พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของลูกหนี้ที่ฟื้นฟูกิจการ: การทวงหนี้ก่อนศาลสั่งฟื้นฟูต้องแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้หรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ตนเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และบุคคลภายนอกนั้นไม่ได้รับว่าเป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 แต่หากสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งอาจเกิดจากการกระทำของผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี ก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนจะต้องไปใช้วิธีการฟ้องร้องต่อศาลเป็นคดีแพ่งต่างหาก ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9), 90/25 และ 90/59 คดีนี้สิทธิเรียกร้องที่มีต่อบุคคลภายนอกของโจทก์ ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ ผู้ทำแผนจึงต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 ดังกล่าว โจทก์โดยผู้ทำแผนไม่มีอำนาจฟ้องคดีเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการชำระหนี้โดยไม่ชอบ
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว มีอำนาจเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมิสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (2)
ลูกจ้างและกรรมการของบริษัทจำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยผู้ให้กู้ จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 315 หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไป และการรับชำระหนี้ดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและบุคคลผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้อง ใช้สิทธิในการทวงถามหนี้เงินกู้จากลูกจ้างและกรรมการของจำเลยผู้กู้และไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เรียกร้องให้ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้
ลูกจ้างและกรรมการของบริษัทจำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยผู้ให้กู้ จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 315 หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไป และการรับชำระหนี้ดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและบุคคลผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้อง ใช้สิทธิในการทวงถามหนี้เงินกู้จากลูกจ้างและกรรมการของจำเลยผู้กู้และไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เรียกร้องให้ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(2) การที่ลูกจ้างและกรรมการของจำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ อ. ม. และ ส. ซึ่งเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลย โดยบุคคลทั้งสามไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315 หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไปและการรับชำระหนี้ดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและบุคคลทั้งสาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะต้องใช้สิทธิในการทวงถามหนี้เงินกู้ดังกล่าวจากลูกจ้างและกรรมการของจำเลยผู้กู้ยืมเงินจำนวนนั้นต่อไป ไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 เรียกร้องให้อ. ม. และ ส. ชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการทวงหนี้ผิดพลาด - จำเลยต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อ
++ เรื่อง ละเมิด ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกันกับลูกหนี้ แต่ก็มีภูมิลำเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจำเลยไม่เคยย้ายภูมิลำเนา อีกทั้งเมื่อโจทก์ติดต่อทนายความจำเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ ทนายความจำเลยหรือจำเลยกลับยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ชำระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทำให้โจทก์เกิดความกลัว จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวันลงข่าวเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหามูลเหตุของข่าวการเป็นหนี้จำเลย และลงความเห็นว่าถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริงโจทก์จะถูกลงโทษ โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้งความจริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความได้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว ดังนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อหรือไม่ไยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลังโดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทำการตรวจสอบเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจำเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความของจำเลยหรือจำเลยทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจำเลย รวมทั้งจำเลยยังได้ยืนยันที่จะฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความกลัวและนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนถูกหนังสือพิมพ์รายวันนำข่าวไปเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักร อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์อันจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้ว ครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความผิดเพื่อละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
++++++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++++++
++
++ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รับฎีกาจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย จึงมีปัญหาในชั้นฎีกาอันควรวินิจฉัยก็เฉพาะกรณีดังกล่าวเท่านั้น
++ จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกาความว่า ข้อเท็จจริงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยมอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังลูกหนี้ของจำเลยซึ่งมีชื่อและนามสกุลซ้ำกับโจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เข้าองค์ประกอบแห่งความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โดยมีนัยเป็นอย่างเดียวกันกับอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนมาด้วยว่า แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกันกับลูกหนี้ของจำเลย แต่ก็มีภูมิลำเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจำเลยไม่เคยย้ายภูมิลำเนาด้วย อีกทั้งเมื่อโจทก์ติดต่อทนายความจำเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ แต่ทนายความจำเลยหรือจำเลยกลับยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ดำเนินการชำระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทำให้โจทก์เกิดความกลัว จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวัน คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ลงข่าวเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหามูลเหตุของข่าวการเป็นหนี้จำเลยและลงความเห็นว่า ถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริงโจทก์จะถูกลงโทษ ทั้งโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้งความจริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความให้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว
++ ดังนั้น เมื่อจำเลยฎีกาได้เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่สามารถฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงดังกล่าวเนื่องจากทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยมีเพียง 25,000 บาทอันไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นและที่ศาลอุทธรณ์ได้ฟังมาจากพยานหลักฐานในสำนวนดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238ประกอบมาตรา 247
++ ศาลฎีกาเห็นว่า กรณีถือได้ว่า จำเลยประมาทเลินเล่อ หรือไม่ไยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลัง โดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทำการตรวจสอบเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจำเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความจำเลยหรือจำเลยที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจำเลย รวมทั้งจำเลยยังได้ยืนยันที่จะฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความกลัวและนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน มิหนำซ้ำยังถูกหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับนำข่าวไปเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักรอีก อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ อันจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้ว ครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความรับผิดเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ทุกประการ
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกันกับลูกหนี้ แต่ก็มีภูมิลำเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจำเลยไม่เคยย้ายภูมิลำเนา อีกทั้งเมื่อโจทก์ติดต่อทนายความจำเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ ทนายความจำเลยหรือจำเลยกลับยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ชำระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทำให้โจทก์เกิดความกลัว จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวันลงข่าวเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหามูลเหตุของข่าวการเป็นหนี้จำเลย และลงความเห็นว่าถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริงโจทก์จะถูกลงโทษ โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้งความจริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความได้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว ดังนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อหรือไม่ไยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลังโดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทำการตรวจสอบเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจำเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความของจำเลยหรือจำเลยทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจำเลย รวมทั้งจำเลยยังได้ยืนยันที่จะฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความกลัวและนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนถูกหนังสือพิมพ์รายวันนำข่าวไปเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักร อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์อันจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้ว ครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความผิดเพื่อละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
++++++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++++++
++
++ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รับฎีกาจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย จึงมีปัญหาในชั้นฎีกาอันควรวินิจฉัยก็เฉพาะกรณีดังกล่าวเท่านั้น
++ จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกาความว่า ข้อเท็จจริงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยมอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังลูกหนี้ของจำเลยซึ่งมีชื่อและนามสกุลซ้ำกับโจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เข้าองค์ประกอบแห่งความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โดยมีนัยเป็นอย่างเดียวกันกับอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนมาด้วยว่า แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกันกับลูกหนี้ของจำเลย แต่ก็มีภูมิลำเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจำเลยไม่เคยย้ายภูมิลำเนาด้วย อีกทั้งเมื่อโจทก์ติดต่อทนายความจำเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ แต่ทนายความจำเลยหรือจำเลยกลับยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ดำเนินการชำระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทำให้โจทก์เกิดความกลัว จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวัน คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ลงข่าวเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหามูลเหตุของข่าวการเป็นหนี้จำเลยและลงความเห็นว่า ถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริงโจทก์จะถูกลงโทษ ทั้งโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้งความจริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความให้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว
++ ดังนั้น เมื่อจำเลยฎีกาได้เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่สามารถฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงดังกล่าวเนื่องจากทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยมีเพียง 25,000 บาทอันไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นและที่ศาลอุทธรณ์ได้ฟังมาจากพยานหลักฐานในสำนวนดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238ประกอบมาตรา 247
++ ศาลฎีกาเห็นว่า กรณีถือได้ว่า จำเลยประมาทเลินเล่อ หรือไม่ไยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลัง โดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทำการตรวจสอบเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจำเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความจำเลยหรือจำเลยที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจำเลย รวมทั้งจำเลยยังได้ยืนยันที่จะฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความกลัวและนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน มิหนำซ้ำยังถูกหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับนำข่าวไปเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักรอีก อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ อันจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้ว ครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความรับผิดเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ทุกประการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการทวงหนี้ผิดพลาด - จำเลยต้องระมัดระวังตรวจสอบข้อมูลลูกหนี้ก่อนดำเนินการ
แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกันกับลูกหนี้ของจำเลย แต่ก็มีภูมิลำเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจำเลยไม่เคยย้ายภูมิลำเนา อีกทั้งเมื่อโจทก์ติดต่อทนายความจำเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ ทนายความจำเลยหรือจำเลยกลับยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ชำระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทำให้โจทก์เกิดความกลัว จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวันลงข่าวเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหามูลเหตุของข่าวการเป็นหนี้จำเลย และลงความเห็นว่าถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริงโจทก์จะถูกลงโทษ โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้งความจริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความให้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว ดังนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อหรือไม่ใยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลังโดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทำการตรวจสอบเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจำเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความของจำเลยหรือจำเลยทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจำเลย รวมทั้งจำเลยยังได้ยืนยันที่จะฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความกลัวและนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนถูกหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับนำข่าวไปเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักร อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์อันจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้วครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความผิดเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีล้มละลาย: การสะดุดหยุดของอายุความจากการทวงหนี้และการแก้ไขคำสั่งศาล
ผู้คัดค้านแจ้งให้ผู้ร้องทราบว่าผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ ผู้ร้องปฏิเสธหนี้ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องจากบัญชีลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสอง เจ้าหนี้และลูกหนี้ ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ร้องยังคงเป็นหนี้ลูกหนี้อยู่และมีคำสั่งให้แก้คำสั่งของผู้คัดค้าน คำสั่งนี้เป็นคำสั่งที่วินิจฉัยว่าคำสั่งของผู้คัดค้านไม่ถูกต้องและมีผลเท่ากับผู้คัดค้านมีความเห็นว่าผู้ร้องเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสอง ผู้คัดค้านต้องปฏิบัติตามคือต้องแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องทราบ และต้องแจ้งไปด้วยว่าถ้าจะคัดค้านให้ร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน ซึ่งผู้คัดค้านได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบแล้ว ผู้ร้องจึงมายื่นคำร้องคัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสาม เป็นคดีนี้ มาตราดังกล่าวบัญญัติให้ศาลพิจารณาจนเป็นที่พอใจว่าผู้ร้องเป็นหนี้หรือไม่ การที่ศาลจะพิจารณาจนเป็นที่พอใจได้นั้น ผู้ร้องสามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบว่าไม่ได้เป็นหนี้ได้ ทั้งในการพิจารณาคดีที่ขอให้แก้คำสั่งของผู้คัดค้านนี้ผู้ร้องไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องให้ต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใด
ผู้ร้องนำเช็คลงวันที่ 15 มีนาคม 2528 และวันที่ 16 เมษายน 2528 ของลูกหนี้ไปเรียกเก็บเงินได้แล้ว อายุความที่ลูกหนี้จะเรียกเงินคืนเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไปซึ่งมีอายุความ 10 ปี จึงครบกำหนดวันที่ 15 มีนาคม 2538 และวันที่ 16 เมษายน 2538และผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระเงินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ ซึ่งผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจกระทำได้ โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา193/14(5) แล้ว ไม่ใช่ต้องรอให้มีการออกหนังสือยืนยันหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสองเสียก่อน จึงจะถือว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงถามให้ผู้ร้องชำระเงินฉบับลงวันที่ 26 มีนาคม 2533 และผู้ร้องได้รับแล้ว ยังไม่เกิน 10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
ความเห็นของผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่เห็นว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี คำสั่งนี้ยังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากเจ้าหนี้รายที่ 33 และลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งของผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้อยู่อันมีผลให้ผู้คัดค้านต้องมีหนังสือแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสองอายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงจะนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 และ 193/18 มาใช้บังคับไม่ได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ จึงไม่ชอบ
ผู้ร้องนำเช็คลงวันที่ 15 มีนาคม 2528 และวันที่ 16 เมษายน 2528 ของลูกหนี้ไปเรียกเก็บเงินได้แล้ว อายุความที่ลูกหนี้จะเรียกเงินคืนเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไปซึ่งมีอายุความ 10 ปี จึงครบกำหนดวันที่ 15 มีนาคม 2538 และวันที่ 16 เมษายน 2538และผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระเงินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ ซึ่งผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจกระทำได้ โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา193/14(5) แล้ว ไม่ใช่ต้องรอให้มีการออกหนังสือยืนยันหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสองเสียก่อน จึงจะถือว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงถามให้ผู้ร้องชำระเงินฉบับลงวันที่ 26 มีนาคม 2533 และผู้ร้องได้รับแล้ว ยังไม่เกิน 10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
ความเห็นของผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่เห็นว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี คำสั่งนี้ยังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากเจ้าหนี้รายที่ 33 และลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งของผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้อยู่อันมีผลให้ผู้คัดค้านต้องมีหนังสือแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสองอายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงจะนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 และ 193/18 มาใช้บังคับไม่ได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ สิทธิเรียกร้องต้องเกิดขึ้นก่อนพิทักษ์ทรัพย์
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน จะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยดำเนินการทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 นั้น สิทธิเรียกร้องของจำเลยต้องมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เพราะเหตุว่าเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ไม่ว่าจะพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามจำเลยย่อมไม่มีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของตนเอง อำนาจดังกล่าวตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเพียงผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 6,22,24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้: สิทธิเรียกร้องต้องมีอยู่ก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยดำเนินการทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119นั้นสิทธิเรียกร้องของจำเลยต้องมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพราะเหตุว่าเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ว่าจะพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามจำเลยย่อมไม่มีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของตนเองอำนาจดังกล่าวตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเพียงผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา6,22,24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้หลังพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเรียกร้องต้องมีก่อนคำสั่งศาล
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยดำเนินการทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119นั้นสิทธิเรียกร้องของจำเลยต้องมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพราะเหตุว่าเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ว่าจะพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามจำเลยย่อมไม่มีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของตนเองอำนาจดังกล่าวตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเพียงผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา6,22,24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5094/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายและการทวงหนี้ค่าประเวณี ไม่เข้าข่ายปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 2 เข้าไปในห้องของโรงแรมกับผู้เสียหาย และพร้อมที่จะให้ผู้เสียหายร่วมประเวณีเพื่อจะได้เงินตอบแทนแล้ว แม้ผู้เสียหายจะได้ร่วมประเวณีกับจำเลยที่ 2 หรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็คิดว่าตนควรจะได้รับค่าร่วมประเวณีกับผู้เสียหาย 100 บาท เต็มจำนวน เมื่อผู้เสียหายไม่ยอมจ่ายเงินให้ครบตามที่ตกลงกันและยังขู่ว่าจะนำตำรวจมาจับ จำเลยที่ 2 จึงได้ใช้ท่อน้ำประปาตีขาผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายกับจำเลยที่ 2 ได้ทะเลาะวิวาทกันเรื่องเงินค่าร่วมประเวณีที่หน้าโรงแรมจึงได้ทำร้ายกัน ที่จำเลยที่ 2 ทวงเงินได้จากผู้เสียหายไป 100 บาท จึงไม่เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายขู่เอาทรัพย์จากผู้เสียหายโดยมีเจตนาทุจริต เมื่อผู้เสียหายถูกจำเลยที่ 2 ตีแล้ว ขณะกำลังยืนเจ็บอยู่ จำเลยที่ 2 วิ่งไปตามจำเลยที่ 1 และที่ 3 มาจำเลยที่ 1 ขู่ว่าจะให้หรือไม่และชกผู้เสียหาย 1 ที และจำเลยที่ 3 พูดว่าให้เขาไปเถอะเงิน 100 บาท เท่านั้น ผู้เสียหายจึงยอมให้เงินจำเลยที่ 3 ไป 100 บาทเพื่อเอาไปให้จำเลยที่ 2 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้องในภายหลัง มิได้สมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 2 ในเรื่องที่เกิดขึ้นมาก่อน เมื่อจำเลยที่ 2มิได้ใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อขู่เข็ญให้ผู้เสียหายส่งเงินให้ 100 บาท โดยมีเจตนาทุจริตแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ไม่มีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 2 ปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 และที่ 3 คงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391