พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7344/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางเท้าและกันสาดในโครงการจัดสรรต่อเนื่องเกิน 10 ปี ทำให้เกิดภาระจำยอม
ที่ดินโฉนดที่โจทก์ซื้อมามีสภาพเป็นถนนในโครงการจัดสรรของเจ้าของที่ดินเดิมเพื่อใช้เข้าออกสู่ทางสาธารณะทั้งหมดและในขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินมาอาคารของจำเลยมีทางเท้าและกันสาดอยู่ก่อนแล้ว โดยเจ้าของที่ดินเดิมประสงค์ให้ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาเป็นแนวถนนของที่ดินที่แบ่งจัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของจำเลยด้วย และให้ทางเท้าและกันสาดด้านหน้าอาคารพาณิชย์ทุกหลังเป็นสาธารณูปโภคสำหรับผู้ซื้ออาคารพาณิชย์ในโครงการได้ใช้ร่วมกัน การที่จำเลยได้กระทำโดยสุจริตเพื่อการใช้ทางเท้าและกันสาดดังกล่าวมาก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินของโจทก์ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งตามพฤติการณ์ของผู้ซื้ออาคารพาณิชย์ไม่อาจถือได้ว่าการใช้ที่ดินของจำเลยเป็นการใช้ที่ดินของโจทก์ส่วนที่พิพาทซึ่งมีสภาพเป็นพื้นที่ใช้สอยร่วมกันภายในโครงการจัดสรรที่มีมาแต่เดิมโดยการถือวิสาสะ จึงนับได้ว่ามีลักษณะเป็นการใช้สิทธิเป็นปรปักษ์ต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน เมื่อจำเลยใช้มาเกินกว่า 10 ปีที่ดินของโจทก์จึงตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยเกี่ยวกับการใช้ทางเท้าและกันสาดนั้นโดยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5157/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นการครอบครองอย่างเปิดเผยและต่อเนื่อง มิใช่แค่การใช้ประโยชน์ชั่วคราว และประเด็นนอกฟ้อง
ที่ดินพิพาทเป็นทางเท้าซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถใช้สัญจรไปมาได้ พฤติการณ์ของโจทก์ที่ครอบครองใช้สอยในที่ดินพิพาทโดยเพียงแต่นำตู้กระจกที่ใส่สินค้าออกไปวางขายในช่วงเช้าแล้วนำเข้าเก็บเมื่อปิดร้านค้า ครั้นปิดร้านค้าแล้วก็มิได้สงวนสิทธิในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด คงปล่อยให้คนสัญจรไปมาดังเช่นทางเท้าทั่วไป ดังนี้ แม้โจทก์จะวางตู้กระจกขายสินค้ามาเป็นเวลาช้านานก็คงเป็นเพียงการถือวิสาสะเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทในบางเวลาเป็นการชั่วคราวเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของอันจะมีลักษณะเป็นการครอบครองอย่างปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382
โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องโดยชัดแจ้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์การที่โจทก์ฎีกาว่า ป.ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ก่อสร้างตึกแถวยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วนั้น จึงเป็นการฎีกาในเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ฎีกาของโจทก์ส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องโดยชัดแจ้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์การที่โจทก์ฎีกาว่า ป.ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ก่อสร้างตึกแถวยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วนั้น จึงเป็นการฎีกาในเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ฎีกาของโจทก์ส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อกฎหมายข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครในชั้นบังคับคดี: ต้องยกในศาลชั้นต้นเท่านั้น
ปัญหาในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาที่บังคับให้จำเลยออกจาก ที่พิพาทที่ผู้ร้องอ้างว่าสถานที่เช่าพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย เป็นทางเท้าตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่อันจะทำให้สัญญาเช่าเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนข้อบัญญัติดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้อง ทั้งไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อคำร้องของ ผู้ร้องมิได้อ้างว่าสถานที่เช่าเป็นทางเท้าตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำร้องและเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมแคบใช้ทางเท้า โจทก์ใช้รถยนต์เพิ่มภาระแก่ภารยทรัพย์ ศาลฎีกายกฟ้อง
ทางภารจำยอมกว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 60 เมตร ซึ่งเจ้าของสามยทรัพย์มีเจตนาโดยชัดแจ้งที่จะให้ใช้ทางนี้เป็นทางเดินเข้าเท่านั้น และโจทก์ผู้เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ก็รู้เจตนาดังกล่าวดีอยู่แล้ว ดังนี้ การที่โจทก์จะใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกในทางภารจำยอมอันจะต้องใช้ทางกว้างขึ้น จึงเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ แม้ต่อมาภายหลังโจทก์จะมีรถยนต์เป็นเหตุให้โจทก์มีความจำเป็นต้องใช้รถยนต์ผ่านทางภารจำยอมโจทก์ ก็ไม่มีสิทธิจะทำเช่นนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 และ 1389
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลประมาทเลินเล่อไม่ซ่อมทางเท้า ทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ
เทศบาลจำเลยมีหน้าที่ซ่อมแซมถนน จำเลยไม่ทราบว่ามีทางเท้าเป็นหลุมขนาดใหญ่มา 2 ปี จำเลยไม่ซ่อมเป็นเหตุให้โจทก์เดินตกลงไปซึ่งโจทก์คาดหมายได้ว่าทางสาธารณะจะไม่มีหลุมเช่นนั้น จำเลยประมาทเลินเล่อฝ่ายเดียว จำเลยไม่สืบพยานแก้ในข้อค่าเสียหายไม่ถือว่ายอมรับตามที่โจทก์นำสืบ ศาลกำหนดให้ได้ตามควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1571/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทางเท้า การละเลยทำให้เกิดอันตรายต้องรับผิดชอบต่อผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาล จำเลยที่ 2 รับจ้างจำเลยที่1 ทำท่อระบายน้ำและทางเท้าสาธารณะซึ่งอยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ละเว้นไม่ทำการป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้ถนนหรือทางเท้าตามหน้าที่ให้เรียบร้อย โดยไม่ปิดฝาบ่อและ.ไม่มีแสงสว่างให้เห็นทั้งไม่มีเครื่องหมายหรือเครื่องปิดกั้นแสดงไว้ให้ทราบฉะนั้น การที่โจทก์พลัดตกลงไปในบ่อพักท่อระบายน้ำของจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ความประมาทเลินเล่อของโจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ายังอยู่ในระหว่างการจ้างซึ่งจำเลยที่2 ยังไม่มอบงานไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 1 ย่อมมีหน้าที่เพื่อการนี้โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ละเว้น.ไม่จัดการป้องกันอันตรายอันจะเกิดขึ้นแก่ผู้ใช้ถนนหรือทางเท้าตามหน้าที่ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ประมาทเลินเล่อต้องรับผิดต่อโจทก์ และจะอ้างข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ได้ตกลงไว้กับจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบต่ออุปัทวเหตุหรือภยันตรายความเสียหายที่เกิดขึ้นเอง เพื่อปัดให้ตนพ้นผิดไม่ได้ เพราะโจทก์เป็นคนนอกสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาลนคร การสร้างทางเท้าและท่อระบายน้ำเป็นหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 56ประกอบด้วยมาตรา 50 และ 53 เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์เพราะจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างทำของ เมื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด หาได้ไม่
ในมูลละเมิด แม้โจทก์นำสืบถึงค่าที่ขาดรายได้จากการประกอบการงานถึงจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ ศาลก็กำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ได้
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาลนคร การสร้างทางเท้าและท่อระบายน้ำเป็นหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 56ประกอบด้วยมาตรา 50 และ 53 เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์เพราะจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างทำของ เมื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด หาได้ไม่
ในมูลละเมิด แม้โจทก์นำสืบถึงค่าที่ขาดรายได้จากการประกอบการงานถึงจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ ศาลก็กำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1571/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทางเท้า การละเลยจนเกิดอันตรายต้องรับผิดชอบ แม้จะมีการจ้างเหมา
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาล จำเลยที่ 2 รับจ้างจำเลยที่1 ทำท่อระบายน้ำและทางเท้าสาธารณะซึ่งอยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ละเว้นไม่ทำการป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้ถนนหรือทางเท้าตามหน้าที่ให้เรียบร้อย โดย ไม่ปิดฝาบ่อและไม่มีแสงสว่างให้เห็นทั้ง ไม่มีเครื่องหมายหรือเครื่องปิดกั้นแสดงไว้ให้ทราบฉะนั้น การที่โจทก์พลัดตกลงไปในบ่อพักท่อระบายน้ำของจำเลยที่ 1 จึง ไม่ใช่ความประมาทเลินเล่อของโจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ายังอยู่ในระหว่างการจ้างซึ่งจำเลยที่ 2 ยัง ไม่มอบงานไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 1 ย่อมมีหน้าที่เพื่อการนี้โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ละเว้นไม่จัดการป้องกันอันตรายอันจะเกิดขึ้นแก่ผู้ใช้ถนนหรือทางเท้าตามหน้าที่ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ประมาทเลินเล่อต้องรับผิดต่อโจทก์ และจะอ้างข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ได้ตกลงไว้กับจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบต่ออุปัทวเหตุหรือภยันตรายความเสียหายที่เกิดขึ้นเอง เพื่อปัดให้ตนพ้นผิดไม่ได้ เพราะโจทก์เป็นคนนอกสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาลนคร การสร้างทางเท้าและท่อระบายน้ำเป็นหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 56 ประกอบด้วยมาตรา 50 และ 53 เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์เพราะจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างทำของ เมื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด หาได้ไม่
ในมูลละเมิด แม้โจทก์นำสืบถึงค่าที่ขาดรายได้จากการประกอบการงานถึงจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ ศาลก็กำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ได้
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาลนคร การสร้างทางเท้าและท่อระบายน้ำเป็นหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 56 ประกอบด้วยมาตรา 50 และ 53 เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์เพราะจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างทำของ เมื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด หาได้ไม่
ในมูลละเมิด แม้โจทก์นำสืบถึงค่าที่ขาดรายได้จากการประกอบการงานถึงจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ ศาลก็กำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ได้