คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทางการแพทย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 604/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์การวินิจฉัยข้อเท็จจริงทางการแพทย์ในคดีเงินทดแทน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนไปจากความเห็นแพทย์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์: การพิจารณาจากวัตถุประสงค์การผลิตและการใช้งานจริง
คำว่า "ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์หรือทันตกรรม" ตามบัญชีที่ 3 หมวด 2 (4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 43) พ.ศ. 2516 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับนั้น มิได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์ไว้ว่าหมายถึงผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง จึงต้องวินิจฉัยจากสภาพความเป็นจริงของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ว่าได้ผลิตขึ้นมุ่งประสงค์ใช้ในทางการแพทย์หรือทันตกรรมหรือไม่ ส่วนการที่ผู้ใช้บางคนจะนำเอาไปใช้ในกิจการอย่างอื่นผิดปกติวิสัยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง กฎหมายมิได้จำกัดว่าผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าข่ายตามบัญชีที่ 3 หมวด 2 (4) จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์หรือทันตกรรมโดยเฉพาะใช้ในกิจการอย่างอื่นไม่ได้เลย ดังนั้น ถ้วยยา กล่องใส่เครื่องมือแพทย์ ปากคีบ และจานรูปไต ที่โจทก์ผลิตขึ้นโดยมีลักษณะเฉพาะและใช้วัสดุในการผลิตเป็นพิเศษแสดงให้เห็นว่าผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายเป็นเครื่องใช้สำหรับการแพทย์และทันตกรรมเท่านั้น จึงถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ตามบัญชีที่ 3 หมวด 2 (4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์: การพิจารณาจากวัตถุประสงค์การผลิตและการใช้งานจริง
คำว่า "ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์หรือทันตกรรม" ตามบัญชีที่ 3 หมวด2(4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่43)พ.ศ.2516 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับนั้น มิได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์ไว้ว่าหมายถึงผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง จึงต้องวินิจฉัยจากสภาพความเป็นจริงของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ว่าได้ผลิตขึ้นมุ่งประสงค์ใช้ในทางการแพทย์หรือทันตกรรมหรือไม่ ส่วนการที่ผู้ใช้บางคนจะนำเอาไปใช้ในกิจการอย่างอื่นผิดปกติวิสัยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง กฎหมายมิได้จำกัดว่าผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าข่ายตามบัญชีที่ 3 หมวด 2(4)จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์หรือทันตกรรมโดยเฉพาะใช้ในกิจการอย่างอื่นไม่ได้เลย ดังนั้น ถ้วยยา กล่องใส่เครื่องมือแพทย์ ปากคีบ และจานรูปไต ที่โจทก์ผลิตขึ้นโดยมีลักษณะเฉพาะและใช้วัสดุในการผลิตเป็นพิเศษแสดงให้เห็นว่าผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายเป็นเครื่องใช้สำหรับการแพทย์และทันตกรรมเท่านั้น จึงถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ตามบัญชีที่ 3 หมวด 2(4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามข่มขืน vs. ทำอนาจารเด็ก: การพิจารณาจากพยานหลักฐานทางการแพทย์
ปรากฏว่าของลับของเด็กหญิงอายุ 6 ขวบชอกช้ำนิดหน่อยโดยถูกของลับของจำเลย ดังนี้ ยังไม่พอถือว่า จำเลยได้พยายามล่วงล้ำ ไม่เป็นผิดฐานพยายามข่มขืน คงผิดเพียงฐานทำอนาจาร
ศาลชั้นต้นลงโทษฐานอนาจารตามมาตรา 245 จำคุก 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ลงโทษฐานพยายามข่มขืนตาม ม. 244, และ 60 จำคุก 2 ปี ฎีกาในข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยประมาทและหน้าที่ความรับผิดชอบทางการแพทย์ การอ้างคำสั่งไม่ชอบ
ทำตามคำสั่งของผู้ที่ตนไม่ต้องฟังบังคับบัญชา ไม่ยกเว้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5573/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดทางการแพทย์: สัญญาช่วยเหลือไม่ใช่การรับสภาพหนี้
