พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะโดยปริยาย การรุกล้ำทาง และขอบเขตคำพิพากษา
เดิมทางพิพาทรวมอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่ของ ก. แล้ว ก. แบ่งให้บุตรแยกครอบครองเป็นส่วนสัด บุคคลทั่วไปได้ใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ทางสาธารณะเป็นเวลานานกว่า 10 ปีโดยไม่มีการหวงห้ามทางดังกล่าวจึงเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) โดยไม่จำต้องมีการจดทะเบียนยกให้เป็นทางสาธารณะต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
โจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยรื้อรั้วคอนกรีตที่รุกล้ำออกจากทางสาธารณะและทำให้ทางอยู่ในสภาพเดิมเท่านั้น ไม่ได้มีคำขอให้มีระยะถอยร่นจากแนวรั้วนั้น คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาว่าโดยให้มีระยะถอยร่นจากแนวรั้วดังกล่าวเป็นระยะ 75 เซนติเมตรให้เสมอกับแนวชายคาหน้าบ้านที่ปลูกอยู่ติดกับรั้วคอนกรีตของจำเลยจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยรื้อรั้วคอนกรีตที่รุกล้ำออกจากทางสาธารณะและทำให้ทางอยู่ในสภาพเดิมเท่านั้น ไม่ได้มีคำขอให้มีระยะถอยร่นจากแนวรั้วนั้น คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาว่าโดยให้มีระยะถอยร่นจากแนวรั้วดังกล่าวเป็นระยะ 75 เซนติเมตรให้เสมอกับแนวชายคาหน้าบ้านที่ปลูกอยู่ติดกับรั้วคอนกรีตของจำเลยจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อที่ดินแบ่งแยกจากแปลงเดิม แม้เคยเป็นแปลงเดียวกันสิทธิจึงไม่สะท้อนถึงที่ดินแปลงใหม่
เมื่อที่ดินของโจทก์ทั้งสี่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1682 ต้องถือเคร่งครัดว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสี่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1682 เท่านั้น แม้ที่ดินโฉนดเลขที่ 1682 จะเคยเป็นที่แปลงเดียวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 23574 ของจำเลยมาก่อนก็ตาม จะถือโดยอนุโลมว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสี่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 23574 ด้วยไม่ได้ โจทก์ทั้งสี่จึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินโฉนดหมายเลข 23574 ออกไปสู่ถนนสาธารณะได้โจทก์ทั้งสี่คงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะภายในบริเวณที่ดินโฉนดเลขที่ 1682 เท่านั้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7113/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตทางภารจำยอม: ศาลกำหนดความกว้างได้หากคำพิพากษาไม่ได้กำหนดไว้ โดยพิจารณาจากลักษณะการใช้เป็นทางเดิน
ตามคำพิพากษาได้ระบุว่าที่ดินของจำเลยตามเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสยาว 25 เมตร ตามแผนที่พิพาทเป็นทางภารจำยอม ย่อมหมายถึงเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสเท่านั้น หาได้หมายถึงเส้นสีเขียวในแผนที่สังเขปด้านทิศตะวันตกอีกเส้นหนึ่งที่อยู่ถัดไปไม่ เมื่อคำพิพากษานั้นไม่กำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภารจำยอมนั้นไว้ ศาลก็ย่อมกำหนดความกว้างของทางเดินพิพาทนั้นได้เพื่อให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภารจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภารจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภารจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภารจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่ลดหรือเสื่อมความสะดวก แม้มีการติดตั้งสิ่งปลูกสร้างและจอดรถบนทางเดิน
จำเลยจดทะเบียนยอมให้ที่ดินของจำเลยบางส่วน อยู่ในบังคับทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยให้ใช้เป็น ทางเข้าออก ต่อมาจำเลยติดตั้งป้ายโฆษณาใกล้บริเวณทางเข้าออกและปลูกต้นอโศก อินเดียตามแนวยาวของทางภารจำยอม ประมาณ 13 เมตร แต่ต้นอโศก อินเดียเป็นต้นไม้ที่ขึ้นสูงในแนวตรง มีกิ่งและใบลู่ ลงตามลำต้น แม้จะมีบางส่วนล้ำเข้ามาในทางภารจำยอม บ้างก็ไม่เป็นที่กีดขวางทางเข้าออกแต่อย่างใด ส่วนป้ายโฆษณาที่ จำเลยได้ติดตั้งขนานไปกับทางภารจำยอมนั้นก็อยู่ในแนว ใกล้เคียงกับป้ายโฆษณาของโจทก์ แต่อยู่ในระดับที่สูงกว่า ไม่กีดขวางรถยนต์ที่แล่นเข้าหรือออกจากทางภารจำยอม การติดตั้งป้ายโฆษณาและปลูกต้นอโศก อินเดียจึงไม่ทำให้ประโยชน์ในการใช้ทางภารจำยอมของโจทก์ลดลงหรือเสื่อมความสะดวกไป แม้รถยนต์ที่จอดอยู่ใต้ชายคาอาคารของจำเลยซึ่งอาจล้ำเข้ามา บนทางภารจำยอมบ้าง แต่รถยนต์ก็ยังสามารถแล่นเข้าออก สวนทางกันได้ และจำเลยยังจัดให้มียามรักษาการณ์เพื่อดูแล การจอดรถยนต์บนทางภารจำยอมมิให้กีดขวางหรือเป็นอุปสรรค ในการเข้าออกของรถยนต์ ซึ่งโจทก์ยังสามารถขับรถยนต์แล่น เข้าออกบนทางภารจำยอมได้ตามปกติ การกระทำของจำเลย จึงยังไม่ทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดหรือเสื่อมความสะดวก แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องทางเดิน: ที่ดินแบ่งแยกต้องขอทางเดินจากที่ดินเดิมแบ่งแยกเท่านั้น
การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจาก ที่ดินโฉนดเลขที่ 4383 โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดิน ผ่านที่ดินแปลงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินของจำเลย เป็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องและจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 4383ซึ่งอยู่ติดคลองบางกรวย อันเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว แม้โจทก์จะมีความจำเป็นต้องเดินทางโดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะไม่สะดวกที่จะเดินทางโดยทางเรือ แต่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 บัญญัติให้เจ้าของที่ดินแปลงที่แบ่งแยกเรียกร้องเอาทางเดินได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกกันโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี และการรุกล้ำแนวเขตทางเดิน
โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 กั้นรั้วสังกะสีในทางพิพาทอันเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายด้วยถ้อยคำว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและด้วยเจตนาให้เป็นภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่ก็ได้บรรยายไว้ชัดแจ้งว่าที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่60457 และ 70344 และที่ดินโฉนดเลขที่ 60458 ของจำเลยที่ 1 ซึ่งโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 เดิมเป็นของ ล. ก่อนที่ ล.จะจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่60458 ให้จำเลยที่ 1 ล.ได้แบ่งแยกที่ดินในนามเดิมโดยกันที่ดินส่วนหนึ่งกว้าง1 เมตร ยาว 12 เมตร ด้านทิศตะวันตก (ทางพิพาท) ให้เป็นภาระจำยอมต่อมาจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 60458 นำช่างแผนที่ไปรังวัดที่ดินโฉนดเลขที่ 60458 ด้านทิศตะวันตกรุกล้ำแนวเขตที่ดินที่เป็นทางภาระจำยอมดังกล่าวแล้วกั้นรั้วสังกะสีปิดกั้นทางเดินทำให้ที่ดินที่เป็นภาระจำยอมนั้นลดและแคบลงคงเหลือกว้าง 1 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้เช่นเคยปฏิบัติกันมาตามปกติที่เคยใช้เป็นทางภาระจำยอม กว้าง 2 เมตร ยาว 12 เมตร มานานไม่น้อยกว่า 20 ปีเศษข้อความที่ว่า ล.กันทางพิพาทให้เป็นภาระจำยอมและโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทอย่างภาระจำยอมดังกล่าวเข้าออกสู่ทางสาธารณะตามปกติอย่างภาระจำยอมไม่น้อยกว่า 20 ปีเศษนั้น มีความหมายเช่นเดียวกับข้อความว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปี ถือได้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายข้อความครบถ้วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา1382 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6189/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอม ทางเดินร่วม การสร้างโรงรถบนที่ดินโต้แย้ง และกรรมสิทธิ์รวมในสิ่งปลูกสร้าง
ตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องมีใจความว่า ทางเดินพื้นคอนกรีตที่ได้ขยายขึ้นใหม่เพื่อเป็นทางคนและรถยนต์ผ่านเข้าออกระหว่างตัวบ้านกับถนนอรุณอัมรินทร์ภายในเส้นสีเขียวตามคำฟ้องข้อ 3 แผนที่ท้ายฟ้องหมายเลข 4ซึ่งเกิดขึ้นตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบิดาจำเลยทั้งสองนั้น บัดนี้ได้ใช้ร่วมกันตลอดมาเป็นเวลาเกินสิบปีแล้วโจทก์จึงได้ภารจำยอมทางเดินพิพาทโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แล้วนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วและเป็นประเด็นที่ยกขึ้นใหม่จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันกับฟ้องเดิม คำร้องขอเพิ่มเติม ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 แม้ในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ศ.ดำเนินคดีแทนโจทก์ จะไม่มีคำว่า ทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นก็ตาม แต่หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุให้ ศ.มีอำนาจดำเนินคดีแพ่งกับจำเลย ในกรณีที่จำเลยปิดประตูเหล็กห้ามมิให้โจทก์ใช้ที่ดินเป็นทางไปสู่ที่ดินและบ้านของโจทก์อันหมายถึงปิดทางในที่ดินพิพาท ซึ่งอาจจะเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นก็ได้แล้วแต่กรณี การฟ้องคดีตามคำฟ้องของ ศ. เป็นการกระทำที่อยู่ในขอบเขตของการมอบอำนาจของโจทก์ บิดาโจทก์เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 3064 เดิม และ ส.เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2670 ได้สละที่ดินซึ่งคั่นกลางระหว่างที่ดินโจทก์กับจำเลยทั้งสองในปัจจุบันให้เป็นทางเดินร่วมกันเพื่อออกไปสู่ถนน ตั้งแต่ปี 2463 แล้ว จากนั้นบิดาโจทก์โจทก์ ญาติพี่น้องพร้อมทั้งบริวารได้ทางเดินดังกล่าวโดยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้สิทธิภารจำยอมติดต่อกันมาเกินสิบปี โดยไม่มีผู้ใดทักท้วง เป็นการที่โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทโดยปรปักษ์ มิใช่โดยถือวิสาสะทางพิพาทจึงเป็นทางภารจำยอม แม้ทางในกรอบสีเขียวที่โจทก์อ้างว่าก่อนตั้งขึ้นโดยสัญญา ระหว่างโจทก์กับ ป. บิดาจำเลยจะมีอยู่ก็ตาม แต่ตามนิติกรรมการก่อตั้งมิได้มีระยะเวลากำหนดไว้ให้ใช้ได้นานเพียงใด ฉะนั้นคู่กรณีหรือผู้รับโอนสิทธิต่อมาย่อมจะยกเลิกเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้ การที่จำเลยซึ่งรับโอนสิทธิและหน้าที่จากป.ไปปิดประตูเหล็กกั้นมิให้โจทก์และบริวารเข้าออกไปสู่ถนนสาธารณะ แสดงว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญาก่อตั้งทางภารจำยอมดังกล่าว เมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการได้มาทั้งยังมิได้สิทธิโดยอายุความ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทในกรอบสีเขียวได้อีกต่อไป โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายให้แก่ป. บิดาจำเลยในการก่อสร้างทำพื้นคอนกรีตโรงรถกับประตูเหล็กเพื่อเป็นการช่วยเหลือค่าก่อสร้างเพื่อให้สิ่งปลูกสร้างมีความมั่นคงถาวรเป็นประโยชน์แก่การใช้ทรัพย์ของโจทก์มิใช่ช่วยออกเงินโดยเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์นั้นโจทก์จึงไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในพื้นคอนกรีตและสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า สิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเป็นส่วนควบกับที่ดินโจทก์และ ป. โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้นเป็นข้อที่โจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ได้ยกขึ้นมาโดยชอบในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5114/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและการยอมรับสภาพทางจำเป็น – การใช้ทางเดินและข้อจำกัดการใช้รถยนต์
การที่โจทก์และครอบครัวใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งหรือหวงห้ามไม่ให้ใช้ทางเดินแต่อย่างใด แต่กลับได้ความว่าจำเลยมีเจตนาให้ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมมาแล้วตั้งแต่ปี 2516 ดังนี้ การใช้ทางพิพาทของโจทก์จึงหาใช่ใช้โดยถือวิสาสะไม่ เมื่อโจทก์ได้ใช้ทางดังกล่าวเป็นทางเดินโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลากว่าสิบปีแล้วจึงได้ภารจำยอม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวโจทก์รู้ดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่อาจใช้รถยนต์แล่นเข้าออกผ่านทางพิพาทได้คงใช้ทางพิพาทได้เฉพาะการเดินเข้าออกเท่านั้น ดังนี้เมื่อโจทก์ยอมรับสภาพการที่จะไม่ใช้รถยนต์เข้าออกในทางพิพาท ขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวมา ทั้งก่อนที่โจทก์จะซื้อรถยนต์โจทก์ก็รู้อยู่แล้วว่า โจทก์ไม่อาจนำรถยนต์เข้าออกที่ดินและตึกแถวของโจทก์ผ่านทางพิพาทได้ เท่ากับโจทก์ยอมรับสภาพที่จะต้องจอดรถยนต์ไว้ในสถานที่อื่นโจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อการใช้รถยนต์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4937/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อที่ดินแบ่งแยก - การพิสูจน์ทางออกสู่สาธารณะ - การกำหนดความกว้างทางจำเป็น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ที่บัญญัติว่าถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร์ ท่าว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันและไม่ต้องเสียค่าทดแทนนั้น มีความหมายว่าที่ดินเดิมก่อนมีการแบ่งแยกมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว แต่เพราะเหตุที่มีการแบ่งแยก เป็นหลายแปลงทำให้ที่ดินบางแปลงไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ได้เลยหากที่ดินที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันนั้น แม้ไม่มี ทางออกสู่ทางสาธารณะเดิมก่อนมีการแบ่งแยก แต่ก็ยังมีทางออก สู่ทางสาธารณะในทางอื่นด้วยแล้วเช่นนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าทีดินแปลงที่แบ่งแยกนั้นไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะอันจะนำบทบัญญัติในมาตรา 1350 ดังกล่าวมาใช้บังคับได้ คดีนี้แม้จำเลยจะให้การรับว่าที่ดินโจทก์หลังจากแบ่งแยกแล้วทำให้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้งด้วยว่า โจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะทางด้านทิศใต้ โดยผ่านที่ดินของ ท.และเป็นทางที่ ม.เจ้าของที่ดินเดิมตลอดจนบิดามารดาโจทก์ใช้เป็นเส้นทาง เข้าออกมาโดยตลอดทั้งเป็นทางที่สะดวกและเหมาะสมกว่าทางอื่นซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่จำเลยให้การแล้ว ย่อมแสดงว่าที่ดินโจทก์หลังการแบ่งแยกแล้ว หาได้ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะดังที่โจทก์ฟ้องไม่ ศาลชั้นต้นงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นโดยกำหนดความกว้างให้ 3.25 เมตร โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเหตุใดศาลชั้นต้นจึงกำหนดเช่นนั้น และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสามบังคับไว้ว่า ทางจำเป็นต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิผ่านกับให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ซึ่งล้วนแล้วแต่จะต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีกรณีจึงต้องให้คู่ความนำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและพิพากษาคดีดังกล่าวมา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่สาธารณะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ที่บัญญัติว่า ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันและไม่ต้องเสียค่าทดแทนนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 17462 แบ่งแยกมาจากที่ดินของ บ. อีกทั้งที่ดินของโจทก์ดังกล่าวมีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ แม้โจทก์จะสามารถเข้าออกผ่านที่ดินของ ช.ก็ดี แต่การเข้าออกผ่านที่ดินของ ช.ยังจะต้องเข้าออกผ่านที่ดินของ บ.ส่วนที่เป็นถนนอีกทอดหนึ่ง การผ่านที่ดินของ ช.เป็นเรื่องของความยินยอม หาใช่สิทธิตามกฎหมายไม่กรณีต้องถือว่าที่ดินของโจทก์ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดช่องทางพิพาทเป็นทางเข้าออก
ถึงแม้จะต้องรื้อรั้วเฉพาะส่วนที่ปิดช่องทางเข้าออกของโจทก์ออกแต่ก็เพื่อให้ที่ดินโจทก์เชื่อมต่อกับทางพิพาทซึ่งจำเลยเองก็ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสาธารณะอยู่แล้ว น่าจะทำให้จำเลยเสียหายน้อยที่สุด ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้ตามกฎหมาย และไม่ถือว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริต
ถึงแม้จะต้องรื้อรั้วเฉพาะส่วนที่ปิดช่องทางเข้าออกของโจทก์ออกแต่ก็เพื่อให้ที่ดินโจทก์เชื่อมต่อกับทางพิพาทซึ่งจำเลยเองก็ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสาธารณะอยู่แล้ว น่าจะทำให้จำเลยเสียหายน้อยที่สุด ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้ตามกฎหมาย และไม่ถือว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริต