พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทะเบียนหย่าและข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินเป็นเอกสารมหาชน การจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิไม่ใช่การโอนทรัพย์สิน
ทะเบียนการหย่าและบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน และให้ประชาชนตรวจดูอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสาร-มหาชน
เดิมที่พิพาทมีจำเลยที่ 1 และ ม.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกันต่อมา จำเลยที่ 1 กับ ม.จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ตกลงให้ที่พิพาทเป็นของ ม. บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเรียบร้อยแล้วนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่า และที่พิพาทตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลานั้น การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับที่พิพาทในเวลาต่อมา เป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงเท่านั้น หาใช่การทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งมีผลเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของตนอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และขอเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีฟังได้ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 และคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยที่ 1 กับที่ 3 จึงได้รับผลจากคำพิพากษานี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
เดิมที่พิพาทมีจำเลยที่ 1 และ ม.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกันต่อมา จำเลยที่ 1 กับ ม.จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ตกลงให้ที่พิพาทเป็นของ ม. บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเรียบร้อยแล้วนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่า และที่พิพาทตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลานั้น การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับที่พิพาทในเวลาต่อมา เป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงเท่านั้น หาใช่การทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งมีผลเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของตนอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และขอเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีฟังได้ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 และคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยที่ 1 กับที่ 3 จึงได้รับผลจากคำพิพากษานี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บ้านที่ตกเป็นของภริยาตามทะเบียนหย่า ถือเป็นกรรมสิทธิ์ภริยาทำพินัยกรรมยกได้
สามีภริยาได้จดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1512 แล้ว ซึ่งปรากฏในทะเบียนหย่าว่าบ้านพิพาทตกเป็นของภริยาการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวนี้ย่อมมีผลผูกพันสามี สามีจะโต้แย้งในภายหลังว่าการแบ่งบ้านพิพาทให้นี้ยังมิได้โอนทะเบียนกรรมสิทธิ์ยังเป็นของสามีอยู่หาได้ไม่ และกรณีไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หาด้วย เมื่อบ้านพิพาทตกเป็นของภริยา ภริยาย่อมทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้อื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าที่ไม่ชัดเจน ไม่มีสภาพบังคับได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า แม้จะเป็นข้อตกลงที่แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ว่า ในอนาคตหากจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินสิ่งหนึ่งสิ่งใด จำเลยที่ 1 จะยอมแบ่งให้แก่บุตรทั้งสาม อันหมายถึงบุตรของโจทก์และจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เนื้อหาตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นลักษณะที่ตกลงกันกว้าง ๆ ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะการระบุทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ เป็นการระบุที่ครอบคลุมทรัพย์สินทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งย่อมรวมทรัพย์สินทุกชนิดที่ได้มาในอนาคตและไม่จำกัดเวลา และในข้อตกลงส่วนที่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 นั้น ก็ไม่ระบุชัดเจนว่าจะแบ่งแก่บุตรคนใด เท่าใด อันหมายความแล้วแต่ดุลยพินิจของจำเลยที่ 1 ข้อตกลงดังกล่าวนี้ จึงไม่ชัดแจ้ง ไม่มีสภาพบังคับให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งสามารถปฏิบัติให้ตรงตามวัตถุที่ประสงค์แห่งข้อตกลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6388/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันทึกแบ่งทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่ามีผลผูกพัน ถือเป็นการแบ่งทรัพย์สินสมรสโดยสมบูรณ์
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นนับตั้งแต่วันที่มีการทำบันทึกแบ่งแยกทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์จึงตกเป็นสิทธิของ ร. ตั้งแต่เวลานั้น ไม่ใช่สินสมรสระหว่าง ร. และโจทก์ที่โจทก์จะมาขอแบ่งแยกได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตร: กรณีผลตรวจ DNA ขัดแย้งกับข้อตกลงในทะเบียนหย่า และฟ้องแย้งไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอบังคับให้โจทก์มีอำนาจปกครองเด็กหญิง จ. แต่เพียงผู้เดียวพร้อมทั้งให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์คืนโจทก์ โดยเป็นการเรียกบุตรคืนโดยอาศัยอำนาจปกครองบุตรตามที่โจทก์กับจำเลยทำบันทึกไว้ท้ายทะเบียนหย่า จำเลยฟ้องแย้งโดยขอให้ชดใช้ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่จำเลยต้องจ่ายไป ทั้งนี้หลังจากที่มีการทราบผลการตรวจวิเคราะห์พันธุกรรมว่าจำเลยไม่มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมเป็นบิดาของเด็กหญิง จ. ฟ้องแย้งในส่วนนี้ของจำเลยจึงเป็นฟ้องแย้งที่อาศัยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ในระหว่างพิจารณาคดีโดยเป็นการบังคับแก่โจทก์ให้ชำระค่าเสียหาย จึงเป็นคนละเรื่องกับคำฟ้องของโจทก์ซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6