พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดพ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์: ความผิดเฉพาะเจาะจง vs. ความผิดต่อเนื่อง
ความผิดฐานไม่จดทะเบียนพานิชย์เสียภายในกำหนด 30 วันอันมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาทนั้น ถ้าไม่ได้ฟ้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมขาดอายุความ แต่ความผิดในการที่ประกอบพานิชย์กิจต่อๆ มาโดยไม่ได้จดทะเบียนอันมีโทษปรับเป็นรายวันนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องปรับได้ไม่เกิน 1 ปี วันใดที่เกิน 1 ปี ย่อมขาดอายุความเช่นกัน(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2499)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ ศาลมีอำนาจกำหนดค่าปรับได้ตามความเหมาะสม แม้จะต่ำกว่าขั้นต่ำ
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์นั้น ศาลจะลงโทษรวมกันก็ได้และจะกำหนดค่าปรับเท่าไรก็ได้เมื่อไม่เกินขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดไว้
กรณีที่กฎหมายกำหนดให้ปรับไม่เกินวันละ 20 บาท นั้นศาลจะปรับต่ำกว่า 1 บาทก็ได้
กรณีที่กฎหมายกำหนดให้ปรับไม่เกินวันละ 20 บาท นั้นศาลจะปรับต่ำกว่า 1 บาทก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6894/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต: การยื่นสำเนาทะเบียนพาณิชย์เป็นเพียงข้อมูลประกอบการพิจารณา
แม้การค้าเร่และการค้าแผงลอยจะไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 มาตรา 7 (1) แต่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 ได้บัญญัติให้ผู้ประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน โดยในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงและมีกฎกระทรวงว่าด้วยการขอและออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่าและแลกเปลี่ยน จำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2552 ข้อ 1 (1) (ค) ได้กำหนดให้ผู้ขออนุญาตต้องนำเอกสารและหลักฐานซึ่งมีสำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ยื่นต่อนายทะเบียนพร้อมคำอนุญาตด้วย เอกสารและหลักฐานดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลที่จะให้นายทะเบียนใช้ประกอบในการพิจารณาเท่านั้น ซึ่งการไม่ยื่นสำเนาทะเบียนพาณิชย์ก็ไม่ใช่คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ขออนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์ตามที่มาตรา 39 ได้บัญญัติไว้ ดังนั้น จึงยังมิอาจถือได้ว่าจำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการภาพยนตร์ในความหมายตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 อันจะทำให้ฟ้องของโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด