พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดและการบังคับใช้กับผู้ค้ำประกัน: อายุความทางอาญาเหนือกว่าอายุความทางแพ่ง
สัญญาค้ำประกันทำขึ้นขณะที่บัญชีอัตราอากรแสตมป์กำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 1 บาท แม้ภายหลังกฎหมายจะกำหนดให้ปิดอากรแสตมป์10 บาท สัญญาค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ 1 บาท นั้นก็ยังใช้ได้ไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐานคดีแพ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 โจทก์ฟ้องว่า ส. พนักงานของโจทก์ทุจริตเบียดบังเอาเงินของโจทก์เป็นประโยชน์ส่วนตัวแล้วหลบหนี เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิด มีโทษตาม ป.อ. มาตรา 352 ซึ่งมีอายุความ10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95(3) กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปีจึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 448วรรคสอง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในมูลหนี้ละเมิดที่ ส. ก่อขึ้น จึงใช้กำหนดอายุความ 10 ปี จำเลยจะยกอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรกซึ่งเป็นข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. มาตรา 694 หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีเช็คไม่มีเงิน ทำให้สิทธิฟ้องอาญาเป็นอันระงับ แม้จะไม่ได้ระบุถึงทางอาญาโดยชัดแจ้ง
จำเลยออกเช็คครั้งแรกสั่งจ่ายเมื่อครบ 10 เดือนครั้นถึงกำหนดธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินเพราะจำเลยไม่มีเงินในบัญชี ผู้เสียหายจึงร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่จำเลยฐานออกเช็คไม่มีเงินแต่มีคนไกล่เกลี่ย ผู้เสียหายจึงให้จำเลยผัดไปอีก 6 เดือน โดยจำเลยออกเช็คฉบับใหม่ให้ผู้เสียหาย ครั้นถึงกำหนดขึ้นเงินเช็คฉบับใหม่ธนาคารก็ปฏิเสธไม่จ่ายเงินอีกเพราะจำเลยไม่มีเงินในธนาคารผู้เสียหายจึงฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็ค ในคดีแพ่งคู่ความทำยอมกันโดยจำเลยยอมใช้เงินให้โจทก์ภายใน 15 วัน ในวันเดียวกันนั้นเอง ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานให้ดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้อัยการโจทก์จะมาฟ้องจำเลยในกรณีเดียวกันนี้เป็นคดีอาญาฐานออกเช็คไม่มีเงินตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ อีกหาได้ไม่เพราะคดีนี้เกี่ยวกับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โจทก์มุ่งประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา แต่ก็ปรากฏว่าผู้เสียหายเคยร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยมาครั้งหนึ่งแล้วแต่ผู้เสียหายก็ตกลงให้จำเลยออกเช็คให้ใหม่ ครั้นไม่ได้รับชำระอีก ผู้เสียหายก็ฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่ได้ดำเนินทางอาญา ต่อมาได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันให้จำเลยชำระเงินภายใน 15 วัน นับจากวันทำยอมในคดีแพ่งแม้ในสัญญายอมตามที่ผู้เสียหายและจำเลยกระทำกันในคดีแพ่งนี้จะไม่ได้พูดถึงทางอาญาเลยแต่ตามพฤติการณ์ต่างๆที่ผู้เสียหายและจำเลยได้ปฏิบัติต่อกันมาดังกล่าว ย่อมมุ่งหมายจะให้ระงับคดีในทางอาญาด้วยฉะนั้น แม้ผู้เสียหายจะไปร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเช็ครายนี้แก่จำเลยอีกก็ตามแต่เมื่อกรณีออกเช็คไม่มีเงินนี้เป็นความผิดต่อส่วนตัวการที่ผู้เสียหายกับจำเลยได้ประนีประนอมยอมความกันในกรณีนี้ จึงมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญารายนี้มาฟ้องจึงระงับไป(ประชุมใหญ่ครั้งที่5/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้สักในที่เอกชนก่อนกฎหมายใหม่: ผลย้อนหลังทางอาญาเป็นโมฆะ
มีไม้สักแปรรูปได้มาจากไม้ในที่เอกชนไว้ตั้งแต่ก่อนใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3)2494 ซึ่งขณะนั้นไม่เป็นความผิด แม้จะได้มีไว้ต่อมาจนใช้ พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3) แล้ว ซึ่งแม้เป็นไม้สักขึ้นในที่เอกชนก็เป็นไม้หวงห้ามนั้นการมีไม้นั้นก็ไม่เป็นความผิดเพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษทางอาญา: หลักเกณฑ์การพิจารณาความผิดเดิมและข้อยกเว้นตามกฎหมาย
การขอไห้เพิ่มโทสจำเลยตามม.72 นั้นโจทต้องบันยายไหฟ้องไห้ครบถ้วนตามหลักเกณท์ว่าโทสครั้งก่อนที่จำเลยพ้นไปนั้นเปนความผิดถานได เพราะถ้าหากเปนโทสถานลฟุโทสหรือประมาท สาลย่อมจะเพิ่มโทสไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดทางอาญา: การจับปลาในที่ห่างไกล ยังไม่ถือเป็นความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดวันที่ 15 มีนาคม 2486 ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำผิดแต่ปีแล้งที่แล้วย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้ เพียงแต่ถือสุ่มมาเพื่อจะจับปลา ยังห่างน้ำเพียงหนึ่งวาเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำการจับปลาไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับข้อกล่าวหาที่ครอบคลุมข้อเท็จจริงทั้งหมด และการเพิ่มโทษทางอาญา
ฟ้องโจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยพ้นโทษยังไม่เกิน 5 ปี จำเลยรับในข้อต้องโทษว่าเป็นความจริงแม้จะมิได้กล่าวเรื่องเวลาที่พ้นโทษมาด้วย ก็ต้องถือว่ารับเต็มในข้อนี้ คือตลอดถึงข้อ+โทษยังไม่เกิน 5 ปีด้วยจึงเพิ่มโทษได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยถูกผูกพันตามคำพิพากษาเดิม แม้จะอ้างว่าไม่ทราบ และการกระทำละเมิดหลังคำพิพากษาเดิมมีผลทางอาญา
เดิมโจทก์ร่วมฟ้อง ส. เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 902/2556 หมายเลขแดงที่ 2060/2557 ของศาลชั้นต้น ขอให้ขับไล่และรื้อถอนเสาปูนและรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินโจทก์ร่วม และห้าม ส. กับบริวารเกี่ยวข้อง จำเลยเป็นผู้รับมอบอำนาจ ส. ต่อสู้คดี ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ร่วม ทางที่อยู่ระหว่างที่ดินโจทก์ร่วมและ ส. เป็นทางสาธารณะ พิพากษาให้ ส. รื้อถอนเสาปูนและรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมและห้าม ส. กับบริวารเข้าเกี่ยวข้องหรือกระทำการใด ๆ ในที่ดินของโจทก์ร่วม คดีถึงที่สุด โดยคดีก่อน ส. กับจำเลยในฐานะผู้รับมอบอำนาจ ส. ให้การและเบิกความรับว่า พ. บิดาจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและที่ดินมือเปล่าหลายพันไร่ โดยใส่ชื่อ พ. ส. จำเลย กับบุตรอื่นของ พ. ในเอกสารสิทธิหลายฉบับบางฉบับใส่ชื่อผู้จัดการมรดกของ พ. เยี่ยงนี้ ส. จึงมีชื่อเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแทน พ. นับแต่วันออกเอกสารสิทธิ เมื่อ พ. ถึงแก่ความตาย ที่ดินย่อมเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ ส. และจำเลยรวมทั้งทายาทอื่นของ พ. การที่ ส. ผู้ถูกโจทก์ร่วมฟ้องในคดีเดิมย่อมอยู่ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกแทนจำเลยและทายาทอื่นของ พ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745, 1356 และ 1359 จึงต้องถือว่าจำเลยเป็นคู่ความเดียวกันกับ ส. และถูกผูกพันตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 หาใช่บุคคลภายนอกที่ไม่ถูกผูกพันตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีเดิมไม่ เมื่อคดีเดิมถึงที่สุดและเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามคำพิพากษาเสร็จแล้ว จำเลยกระทำละเมิดขึ้นใหม่ กรณีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลล่างทั้งสองในคดีเดิมวินิจฉัยไว้ว่าการกระทำของจำเลยจึงถือเป็นการละเมิดด้วยการปักเสาปูนและล้อมรั้วลวดหนามบนทางสาธารณประโยชน์ปิดกั้นเส้นทางรถยนต์ที่ใช้เข้าออกจากที่ดินของโจทก์ร่วม เมื่อคดีเดิม ส. ฎีกาโดยโจทก์ร่วมมิได้ฎีกา และต่อมา ส. แถลงขอยุติคดีโดยไม่ต้องการฎีกาต่อไปและขอถอนจำเลยจากการเป็นผู้รับมอบอำนาจ ศาลชั้นต้นอนุญาต คดีเดิมจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันแถลงดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง และผูกพันโจทก์ร่วมกับจำเลย การที่จำเลยยังคงดื้อรั้นดันทุรังไม่ยอมรับผลแห่งคำพิพากษาตามกฎหมายโดยยังคงเข้าไปปักเสาปูนและกั้นรั้วลวดหนาม ทั้งศาลชั้นต้นในคดีเดิมมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้รื้อถอนเสาปูนและรั้วรวดหนามบางส่วนตามที่คู่ความตกลงกัน จึงเป็นการกระทำโดยรู้อยู่แก่ใจว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีเดิมวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ร่วม ทางที่อยู่ระหว่างที่ดินโจทก์ร่วมและ ส.เป็นทางสาธารณะ ทั้งประสงค์ให้เกิดผลเป็นการปิดกั้นเส้นทางรถยนต์ที่โจทก์ร่วมใช้เข้าออกจากที่ดินพิพาทสู่ทางสาธารณะ ซึ่งจิตใจของวิญญูชนคนธรรมดาทั่วไปโดยวิสัยและพฤติการณ์เยี่ยงจำเลยพึงรับรู้และคาดหมายได้อย่างแน่แท้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสอง และเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 เดิม