คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทอดทิ้งคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความทอดทิ้งคดี ละเมิดต่อลูกความ - ศาลมีอำนาจวินิจฉัยและชดใช้ค่าเสียหายได้
แม้ พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 จะได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมรรยาททนายความไว้โดยเฉพาะแล้ว แต่ก็มิได้บัญญัติห้ามศาลที่จะวินิจฉัยว่าทนายความผู้มีพฤติกรรมที่ขัดต่อมรรยาททนายความตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 เป็นผู้ประพฤติผิดมรรยาททนายความ เพื่อวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่งในกรณีละเมิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า จำเลยทั้งสองประพฤติผิดข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 หมวด 3 ข้อ 12 (1) ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ไม่เป็นการก้าวล่วงอำนาจของคณะกรรมการมรรยาททนายความของสภาทนายความ
แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นลูกจ้างของบริษัท บ. และรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในคดีแพ่ง ในฐานะลูกจ้างของบริษัท บ. ก็ตาม แต่การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความ แต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นทนายความแก้ต่างให้ในคดีแพ่งดังกล่าว โดยนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่งถือได้ว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้ว จำเลยทั้งสองมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62เมื่อจำเลยทั้งสองทอดทิ้งคดีของโจทก์ ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้แพ้คดีโดยความผิดของจำเลยทั้งสอง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยทั้งสองได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองประพฤติผิดมรรยาททนายความฐานทอดทิ้งคดีทำให้โจทก์เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นทนายความของโจทก์ตามคำรับเป็นทนายความ เมื่อจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดี ทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของโจทก์ผู้เป็นลูกความของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์อยู่แล้ว ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า การทอดทิ้งคดีของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไม่สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอาจากบริษัท บ. ผู้รับประกันภัยได้ เพราะบริษัทดังกล่าวได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไปแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองโดยตรงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ เพราะผู้เอาประกันภัยรถยนต์ในคดีแพ่ง คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับบริษัท บ. นั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรจะได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เพราะไม่อาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความทอดทิ้งคดี ทำให้ลูกความเสียหาย มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
แม้พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528จะได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมรรยาททนายความไว้โดยเฉพาะแล้วแต่ก็มิได้บัญญัติห้ามศาลที่จะวินิจฉัยว่าทนายความผู้มีพฤติกรรมที่ขัดต่อมรรยาททนายความตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529เป็นผู้ประพฤติผิดมรรยาททนายความเพื่อวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่งในกรณีละเมิดการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3เห็นว่าจำเลยทั้งสองประพฤติผิดข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529หมวดข้อ3ข้อ12(1)ศาลอุทธรณ์ภาค3ก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่เป็นการก้าวล่วงอำนาจของคณะกรรมการมรรยาททนายความของสภาทนายความ แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นลูกจ้างของบริษัทป. และรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในคดีแพ่งในฐานะลูกจ้างของบริษัทบ.ก็ตามแต่การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นทนายความแก้ต่างให้คดีแพ่งดังกล่าวโดยนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60วรรคหนึ่งถือได้ว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้วจำเลยทั้งสองมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา62เมื่อจำเลยทั้งสองทอดทิ้งคดีของโจทก์ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้แพ้คดีโดยความผิดของจำเลยทั้งสองโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยทั้งสองได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3มีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองประพฤติผิดมรรยาททนายความฐานทอดทิ้งคดีทำให้โจทก์เสียหายการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายศาลอุทธรณ์ภาค3ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นนอกฟ้องนอกประเด็น จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นทนายความของโจทก์ตามคำรับเป็นทนายความเมื่อจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดีทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของโจทก์ผู้เป็นลูกความของจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์อยู่แล้วที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยว่าการทอดทิ้งคดีของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไม่สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอาจากบริษัทบ.ผู้รับประกันภัยได้เพราะบริษัทดังกล่าวได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไปแล้วโจทก์จึงได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองโดยตรงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบเพราะผู้เอาประกันภัยรถยนต์ในคดีแพ่งคือห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ไม่ใช่โจทก์โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับบริษัทบ.นั้นฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรจะได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งเพราะไม่อาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเรียกคู่ความแทนที่จำเลยเสียชีวิตและการไม่ถือว่าทอดทิ้งคดีภายในกำหนดเวลา
จำเลยตายก่อนฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเรียกภรรยาจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนภายในกำหนด 1 ปี แต่ปรากฏว่าภรรยาจำเลยไม่ได้รับมฤดก เนื่องจากจำเลยทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่บุตรทั้งสิ้น โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบุตรจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลย แม้จะยื่นคำร้องตอนหลังนี้เกินกำหนด 1 ปี แล้วนับแต่จำเลยตายก็ถือได้ว่าโจทก์มิได้ทอดทิ้งคดีของตนเสีย และจะถือว่าโจทก์ไม่มีคำขอภายใน 1 ปี ตามมาตรา 42 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเรียกคู่ความแทนจำเลยที่เสียชีวิตและการไม่ถือว่าทอดทิ้งคดีแม้จะล่าช้า
จำเลยตายก่อนฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเรียกภรรยาจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนภายในกำหนด 1 ปี แต่ปรากฏว่าภรรยาจำเลยไม่ได้รับมรดก เนื่องจากจำเลยทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่บุตรทั้งสิ้น โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบุตรจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลย แม้จะยื่นคำร้องตอนหลังนี้เกินกำหนด 1 ปีแล้วนับแต่จำเลยตายก็ถือได้ว่าโจทก์มิได้ทอดทิ้งคดีของตนเสียและจะถือว่าโจทก์ไม่มีคำขอภายใน 1 ปี ตามมาตรา 42 ไม่ได้