คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทางนำสืบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7851/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง และการพิจารณาความชอบของฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ได้ระบุทางนำสืบ
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ได้บรรยายถึงเนื้อหาแห่งคำฟ้องคำให้การของจำเลย คำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้ง และเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 246 โจทก์หาจำต้องระบุทางนำสืบของคู่ความแต่ละฝ่ายมาในคำฟ้องอุทธรณ์ด้วยไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์เพิ่มอีก 7,400 บาท เป็นการไม่ชอบ เพราะโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยมิได้คืนรถยนต์ให้โจทก์โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นจำนวนไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10197/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีอาญาที่มีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และการพิจารณาค่าเสียหายที่เกินทางนำสืบ
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญา ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้" การที่บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาทุกประเภทที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ แสดงว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ผู้เสียหายซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยและต้องไปดำเนินคดีในส่วนแพ่งเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทน ดำเนินคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ต่อเนื่องกันไปได้ เพื่อให้การพิจารณาคดีส่วนแพ่งเป็นไปโดยรวดเร็ว ดังเช่นพนักงานอัยการร้องขอให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหาย กรณีไม่จำต้องคำนึงว่าศาลที่จะพิจารณาคดีอาญาจะเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 2 (1) และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) วรรคหนึ่ง และผู้เสียหายขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินมากน้อยเพียงใด ดังนี้แม้โจทก์ร่วมที่ 4 ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำนวนเงินที่ขอเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น แต่ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนแพ่งได้