พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีพินัยกรรม: ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ชัดเจนและไม่ขัดกฎหมาย การจัดการทรัพย์มรดกโดยผู้รับพินัยกรรมและทายาทโดยธรรม
พินัยกรรมข้อ 2 ที่มีข้อกำหนดยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องโดยนำที่ดินดังกล่าวไปจัดการอย่างใด ๆ เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์และนำผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นไปดำเนินการก่อตั้งมูลนิธิ เป็นการได้กำหนดยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้รับพินัยกรรมแล้ว เพียงแต่ให้ผู้รับพินัยกรรมนำผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินไปก่อตั้งมูลนิธิซึ่งเป็นกรณีที่จะดำเนินการต่อไปหลังจากทรัพย์มรดกตกเป็นของผู้รับพินัยกรรม และมรดกได้ก่อเกิดผลประโยชน์แล้ว ข้อกำหนดตามพินัยกรรมข้อนี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (3)
พินัยกรรมข้อ 3 ที่มีข้อกำหนดว่า เงินสดซึ่งฝากไว้ที่ธนาคารทั้งหมดยกให้ ส. และผู้ร้องเป็นผู้ดูแลเพื่อทำตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้เป็นการกำหนดให้ผู้ร้องและ ส. เป็นเพียงผู้ดูแลเท่านั้น มิได้ยกกรรมสิทธิ์เงินสดให้แก่ผู้ร้องและ ส. และไม่ได้กำหนดโดยชัดแจ้งว่ายกเงินสดดังกล่าวให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดจำนวนมากน้อยเพียงใด จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (2) (3)
พินัยกรรมข้อ 3 ที่มีข้อกำหนดว่า เงินสดซึ่งฝากไว้ที่ธนาคารทั้งหมดยกให้ ส. และผู้ร้องเป็นผู้ดูแลเพื่อทำตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้เป็นการกำหนดให้ผู้ร้องและ ส. เป็นเพียงผู้ดูแลเท่านั้น มิได้ยกกรรมสิทธิ์เงินสดให้แก่ผู้ร้องและ ส. และไม่ได้กำหนดโดยชัดแจ้งว่ายกเงินสดดังกล่าวให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดจำนวนมากน้อยเพียงใด จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (2) (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำประเด็นเดิม: การฟ้องเรียกหนี้จากทายาทโดยธรรมที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ป. ผู้ตายซึ่งเป็นบิดาชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ศาลวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของ ป. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มายื่นฟ้องคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ป. ชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวอีก ประเด็นแห่งคดีทั้งสองเป็นประเด็นเดียวกันว่าจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายหรือไม่ คู่ความทั้งสองฝ่ายก็เป็นรายเดียวกันคำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นนั้นอีก เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้ำด้วย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมโมฆะเนื่องจากไม่ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานพร้อมกัน ทรัพย์มรดกตกแก่ทายาทโดยธรรม
พินัยกรรมซึ่งยกทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องมีผู้ลงลายมือชื่อเป็นพยานแต่ผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน จึงมิได้ทำตามแบบที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกทอดได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งมิได้มีการทำพินัยกรรมไว้ ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: สิทธิทายาทโดยธรรมและสถานะผู้มีส่วนได้เสีย
ตามคำร้องขอของผู้คัดค้านอ้างว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม พินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเป็นพินัยกรรมปลอม หากเป็นจริงตามคำร้องคัดค้าน ผู้ร้องก็ไม่เป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม อันจะถือว่าผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ร้องก็ย่อมไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 มาแต่ต้น นอกจากนี้ตามคำร้องคัดค้านก็อ้างว่าผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 (1)ถึง (3) ส่วนผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (4) หากเป็นจริงผู้คัดค้านย่อมเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก นับว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1727ที่จะยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกเพราะกรณีมีเหตุอย่างอื่นที่สมควร ศาลชั้นต้นจึงต้องรับคำร้องคัดค้านไว้ไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทเรื่องผู้จัดการมรดกและการเป็นทายาทโดยธรรม ศาลต้องรับคำร้องคัดค้านเพื่อไต่สวนข้อเท็จจริง
ตามคำร้องขอของผู้คัดค้านอ้างว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม พินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเป็นพินัยกรรมปลอม หากเป็นจริงตามคำร้องคัดค้าน ผู้ร้องก็ไม่เป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม อันจะถือว่าผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ร้องก็ย่อมไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 มาแต่ต้น นอกจากนี้ ตามคำร้องคัดค้านก็อ้างว่าผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(1) ถึง (3)ส่วนผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629(4) หากเป็นจริง ผู้คัดค้านย่อมเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก นับว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1727ที่จะยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกเพราะกรณีมีเหตุอย่างอื่นที่สมควร ศาลชั้นต้นจึงต้องรับคำร้องคัดค้านไว้ไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาทโดยธรรม
ในการจัดตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้าไม่มีข้อกำหนด พินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของผู้ตาย ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบ ด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีบุตรด้วยกัน 3 คน ซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ อยู่ในความปกครองของผู้ร้อง ผู้ร้องและบุตรทั้งสามเป็นทายาท โดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในกองมรดกและผู้ตาย เป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ร้องได้สัญชาติไทยตามผู้ตาย แม้จะ ปรากฏว่าผู้ร้องเคยถูกดำเนินคดีฐานเข้าเมืองโดยไม่ได้ รับอนุญาตและมีคำพิพากษาให้ออกนอกราชอาณาจักรมาแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับข้อห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก การตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นประโยชน์สูงสุดแก่กองมรดกตามความมุ่งหมายของกฎหมายแล้ว เมื่อกรณีมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตายการที่จะให้ผู้คัดค้านที่ 2 จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องจึงมีข้อแสดงให้เห็นเบื้องต้นว่าไม่อาจที่จะจัดการร่วมกันได้ ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส ซึ่งต้องระวังรักษา ประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์อีกสามคนที่เป็นทายาทโดยธรรม ในลำดับที่ (1) ส่วนผู้คัดค้านทั้งสี่เป็นทายาทโดยธรรม ในลำดับที่ (3) ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย จึงไม่สมควรที่จะตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก ร่วมกับผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดตัดสิทธิทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1608 วรรคสอง
พินัยกรรมของพ. มีข้อความว่าเมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตลงให้ทรัพย์มรดกของข้าพเจ้าแก่จำเลยแต่เพียงผู้เดียวคำว่าทรัพย์มรดกของข้าพเจ้าแสดงว่าต้องการยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่จำเลยแต่เพียงผู้เดียวแม้ในตอนท้ายของพินัยกรรมจะระบุเลขที่โฉนดที่ดินทรัพย์มรดกไว้ด้วยก็ไม่ทำให้ทรัพย์มรดกอื่นที่มิได้แจ้งรายละเอียดไว้ในพินัยกรรมเป็นทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมไปได้เมื่อพ. ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่จำเลยแล้วจึงถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1608วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดก ผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมไม่ลงวัน เดือน ปี ในการทำพินัยกรรมจึงมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งมิได้มีการทำพินัยกรรมไว้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ท.บิดาผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของผู้ตายได้ตายก่อนผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกแทนที่บิดา จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1711 และ 1713ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าเจ้าของมรดกได้ทำพินัยกรรมทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียวก็ตามก็ยังไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่ลงวันเดือนปีเป็นโมฆะ ทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดก ผู้จัดการมรดกเดิมไม่ต้องถูกเพิกถอน
พินัยกรรมไม่ลงวันเดือนปีในการทำพินัยกรรมจึงมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1705ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งมิได้มีการทำพินัยกรรมไว้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าท.บิดาผู้คัดค้านที่1เป็นบุตรของผู้ตายได้ตายก่อนผู้ตายผู้คัดค้านที่1ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกแทนที่บิดาจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1711และ1713ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่2แต่ผู้เดียวก็ตามก็ยังไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่1จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1727
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทโดยธรรมและการเกิดหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย รวมถึงการตีความ 'ผู้มีส่วนได้เสีย' ในมรดก
ผู้คัดค้านเพิ่งคลอดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของผู้คัดค้าน ภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ8 เดือนว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายซึ่งกรณีถือได้ว่าเป็นการยื่นคำร้องภายในอายุความมรดก ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1558 วรรคแรก สิทธิดังกล่าวมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ผู้ร้องซึ่งเป็นน้องร่วมบิดามารดากับผู้ตายทายาทโดยธรรมลำดับที่ 3 อันเป็นลำดับถัดลงมาไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ มาตรา 1629, 1630
คำว่าผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้น คือขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีดังเช่นในคดีนี้ไม่
คำว่าผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้น คือขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีดังเช่นในคดีนี้ไม่