 2538 ก็ขัดกับคำเบิกความของโจทก์เอง ดังนั้นเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ขายที่ดินให้ อ.แล้ว จะถือว่าอายุความเริ่มนับแต่เดือนธันวาคม2538 ไม่ได้
คดีความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินกำหนด3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด จึงขาดอายุความตาม ป.อ.มาตรา 96 กรณีเป็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คดีความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินกำหนด3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด จึงขาดอายุความตาม ป.อ.มาตรา 96 กรณีเป็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5546/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดยื่นคำให้การ-พิจารณาคดี: ผลกระทบเมื่อจำเลยทราบเรื่องหลังพ้นเหตุสุดวิสัย
แม้ในขณะถูกฟ้องและถูกบังคับคดี จำเลยจะไม่ทราบว่าจำเลยถูกฟ้องและถูกบังคับคดีเพราะขณะนั้นจำเลยเดินทางจากประเทศไทยไปทำงานเป็นแม่บ้านอยู่ที่เกาะฮ่องกง และเพิ่งเดินทางกลับประเทศไทย ทั้งหลังจากนั้นจำเลยไปอยู่ที่ภูมิลำเนาของจำเลยที่จังหวัดระยองโดยที่จำเลยไม่เคยได้รับสำเนาคำฟ้องหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและหมายบังคับคดีเลยก็ตาม แต่หลังจากจำเลยเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว จำเลยทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้และจำเลยต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดีตามที่จำเลยและทนายความของจำเลยได้ยื่นคำแถลงขอตรวจสำนวนและขอคัดสำเนาคำฟ้องคำพิพากษาและคำสั่งของศาล ดังนั้น แม้เหตุที่จำเลยต้องขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาสืบเนื่องมาจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง ก็ตามแต่เมื่อจำเลยเดินทางกลับมายังประเทศไทยและจำเลยทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้องในวันที่ 27 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยขอตรวจสำนวนที่ศาลชั้นต้นนั้น ย่อมถือได้ว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เสียภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงคือนับแต่วันที่ 28 มีนาคม 2538 เป็นต้นไป การที่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2538 ถือว่าจำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้แล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5863/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบต้องยื่นคำร้องภายใน 8 วันนับแต่วันที่ทราบเรื่อง
หลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2533 แล้ว ต่อมาวันที่ 26 กรกฎาคม 2533โจทก์ได้มาตรวจสำนวนและทราบว่ามีการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบและอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังแล้วโจทก์จึงขอคัดเอกสารที่เกี่ยวข้องไป หากจะฟังว่าการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบโดยการปิดประกาศที่หน้าศาลเป็นการไม่ชอบก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบในวันดังกล่าวซึ่งหากโจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าว โจทก์ก็จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายในแปดวันนับแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคสอง ที่โจทก์มายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวในวันที่ 9 สิงหาคม 2533จึงเกินกำหนดแปดวัน เป็นคำร้องที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดของหน่วยงานราชการ: เริ่มนับเมื่อผู้มีอำนาจสูงสุดทราบเรื่อง
แม้เจ้าหน้าที่โจทก์จะได้รับแจ้งถึงการที่มีผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ อายุความในเรื่องละเมิดยังไม่เริ่มนับจนกว่าอธิบดีกรมโจทก์ซึ่ง เป็นผู้แทนโจทก์ได้รู้ถึงการกระทำละเมิดดังกล่าวแล้ว
กรมมอบอำนาจให้ส่วนราชการอื่นแจ้งความกล่าวโทษผู้กระทำละเมิด แต่เมื่อมิได้มอบให้ติดตามเรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายด้วยการที่ส่วนราชการผู้รับมอบอำนาจรู้ถึงการกระทำละเมิด ไม่ถือว่ากรมรู้ด้วย
กรมมอบอำนาจให้ส่วนราชการอื่นแจ้งความกล่าวโทษผู้กระทำละเมิด แต่เมื่อมิได้มอบให้ติดตามเรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายด้วยการที่ส่วนราชการผู้รับมอบอำนาจรู้ถึงการกระทำละเมิด ไม่ถือว่ากรมรู้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเปลี่ยนชื่อต่ออำเภอ: ถือว่าแจ้งแล้วหากอำเภอทราบเรื่องทั้งหมด
การที่อำเภอท้องที่ที่ผู้แจ้งขึ้นทะเบียนทหารและจำเลยที่แจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าทางราชการอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นแห่งเดียวกันและรับรู้เรื่องอยู่โดยตลอดแล้ว ก็ชอบที่จะดำเนินการแก้หนังสือสำคัญประจำตัวกับบัญชีหรือทะเบียนทหารได้เองอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องให้ผู้นั้นไปย้อนแจ้งการเปลี่ยนชื่ออีก ย่อมถือได้เสมือนหนึ่งว่าผู้นั้นได้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อไปแจ้งแก่นายอำเภอท้องที่ทราบอยู่ในตัวแล้ว ผู้นั้นจึงหาควรมีผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2489
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพชั้นสอบสวนเพิ่มเติม: ไม่ต้องแจ้งข้อหาซ้ำหากผู้ถูกสอบสวนทราบเรื่องแล้ว
เมื่อการสอบสวนครั้งแรก เจ้าพนักงานสอบสวนได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วว่าคำให้การอาจใช้ยันเขาได้ และจำเลยปฏิเสธ
เมื่อมีการสอบสวนเพิ่มเติมอีกเจ้าพนักงานไม่จำต้องปฏิบัติการนั้นซ้ำอีกหากจำเลยให้การรับสารภาพในการสอบสวนเพิ่มเติมก็ฟังประกอบการลงโทษจำเลยได้ เพราะมาตรา 134 มิได้บังคับให้ปฏิบัติทุกครั้ง
เมื่อมีการสอบสวนเพิ่มเติมอีกเจ้าพนักงานไม่จำต้องปฏิบัติการนั้นซ้ำอีกหากจำเลยให้การรับสารภาพในการสอบสวนเพิ่มเติมก็ฟังประกอบการลงโทษจำเลยได้ เพราะมาตรา 134 มิได้บังคับให้ปฏิบัติทุกครั้ง