คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทะเบียนบ้าน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้มิได้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
พ.ร.ฏ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่นาย พ. จึงต้องนำพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาใช้บังคับกับกรณีของโจทก์ เมื่อโจทก์ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มา และกรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นว่าโจทก์ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญที่โจทก์มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและได้อาศัยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี จึงต้องถือว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตาม มาตรา 3 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎรกร มาตรา 91/2(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดเกี่ยวกับการแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อออกบัตรประจำตัวประชาชน และการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุก
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยกับพวกสนับสนุนให้ พ. ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งความอันเป็นเท็จว่า พ. เป็นคนมีสัญชาติไทยและไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นเหตุให้พนักงานเจ้าหน้าที่หลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 วรรคสาม การกระทำของจำเลยคงมีความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 (1) ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 86 ที่มีระวางโทษเบากว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 วรรคสาม จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่โจทก์บรรยายในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จในแบบคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านบุคคลประเภท 5 ทั้งที่ พ. มีเชื้อชาติและสัญชาติเขมรและร่วมกันแสดงหลักฐานดังกล่าวเพื่อเพิ่มชื่อ พ. ในทะเบียนบ้านและสนับสนุนให้ พ. ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าเป็นคนสัญชาติไทยจนเจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวคือเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6423/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: การแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อออกบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน
การที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อให้พวกของจำเลยที่ 1 มีชื่อในทะเบียนบ้าน และใช้หรือแสดงเอกสารเท็จดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งแม้จะได้กระทำคนละวันกันแต่ก็ได้กระทำต่อเนื่องกันโดยล้วนแต่มีความมุ่งหมายเพียงประการเดียวเพื่อให้เจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนแก่พวกของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานลงวันที่ในทะเบียนบ้านเท็จ ส่งผลให้ผู้ขาดคุณสมบัติได้รับการเลือกตั้ง ศาลยืนโทษ
จำเลยกรอกวันที่ย้ายเข้าลงในทะเบียนบ้านอันเป็นเท็จ เป็นการกระทำเพื่อให้ผู้อื่นมีรายการอย่างหนึ่งอย่างใดในทะเบียนบ้านโดยมิชอบ เมื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนำทะเบียนบ้านฉบับเจ้าของบ้านที่จำเลยกระทำดังกล่าวไปใช้สมัครรับเลือกตั้งจนได้รับการเลือกตั้งทั้งๆ ที่ขาดคุณสมบัติ ถือได้ว่าจำเลยช่วยส่งเสริมให้การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นซึ่งเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยของประเทศเป็นไปโดยไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม อันเป็นการบ่อนทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่ร้ายแรง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัครสมาชิกสภาตำบล: ภูมิลำเนาและการมีชื่อในทะเบียนบ้าน
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งต้องเป็นผู้มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำและมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านในตำบลนั้นเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหกเดือนจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ.2537 มาตรา 9 (2) นั้น หมายความว่า ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งดังกล่าวต้องมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำและมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านในตำบลที่อยู่ในเขตเลือกตั้งนั้นด้วย
การที่โจทก์มีบ้านอันเป็นภูมิลำเนาตามกฎหมายอยู่ในหมู่บ้านในตำบลนอกเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล แต่ได้ย้ายชื่อของตนจากบ้านนั้นเข้าไปอยู่ในฐานะผู้อาศัยในทะเบียนบ้านของผู้อื่นซึ่งอยู่ในเขตเลือกตั้งดังกล่าวเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยโจทก์ไม่จงใจย้ายภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ไปที่บ้านดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำและมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในเขตเลือกตั้ง โจทก์จึงขาดคุณสมบัติผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7281/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขรก.ทำเอกสารเท็จแจ้งเกิด-เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน มีความผิดตามมาตรา 157 และ 162(4) เป็นกรรมเดียว
จำเลยเป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครองประจำที่ทำการปกครอง มีหน้าที่เกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร ได้กรอกข้อความในสูติบัตรและรับรองการแจ้งเกิดอันเป็นเท็จแล้วเพิ่มชื่อบุคคลลงในทะเบียนบ้านเป็นการกระทำด้วยเจตนาเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันเป็นการกระทำกรรมเดียว การที่จำเลยจัดทำเอกสารเกี่ยวกับทะเบียนบ้านโดยฝ่าฝืนระเบียบที่กรมการปกครองกำหนดข้อบังคับไว้ ได้ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ราชการกรมการปกครองอยู่ในตัว เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7054/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านและการแจ้งความเท็จ: ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ
จำเลยได้เพิ่มชื่อ อ.ลงในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านแล้วได้มอบสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวคืนให้เจ้าของเก็บรักษาไว้ ยังมิได้อ้างและใช้เอกสารดังกล่าวแก่ผู้ใด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
ในขณะที่จำเลยกระทำผิด ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ และก่อนเกิดเหตุก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่า นายอำเภอได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ จำเลยจึงยังไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 157, 161 และ162 แต่จำเลยคงมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 265

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7054/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขทะเบียนบ้านโดยเจ้าพนักงาน แม้จะส่งมอบให้เจ้าบ้าน แต่ถือว่า 'ใช้' เอกสารปลอมตามกฎหมาย
จำเลยรับราชการตำแหน่งปลัดอำเภอได้ทำการปลอมเอกสารราชการโดยการกรอกข้อความเท็จเพิ่มเติมลงในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและฉบับอำเภอ หลังจากนั้นจำเลยได้มอบสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวคืนให้แก่เจ้าของบ้านเก็บรักษาไว้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงการมอบทะเบียนบ้านฉบับเจ้าของบ้านให้แก่เจ้าของบ้านนั้น จำเลยยังมิได้อ้างและใช้เอกสารดังกล่าวแก่ผู้ใด จำเลยกระทำตามระเบียบปฎิบัติของทางราชการที่จะต้องมอบทะเบียนบ้านฉบับเจ้าของบ้านให้แก่เจ้าบ้านเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาจำเลยคดีล้มละลาย: การจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน ไม่ทำให้สิ้นภูมิลำเนา
เดิมจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร จำเลยย้ายภูมิลำเนาไปอยู่จังหวัดลำพูนแล้วย้ายต่อไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 15/8 หมู่ที่ 1ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาอำเภอเมืองเชียงใหม่จำหน่ายชื่อจำเลยออกจากทะเบียนบ้านเดิมแล้วลงชื่อไว้ในทะเบียนคนบ้านกลาง การที่จำเลยย้ายไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่ แสดงว่า จำเลยมีถิ่นอันเป็นสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญที่จังหวัดเชียงใหม่ ถือได้ว่าจังหวัดเชียงใหม่เป็นภูมิลำเนาของจำเลย ส่วนที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ได้จำหน่ายชื่อจำเลยออกจากทะเบียนบ้านเดิม แล้วลงชื่อไว้ในทะเบียนคนบ้านกลางก็เนื่องจากไม่มีตัวอยู่ในบ้านและไม่ทราบที่อยู่ใหม่ มิใช่จำเลยได้ย้ายที่อยู่พร้อมด้วยเจตนาจะเปลี่ยนภูมิลำเนา จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนภูมิลำเนาไปจากจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ตามระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร สำหรับสำนักทะเบียนในเขตปฏิบัติการตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2528 ข้อ 52 และ 53ที่ให้ถือว่าทะเบียนคนบ้านกลางไม่ใช่ทะเบียนบ้าน และบุคคลซึ่งมีรายการปรากฏอยู่ในทะเบียนคนบ้านกลาง ไม่อาจจะขอคัดหรือรับรองสำเนารายการเพื่อนำไปอ้างอิงหรือใช้สิทธิในกรณีต่าง ๆ ได้เป็นเรื่องเพื่อประโยชน์ในการจัดทำทะเบียนราษฎรตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น จะถือว่าจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการยื่นฟ้องคดีล้มละลายหาได้ไม่ จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ในขณะยื่นฟ้องจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 ที่จะต้องไปยื่นฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ แต่โจทก์ยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดแพร่ ซึ่งไม่ใช่ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจแม้จะเป็นศาลมูลคดีเกิดก็ตาม ศาลจังหวัดแพร่ก็ไม่อาจรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาได้และกรณีมิใช่เป็นเรื่องจำเลยเป็นบุคคลที่ไม่มีภูมิลำเนาอันจะต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4มาใช้บังคับ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153หรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในบ้าน: พยานบุคคลพิสูจน์ได้แม้ไม่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ ทะเบียนบ้านไม่ใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์
ทะเบียนบ้านที่ระบุว่าผู้ร้องเป็นเจ้าบ้าน เป็นเพียงหลักฐานของทางราชการที่ระบุว่าใครเป็นเจ้าบ้านและมีใครอาศัยอยู่ในบ้านบ้าง ไม่ใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในบ้าน ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์ย่อมนำสืบพยานบุคคลและศาลย่อมรับฟังพยานบุคคลได้ ไม่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขพยานเอกสารอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.
of 4