พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7087/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การพิสูจน์ทางออกอื่นเพื่อใช้สิทธิทางผ่าน แม้มีทางออก แต่ต้องเป็นทางที่ใช้ได้โดยชอบ
โจทก์กับจำเลยท้ากันให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบที่พิพาท หากศาลเห็นว่าโจทก์มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะทางอื่นนอกจากทางพิพาทแล้ว โจทก์ยอมแพ้คดี หากไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะทางอื่น จำเลยยอมแพ้คดี ข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีทางสามทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่ทั้งสามทางจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่น ซึ่งไม่ปรากฏว่าเจ้าของที่ดินทั้งสามรายนี้ได้ยกที่ดินเป็นทางดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะหรือเป็นทางภาระจำยอม โจทก์ย่อมไม่อาจใช้ทางทั้งสามได้โดยชอบเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้ ซึ่งมีผลเท่ากับไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าถือไม่ได้ว่าทางออกดังกล่าวเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะตามที่ท้ากันและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีตามคำท้านั้น ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่คู่ความท้ากัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7087/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: ศาลพิพากษาตามคำท้าสืบเผชิญ หากไม่มีทางออกอื่นจริง แม้ทางอื่นเดินได้ยาก
โจทก์ทั้งสี่กับจำเลยทั้งสองตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบที่พิพาท หากศาลเห็นว่าโจทก์ทั้งสี่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะทางอื่นนอกจากทางพิพาทแล้ว โจทก์ทั้งสี่ยอมแพ้คดีหากไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะทางอื่นจำเลยทั้งสองยอมแพ้คดีข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นในการเดินเผชิญสืบตามที่คู่ความนำชี้ว่านอกจากที่พิพาทที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าเป็นทางแล้ว จำเลยทั้งสองนำชี้มีทางออกสู่ทางสาธารณะอีกสามเส้นทาง ซึ่งแต่ละเส้นทางเป็นทางเดินในสวนมีความกว้างขนาดคนเดินได้ ไม่ใช่ทางเข้าออกของรถยนต์ และต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่น ซึ่งเจ้าของที่ดินไม่ได้ยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะหรือเป็นทางภารจำยอม โจทก์ที่ 1 ย่อมไม่อาจใช้ทางได้โดยชอบเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ ซึ่งมีผลเท่ากับไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าถือไม่ได้ว่าทางดังกล่าวเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะตามที่ท้ากัน และพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดีตามคำท้านั้น ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่คู่ความท้ากัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อรั้วลวดหนามและสิ่งกีดขวางออกจากทางพิพาท ถ้าจำเลยทั้งสองไม่รื้อให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองร่วมกันเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน ดังนั้น หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์ที่ 1 มีสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปโดยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้ว โจทก์ที่ 1 จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อรั้วลวดหนามและสิ่งกีดขวางออกจากทางพิพาท ถ้าจำเลยทั้งสองไม่รื้อให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองร่วมกันเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน ดังนั้น หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์ที่ 1 มีสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปโดยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้ว โจทก์ที่ 1 จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นมิได้โอนไปพร้อมที่ดิน หากมีทางออกอื่น แม้ไม่สะดวก ก็ไม่ถือเป็นทางจำเป็น
การที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่โจทก์รับโอนมามีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยในฐานะทางจำเป็นมาก่อน ก็ไม่ได้หมายความว่า โจทก์จะได้สิทธิในทางพิพาทนั้นด้วยอย่างภารจำยอม เพราะทางจำเป็นมิใช่สิทธิที่ติดกับที่ดินที่จะโอนไปพร้อมกับที่ดินด้วยทั้งเป็นการจำกัดและริดรอนอำนาจกรรมสิทธิ์ที่ดินของบุคคลอื่น จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์รับโอนมามีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน แม้ส่วนที่ดินที่ติดกันกว้างเพียง 1.16 เมตร และทางเดินออกสู่ทางสาธารณะกว้างเพียง 1.35 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์ เท่านั้น หาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม/ทางจำเป็น: ระยะเวลาการใช้ทาง, การใช้เพื่อประโยชน์ตนเอง, และทางออกอื่น
โจทก์ซื้อที่ดินเมื่อปี 2531 จาก ส. หลังจากที่โจทก์ซื้อมาโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนแก้ววรวุฒินับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี ทางพิพาทจึงยังไม่ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แม้เจ้าของที่ดินอื่นได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของตนเกิน 10 ปีแต่เมื่อมิได้ใช้เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโจทก์ จึงจะนำระยะเวลาที่เจ้าของที่ดินอื่นใช้ประโยชน์ทางพิพาทดังกล่าวเพื่อทำให้ที่ดินของโจทก์ได้ภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้จะมีทางออกอื่น โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับให้เปิดทาง
แม้โจทก์ทั้งสองจะมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากที่ดินแปลงอื่นที่ได้แบ่งแยกจากที่ดินของ ถ.เช่นเดียวกับที่ดินของโจทก์เพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะได้แต่เมื่อทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองก็มีอำนาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น vs. ภารจำยอม: การมีทางออกอื่นย่อมตัดสิทธิทางจำเป็น
ฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ศาลจะพิจารณาพิพากษาว่า เป็นทางภาระจำยอมไม่ได้ เป็นคนละประเด็น
โจทก์คงใช้ทางอื่นไปลงแม่น้ำได้แล้ว จะอ้างสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยไปลงแม่น้ำอีกไม่ได้
โจทก์คงใช้ทางอื่นไปลงแม่น้ำได้แล้ว จะอ้างสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยไปลงแม่น้ำอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางจำเป็น แม้มีทางออกอื่น สิทธิยังคงอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350
ป.พ.พ. มาตรา 1350 ไม่ได้กำหนดถึงการสิ้นสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไว้ แม้โจทก์ใช้ที่ดินของบุคคลอื่นเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยตามมาตรา 1350 หมดไปโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: แม้มีทางออกอื่น การขอเปิดทางผ่านต้องพิจารณาความเสียหายที่น้อยที่สุด
การที่จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 มาใช้บังคับได้ต้องเป็นกรณีที่ที่ดินแปลงเดิมมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว เมื่อแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตรา 1349 ได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน
เดิมที่ดินของโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ต้องอาศัยที่ดินของผู้อื่นเดินผ่านเพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะ แต่การที่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินของผู้อื่นได้เพราะเขายินยอม มิใช่เป็นสิทธิตามกฎหมายต้องถือว่าไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 1350 แต่เป็นกรณีที่ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์สามารถที่จะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ตามมาตรา 1349
โจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้หลายทางโดยผ่านทางที่ดินของบุคคลอื่นที่มิได้หวงห้ามโจทก์ การที่โจทก์จะขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อความสะดวกของโจทก์ แต่ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องเดือดร้อนและเสียหาย และถ้าหากให้จำเลยที่ 1 เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็น จะทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรื้อบริเวณหลังบ้านด้านทิศตะวันออก อันจะทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนเป็นอย่างมาก และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม การกระทำของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เดิมที่ดินของโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ต้องอาศัยที่ดินของผู้อื่นเดินผ่านเพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะ แต่การที่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินของผู้อื่นได้เพราะเขายินยอม มิใช่เป็นสิทธิตามกฎหมายต้องถือว่าไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 1350 แต่เป็นกรณีที่ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์สามารถที่จะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ตามมาตรา 1349
โจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้หลายทางโดยผ่านทางที่ดินของบุคคลอื่นที่มิได้หวงห้ามโจทก์ การที่โจทก์จะขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อความสะดวกของโจทก์ แต่ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องเดือดร้อนและเสียหาย และถ้าหากให้จำเลยที่ 1 เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็น จะทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรื้อบริเวณหลังบ้านด้านทิศตะวันออก อันจะทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนเป็นอย่างมาก และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม การกระทำของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต