คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทางแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์: พยานหลักฐานไม่เพียงพอพิสูจน์จำนวนและราคาทรัพย์ ศาลจำกัดการบังคับชดใช้เฉพาะทางแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามลักทรัพย์โจทก์ร่วมไปหลายรายการขอให้ลงโทษและขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงินจำนวน 664,945บาท แก่โจทก์ร่วม แม้ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3ลักทรัพย์โจทก์ร่วมไปบางรายการ แต่พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมายังไม่อาจฟังเป็นยุติว่า สินค้าที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ลักไปมีจำนวนและราคาเท่าใด จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 คืนทรัพย์หรือใช้ราคาให้แก่โจทก์ร่วมได้ ชอบที่โจทก์ร่วมจะไปว่ากล่าวเอาทางแพ่งแก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดและการบังคับใช้กับผู้ค้ำประกัน: อายุความทางอาญาเหนือกว่าอายุความทางแพ่ง
สัญญาค้ำประกันทำขึ้นขณะที่บัญชีอัตราอากรแสตมป์กำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 1 บาท แม้ภายหลังกฎหมายจะกำหนดให้ปิดอากรแสตมป์10 บาท สัญญาค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ 1 บาท นั้นก็ยังใช้ได้ไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐานคดีแพ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 โจทก์ฟ้องว่า ส. พนักงานของโจทก์ทุจริตเบียดบังเอาเงินของโจทก์เป็นประโยชน์ส่วนตัวแล้วหลบหนี เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิด มีโทษตาม ป.อ. มาตรา 352 ซึ่งมีอายุความ10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95(3) กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปีจึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 448วรรคสอง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในมูลหนี้ละเมิดที่ ส. ก่อขึ้น จึงใช้กำหนดอายุความ 10 ปี จำเลยจะยกอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรกซึ่งเป็นข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. มาตรา 694 หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3303/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าแรงไม่ใช่ทรัพย์สินที่เสียหายจากการฉ้อโกง ผู้เสียหายต้องฟ้องทางแพ่ง
ในคดีฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจที่จะขอให้จำเลยใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้างที่จำเลยยังไม่จ่ายแก่ผู้เสียหายตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 เพราะค่าแรงงานหรือค่าจ้างไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย แต่เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายชอบที่จะไปฟ้องบังคับให้จำเลยชดใช้ในทางแพ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2139/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีวันที่ออก ไม่ถือเป็นความผิดอาญา แม้ภายหลังมีการลงวันที่เพื่อใช้ในการฟ้องร้องทางแพ่ง
การที่จำเลยออกเช็คโดยไม่ลงวันที่เดือนปีที่ออกเช็ค ย่อมถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำผิด แม้ต่อมา ฮ. ผู้ทรงเช็คในขณะนั้นได้นำเช็คพิพาทไปให้ ส. บุตรสาวของจำเลยลงวันที่ในเช็คโดยจำเลยบอกให้ลง ก็มีผลเพียงให้เช็คพิพาทมีรายการสมบูรณ์ฟ้องร้องบังคับคดีได้ในทางแพ่งเท่านั้น หามีผลที่จะปรับเป็นความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 251/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหนี้สินทางแพ่งของหน่วยงานราชการ และความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการกระทำของลูกน้อง
คดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยสองคนรับผิดทางแพ่ง ปรากฏว่าจำเลยคนหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล และมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลนั้น ทั้งพยานหลักฐานส่วนใหญ่ก็อยู่ในจังหวัดนั้นด้วย ทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องจนศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลได้ การที่ศาลรับฟ้องคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษาจึงเป็นการชอบแล้ว
เดิมกรมทางหลวงมีชื่อว่ากรมทางหลวงแผ่นดิน สังกัดกระทรวงคมนาคมต่อมาได้มีกฎหมายบัญญัติให้กรมทางหลวงแผ่นดินอยู่ในสังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ฯลฯ ไปเป็นของกรมทางหลวงนั้น โดยผลแห่งกฎหมาย หนี้สินและสิทธิเรียกร้องที่กรมทางหลวงแผ่นดินมีต่อจำเลยลูกหนี้ย่อมโอนไปยังกรมทางหลวงโจทก์ โดยมิพักต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้แต่อย่างใด และโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การที่จำเลยที่ 1 รับราชการอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ได้ยักยอกเงินของทางราชการไปด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาเช่นนี้ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด
กรณีละเมิดนั้น เมื่อโจทก์เพิ่งได้ทราบเรื่องจำเลยยักยอกจากการตรวจสอบบัญชีและหลักฐานการสอบสวนจากพนักงานเจ้าหน้าที่และมาฟ้องคดีในเวลายังไม่ครบ 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้กระทำละเมิดและรู้ถึงการกระทำละเมิด คดีของโจทก์จึงยังหาขาดอายุความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องอาญา: ผู้เสียหายต้องเสียหายโดยตรงจากการกระทำผิด และไม่ใช่ความเสียหายทางอ้อมที่สามารถแก้ไขได้ในทางแพ่ง
โจทก์กับนางหน่วงผู้ตายมิได้เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสมคบกันปลอมลายพิมพ์นิ้วมือนางหน่วงลงในสัญญากู้ แล้วนำสัญญากู้เอกสารสิทธิปลอมไปยื่นฟ้องต่อศาล ไม่ใช่จำเลยสมคบกันปลอมลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ในสัญญากู้นั้น โจทก์จึงไม่เป็นบุคคลได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง การที่โจทก์ถูกยึดทรัพย์เพราะการกระทำของจำเลย โจทก์ก็ชอบที่จะไปดำเนินคดีในทางแพ่งได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนสิทธิเครื่องหมายการค้าต้องทำเป็นคำฟ้อง ไม่ใช่คำร้อง เนื่องจากเป็นการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่ง
การขอให้ศาลจำกัดและเพิกถอนสิทธิการจดทะเบียนสินค้าของผู้อื่นซึ่งตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าว่าให้ยื่นคำร้อง นั้นเป็นการขอให้ศาลสั่งซึ่งจะเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิของคนอื่นที่มีอยู่ก่อนแล้ว อันเป็นการตั้งข้อพิพาทว่า ผู้ร้องมีสิทธิดีกว่า เป็นการโต้แย้งสิทธิกันในทางแพ่ง จึงต้องเริ่มคดีโดยทำเป็นคำฟ้องมายื่นไม่ใช่คำร้องขอ
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2503

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797-1798/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อทางแพ่ง: ฟ้องไม่เคลือบคลุมเมื่อบรรยายเหตุแห่งความเสียหายได้
ในคดีฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความประมาทเลินเล่อในทางแพ่ง เมื่อได้บรรยายฟ้องพอให้เข้าใจได้ว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามีอยู่อย่างไรแล้ว ก็ถือว่าไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายเรื่องเรือชนกัน เมื่อโจทก์กล่าวว่าเรือจำเลยแล่นกินทางเข้ามาแล้วตีวงมาชนเรือโจทก์ โดยความประมาทเลินเล่อของจำเลย ดังนี้ ก็พอทำให้เข้าใจได้แล้วว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์มีอยู่อย่างไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งคืนของกลางหลังยกฟ้องคดีอาญา และการระงับข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิในทางแพ่ง
อัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญา คือฐานลักทรัพย์ไม่มีคำขอทางแพ่ง ปนมาด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแต่ให้คืนของกลางแก่ผู้เสียหายโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 49 แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเรื่องของกลาง จำเลยยังเถียงกรรมสิทธิอยู่ ควรให้ไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง ส่วนในข้อหาฐานลักทรัพย์คงยกฟ้อง ดังนี้คดีอาญาที่ได้ฟ้อง ได้ถึงที่สุดแล้วโจทก์จำเลยจะฎีกาเฉพาะให้สั่งในเรื่องของกลาง ไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำทางแพ่ง: ประเด็นต่างกันได้ แม้ใช้หลักฐานเดิม
กู้เงินกันแต่สัญญากู้ไม่สมบูรณ์+กู้ได้ไปให้ถ้อยคำต่ออำเภอว่าได้กู้เงินไปจริงอำเภอได้บันทึกถ้อยคำของ+กู้ไว้และให้ผู้กู้ลงนามไว้ดังนี้ บันทึกของอำเภอเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้ (หมายเหตุ:ข้อนี้ไม่มีประเด็นขึ้นมาโดยตรง)
เดิมโจทก์ฟ้องอ้างสัญญาจะซื้อขายขอให้บังคับจำเลยทำสัญญาซื้อขายหรือใช้เงิน+ที่ดินคืน ศาลยกฟ้อง โจทก์จึงกลับมาฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญากู้ยืม โดยอ้างเอกสารอันเป็นหลักฐานอย่างเดียวกับคดีเดิมดังนี้+เป็นการฟ้องซ้ำไม่เพราะคดีมีประเด็นจะต้องวินิจฉัยต่างกัน
of 2