ตามสัญญาระบุว่า จำเลยที่ 3 ยินดีที่จะให้การช่วยเหลือโจทก์ที่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพและอาการป่วยจากการติดเชื้อเอชไอวีในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาประมาณ 5 ปี เป็นเงินจำนวนหนึ่งไม่เกิน 500,000 บาท โดยจำเลยที่ 3 จะนำเรื่องนี้ไปปรึกษาคณะกรรมการบริหารของจำเลยที่ 1 ก่อนและจะแจ้งผลให้ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้ แสดงว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขว่าต้องให้จำเลยที่ 3 นำไปปรึกษาคณะกรรมการบริหารของจำเลยที่ 1 ก่อน ซึ่งยังไม่แน่ว่าคณะกรรมการบริหารของจำเลยที่ 1 จะเห็นชอบและตกลงทำสัญญาดังกล่าวหรือไม่ ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงยังไม่ระงับไปตามสัญญา สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 อันมีผลเป็นการรับสภาพความรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 การใช้สิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายแต่ละมูลละเมิดของโจทก์จึงต้องใช้ภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือเดือนพฤษภาคม 2539 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 จึงล่วงพ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5958/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อทางการแพทย์: การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยล่าช้าทำให้เกิดความเสียหายทางกายและจิตใจ
ตามทางไต่สวนได้ความถึงอาการบาดเจ็บของโจทก์ว่า นอกจากการรักษาโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นแพทย์กระดูกและข้อแล้ว ยังมีขั้นตอนการรักษาหลอดเลือดที่แพทย์หลอดเลือดเข้ามารักษาอาการของโจทก์ โดยนายแพทย์ ว. ตรวจพบอาการเกิดตุ่มน้ำพองใสบริเวณขาซ้ายและข้อเท้าซ้ายมีสีคล้ำเกรงจะเกิดภาวะขาดเลือด เมื่อดำเนินการฉีดสีพบว่าเส้นเลือดที่เป็นเส้นหลักในการส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงขาซ้ายไม่ปรากฏในผลการตรวจ นายแพทย์ ว. ได้ปรึกษาผู้บริหารและปรึกษาแพทย์ทางโรงพยาบาลที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่และนายแพทย์ ก. ได้แนะนำให้ทำบายพาสด่วนโดยหาทีมแพทย์ท้องถิ่นหรือส่งต่อทางเครื่องบิน แต่นายแพทย์ ว. ส่งโจทก์ไปรักษาที่กรุงเทพมหานครด้วยรถพยาบาลของจำเลยที่ 1 โดยอ้างข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายโจทก์ด้วยเฮลิคอปเตอร์ว่าใช้ระยะเวลาในการประสานงาน การรอคิวว่างของเฮลิคอปเตอร์ที่ว่าต้องรออีก 2 ถึง 3 วัน การลงจอดรับผู้ป่วยต้องลงจอดที่สถานีตำรวจท้องที่นอกบริเวณโรงพยาบาลของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีรายละเอียดถึงข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายนับเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยไม่ได้พิสูจน์ให้เห็นเช่นนั้นตามภาระการพิสูจน์ ทั้งได้ความจากโจทก์ว่าญาติของโจทก์ขอให้เคลื่อนย้ายทางเฮลิคอปเตอร์ที่จำเลยที่ 1 จัดให้บริการเรียกว่า SKY ICU จำเลยที่ 1 แจ้งว่าเฮลิคอปเตอร์ไม่ว่างและไม่สามารถบินกลางคืนได้ โดยจำเลยที่ 1 มิได้ถามค้านโจทก์เพื่อหักล้างสมรรถนะของเฮลิคอปเตอร์ดังที่โจทก์เบิกความ คดีย่อมฟังได้ว่า เฮลิคอปเตอร์ที่จำเลยที่ 1 ให้บริการรับส่งผู้ป่วยทางอาการมิได้มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถบินในเวลากลางคืนได้ เมื่อคำโฆษณาประชาสัมพันธ์ของจำเลยที่ 1 ระบุว่า โรงพยาบาลมีบริการรับส่งผู้ป่วยทางอากาศ (Air Ambulance) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีผู้ใช้บริการมากราย หรือเฮลิคอปเตอร์ไม่มีคิวว่างที่จะเคลื่อนย้ายโจทก์ในวันนั้น คำโฆษณาประชาสัมพันธ์ของจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้โจทก์เชื่อว่า จำเลยที่ 1 มีบริการเช่นนั้นจริง นายแพทย์ ต. พยานจำเลย เบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่า การทำบายพาสเร่งด่วนให้ได้ภายใน 6 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เนื้อเยื่อหรือกล้ามเนื้อได้รับความเสียหาย เมื่อการเคลื่อนย้ายโจทก์ได้รับความยินยอมจากมารดาของโจทก์เมื่อเวลา 22 นาฬิกา และสามารถเคลื่อนย้ายด้วยรถพยาบาลเมื่อเวลา 3 นาฬิกา ของวันที่ 12 กำหนดถึงโรงพยาบาลที่กรุงเทพมหานครเวลาประมาณ 15 นาฬิกา เท่ากับใช้เวลาก่อนออกเดินทาง 5 ชั่วโมง เวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง จำเลยที่ 1 ย่อมตระหนักดีว่าระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายโจทก์เป็นข้อสำคัญที่ต้องดำเนินการทันท่วงที การเคลื่อนย้ายด้วยรถพยาบาลที่ต้องใช้เวลาดังกล่าวย่อมไม่สอดคล้องกับคำแนะนำและไม่เป็นผลดีต่อการรักษาอาการของโจทก์ เป็นการเลือกใช้วิธีเคลื่อนย้ายโจทก์ไปรักษาที่ไม่เหมาะสมแก่โจทก์ในสภาวการณ์เช่นนั้น คดีฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ใช้ความพยายามตามวิธีการและมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียในการรักษาและเคลื่อนย้ายโจทก์ตามสถานการณ์และอาการบาดเจ็บของโจทก์ในขณะนั้น การที่โจทก์ต้องถูกตัดขาเป็นผลสืบเนื่องมาจากการส่งตัวโจทก์ไปรักษาที่ล่าช้าเนิ่นนานเกินไป อันแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์เช่นโรงพยาบาลผู้มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งอาจใช้ความระมัดระวังเช่นนั้นได้ แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่ นับเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ในการดูแลรักษาโจทก์และเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย