คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทำงานต่างประเทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6054/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับลูกจ้างทำงานต่างประเทศ: เงินได้จากการจ้างงานในกิจการของนายจ้างในไทยต้องเสียภาษีในไทย
จำเลยเป็นลูกจ้างของบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างทั้งภายในและนอกประเทศไทย การที่บริษัท อ. ส่งจำเลยไปทำงานที่บริษัท อ. รับจ้างถมทะเลนอกประเทศ ค่าจ้างที่บริษัท อ. จ่ายให้แก่จำเลยจึงเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (1) ที่จำเลยได้รับเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 41 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5401/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการหลอกลวงจัดหางานไปทำงานต่างประเทศ ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดด้วยการแสดงข้อความอัน เป็นเท็จว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดไปทำงานใน ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เป็นงานที่มีรายได้ เมื่อผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดเดินทางไปถึงแล้วสามารถทำงานได้ทันที โดยจำเลยทั้งสองปกปิดข้อความจริงว่าจำเลยทั้งสอง ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหาคนงานไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้จาก นายทะเบียนจัดหางานกลางจากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ด หลงเชื่อและมอบเงินจำนวนต่าง ๆ ให้แก่จำเลยทั้งสอง ดังนั้น การกระทำของ จำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ผิดเฉพาะสัญญาทางแพ่งแต่อย่างใด ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดยอมจ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่จำเลยทั้งสองเนื่องจากประสงค์จะเดินทางไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ตามที่จำเลยทั้งสองรับรอง หากผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดทราบความจริงว่าถูกจำเลยทั้งสองหลอกลวงแล้ว ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคงไม่เดินทางไปยังประเทศดังกล่าวและไม่จ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นแน่ แม้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดได้ใช้ตั๋วเครื่องบินดังกล่าวเดินทางไปและกลับระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ แต่การเดินทางของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดดังกล่าวมิได้เกิดจากความสมัครใจของตนที่จะเดินทางไปหางานทำด้วยตนเอง แต่เกิดจากการที่ถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงฉ้อโกง ดังนั้น เงินค่าตั๋วเครื่องบินของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดที่ต้องสูญเสียไปจึงเป็นเงินที่เกิดจากการหลอกลวง ของจำเลยทั้งสอง ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าตั๋วเครื่องบินดังกล่าวคืนจากจำเลยทั้งสอง ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดเดินทางไปประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เนื่องจากหลงเชื่อตามที่จำเลยทั้งสองหลอกลวงเป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากนอกจากนี้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดต้องเสียเวลาในการทำมาหากิน ทั้งผู้เสียหายบางคนยังถูกจับและถูกขังอยู่ในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ทำให้ต้องสูญเสียอิสรภาพ จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน แต่จำเลยที่ 1 กลับมากระทำความผิดเสียเองโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการหลอกลวงเพื่อให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดหลงเชื่อ หลังเกิดเหตุจำเลยทั้งสองก็มิได้บรรเทาผลร้าย ชดใช้หรือเสนอที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดแต่อย่างใดกรณีไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3746/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานผิดกฎหมาย: จำเลยไม่ได้ประกอบธุรกิจจัดหางานจริง แม้ชักชวนไปทำงานต่างประเทศ
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อ ไปทำงานในต่างประเทศเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน จัดหางานกลาง และมาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า จัดหางาน หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหา ลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทน หรือไม่ก็ตาม ฉะนั้นการจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวได้ผู้นั้นต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานเสียก่อน นอกจากไม่ปรากฏว่าจำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คน หางาน หรือประกอบธุรกิจจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างแล้วจำเลยก็ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหา ลูกจ้างอย่างจริงจัง แต่จำเลยกับพวกอ้างการจัดหางานเพื่อ เป็นเหตุหลอกลวง จ. ให้ไปรับจ้างขายบริการทางเพศโดยหวังจะได้ประโยชน์ตามสัญญากู้เงิน ดังนั้น เมื่อ พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ที่ใช้อยู่ในขณะ ที่จำเลยกระทำการดังกล่าวข้างต้นมิได้บัญญัติไว้ว่าเรื่องนี้เป็นความผิด และกรณีแตกต่างจากพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 มาตรา 34ที่ให้เพิ่มมาตรา 91 ตรี ซึ่งบัญญัติเอาผิดแก่ผู้ที่หลอกลวง ผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นจากผู้ถูกหลอกลวงต้องระวางโทษ แต่พระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 30 มิถุนายน 2537) ด้วยเหตุนี้การกระทำของจำเลยแม้จะได้พูดจาชักชวน ส.หรือ จ.ให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น หรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสมัครรับเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน: การพิจารณาภูมิลำเนาต่อเนื่อง แม้ทำงานต่างประเทศ
ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้านพ.ศ. 2535 ข้อ 6 กำหนดให้นายอำเภอดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งนายอำเภอจะต้องเป็นผู้ประกาศกำหนดวันเวลาสถานที่เลือก เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการลงคะแนน ระยะเวลาการสมัครรับเลือก นอกจากนี้ให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือก การแต่งตั้งคณะกรรมการเลือก แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยณ ที่เลือกและเป็นประธานหรือมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นประธานคณะกรรมการเลือกและอื่น ๆ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 5 ข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9ดังนี้ นายอำเภอจึงเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดที่จะดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้านแต่ละครั้งให้สำเร็จลุล่วงด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม โจทก์เป็นผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 8 วรรคสอง กำหนดว่าก่อนนายอำเภอจะรับใบสมัครของผู้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้านให้คณะกรรมการเลือกตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกของผู้สมัครทุกราย และให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านแล้วประกาศให้ ราษฎรทราบก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสามวัน แสดงว่าแม้คณะกรรมการเลือกจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านของผู้สมัครทุกรายก็ตามแต่ผู้ที่จะรับสมัครในชั้นที่สุดและประกาศแสดงให้ผู้สมัครหรือราษฎรทราบว่าผู้สมัครรายใดมีสิทธิหรือไม่มีสิทธิรับเลือกบ้างก็คือนายอำเภอซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในการดำเนินการเลือก หาใช่กรรมการเลือกแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ดังนั้น การรับสมัครและการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงยังตกอยู่ในความรับผิดชอบของนายอำเภอ เพียงแต่ต้องให้คณะกรรมการเลือกเป็นผู้กลั่นกรองตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกของผู้สมัคร อันพอถือได้ว่าเป็นการถ่วงดุลมิให้นายอำเภอรับสมัครบุคคลใด ๆ ได้ตามอำเภอใจ การที่จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอท้องที่ที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านและเป็นผู้ดำเนินการเลือกไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการไม่ประกาศรายชื่อโจทก์ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านติดต่อกันมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสองปีจนถึงวันเลือกตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครอง ท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 12(3) ที่แก้ไขแล้ว ย่อมทำให้ โจทก์เสียสิทธิดังกล่าวโดยไม่มีทางเยียวยาได้ในทางปกครอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงหากข้อเท็จจริงปรากฏว่าคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านของโจทก์ตามที่คณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านได้ตรวจสอบไว้แล้วนั้นครบถ้วนถูกต้องเพียงแต่จำเลยวินิจฉัยและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกดังกล่าวขัดต่อบทกฎหมายข้างต้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้จำเลยรับสมัครโจทก์และจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน เสียใหม่ แล้วประกาศให้ราษฎรทราบเพื่อดำเนินการเลือก ผู้ใหญ่บ้านต่อไปได้ คำสั่งดังกล่าวของศาลย่อมลบล้าง ข้อวินิจฉัยของจำเลยไปในตัว หาเป็นการบังคับให้จำเลย กระทำการใดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือเป็นการก้าวล่วง อำนาจของฝ่ายปกครองที่ได้วินิจฉัยสั่งการไปโดย มิชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่ ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 26 กำหนดว่าเมื่อประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านแล้ว ผู้สมัครหรือผู้มีสิทธิเลือกผู้ใดเห็นว่าการเลือกเป็นไปโดยมิชอบ ให้มีสิทธิร้องคัดค้านการเลือกต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายสิบห้าวันนับแต่วันเลือกเพื่อให้มีการเลือกใหม่ แต่เรื่องข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้ออื่น ๆ ได้กำหนดขั้นตอนการเลือกผู้ใหญ่บ้านไว้เป็นลำดับ ตั้งแต่กำหนดวันเวลาสถานที่เลือก ระยะเวลาการสมัครรับเลือกการตั้งคณะกรรมการเลือก การตรวจคุณสมบัติและหลักฐานของผู้สมัครรับเลือกการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านการประกาศและประชุมราษฎรในหมู่บ้านเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ในการเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือก ตลอดจนวิธีการเลือกให้ราษฎรทราบโดยทั่วกัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงขั้นตอนการเตรียมการเลือกผู้ใหญ่บ้านตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 เท่านั้น ต่อจากนั้นเป็นขั้นตอนการเลือกผู้ใหญ่บ้านซึ่งอาจเป็นการเลือกโดยวิธีลับหรือโดยวิธีเปิดเผย การลงคะแนน การนับคะแนนที่นายอำเภอและคณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านจะต้องควบคุม ดูแลการเลือกและการประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯพ.ศ. 2535 ข้อ 11 ถึงข้อ 24 และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการรายงานผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 25ดังนี้ การที่จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตัดสิทธิไม่ให้โจทก์สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการไม่ประกาศชื่อโจทก์ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเกิดขึ้นก่อนการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ดังนั้น จึงไม่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านที่จะให้โจทก์อ้างว่าการเลือกเป็นไปโดยมิชอบในขณะนั้นที่โจทก์จะต้องร้องคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อโจทก์มิได้คัดค้านว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ แต่อ้างเพียงว่าจำเลยไม่รับสมัครโจทก์ทำให้โจทก์เสียสิทธิไม่ได้ลงสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเท่านั้น กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยพ.ศ. 2535 ข้อ 26 ทั้งไม่มีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯข้ออื่นใดที่บังคับให้โจทก์ต้องร้องคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนที่จะฟ้องคดีในกรณีเช่นนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2501 ที่หมู่ที่ 7ตำบลโคกบีบอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ (ม.ศ.3) จากโรงเรียนโคกปีบวิทยาคม และโจทก์อยู่บ้านเลขที่ 144/1หมู่ที่ 7 ตำบลโคบปีบ มาตั้งแต่เกิดและย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่18 กรกฎาคม 2532 ต่อมาอีกเพียง 3 เดือนเศษ ก็ย้ายกลับมาอยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2532แสดงว่าโจทก์ถือเอาบ้านเลขที่ 144/1 หมู่ที่ 7 ตำบลโคกปีบซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยประกาศให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นแหล่งที่อยู่สำคัญมาตั้งแต่เกิดเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้วบ้านเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37 ส่วนการที่โจทก์ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นโจทก์มิได้แจ้งย้ายไปอยู่ที่อื่นหรือแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งว่าโจทก์จะถือเอาประเทศญี่ปุ่นเป็นภูมิลำเนา การไปอยู่ประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นเพียงเพราะสภาพของานบังคับให้ไปอยู่ที่นั่น ทั้งระยะทางก็อยู่ห่างไกลกันคนละประเทศ จะให้โจทก์เทียวไปเทียวมาระหว่างบ้านกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อที่จะแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ย้ายภูมิลำเนาย่อมเป็นไปไม่ได้ กรณีต้องถือว่าโจทก์ไปทำงานเพียงชั่วคราวเท่านั้น การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะเปลี่ยนหรือย้ายภูมิลำเนาและโจทก์มีความรักและความผูกพันในหมู่บ้านซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนอย่างแน่นแฟ้นเป็นเวลานานพอสมควรในการอยู่ในหมู่บ้าน สมดังเจตนารมณ์ของกฎหมายลักษณะปกครองท้องถิ่นที่ที่ประสงค์จะให้ผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านมีความผูกพันในหมู่บ้านที่จะสมัครรับเลือกตั้งนั้นแล้ว และเมื่อโจทก์กลับมาแล้วก็ได้ประกอบอาชีพอยู่ในหมู่บ้านเป็นหลักฐานตลอดมา ต้องถือว่าโจทก์มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี จนถึงวันเลือก มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นว่านอกจากโจทก์จะมีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านแล้ว โจทก์ต้องอยู่ที่หมู่บ้านนั้นเป็นประจำตลอดจะไปไหนไม่ได้เลยระหว่างนั้นแม้เป็นการทำงานเพียงชั่วคราว อันเป็นการแปลกฎหมายไปในทางที่ตัดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 12(3)การที่จำเลยไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วยข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยหลอกลวงว่าจะส่งไปทำงานต่างประเทศ
จำเลยกับพวกได้ไปที่บ้านผู้เสียหายทั้งสองแล้วได้ใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสองว่า จำเลยกับพวกสามารถส่งบุตรของผู้เสียหายทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้โดยต้องเสียเงินแก่จำเลยกับพวก ผู้เสียหายทั้งสองหลงเชื่อจึงได้มอบเงินจำนวน 210,000 บาท แก่จำเลยกับพวกไป โดยความจริงจำเลยกับพวกไม่สามารถส่งคนไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้ และการที่ผู้เสียหายทั้งสองติดตามไปที่บ้านของจำเลย แต่จำเลยกลับปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็น แสดงว่าขณะที่จำเลยกับพวกไปชักชวนผู้เสียหายทั้งสองก็ดี และขณะที่จำเลยกับพวกไปรับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองก็ดี จำเลยมีเจตนาที่จะไม่ส่งบุตรของผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกฉ้อโกงผู้เสียหายทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4912/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เพื่อหลักประกันการทำงานต่างประเทศ มิใช่การจัดการสินสมรส
โจทก์มอบเงินให้จำเลยเพื่อให้จำเลยจัดส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ จำเลยจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ โดยไม่มีการมอบเงินตามสัญญากู้การทำสัญญากู้ดังกล่าวเป็นการทำนิติกรรมเพื่อเป็นหลักประกันการที่จำเลยจะส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสของโจทก์โดยเฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรส การที่โจทก์นำสัญญากู้มาฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงประชาชนเพื่อประโยชน์ในการทำงานต่างประเทศถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยทำการหลอกลวงประชาชนโดย วิธี ประกาศโฆษณา ณที่หน้าที่ทำการของจำเลย และโดย ทางหนังสือพิมพ์ หลายครั้ง ทั้งมีผู้เสียหายหลายคนมาสมัครไปทำงานในต่างประเทศ กับจำเลยตาม ที่จำเลยหลอกลวงคนละวันคนละเวลากันและจ่ายเงินให้แก่จำเลยไปคนละวันคนละเวลากัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2245/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลอกลวงชักชวนทำงานต่างประเทศ เรียกเก็บเงินแต่ไม่ส่งไป ถือเป็นเจตนาทุจริต
จำเลยกับ ส. ร่วมกันพูดชักชวนให้ผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศแล้วเรียกเก็บเงินจากผู้เสียหายและไม่ส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศตามที่พูดชักชวนโดยอ้างว่าตั๋วเครื่องบินหมดและรอใบรับรองการทำงาน ดังนี้พฤติการณ์ของจำเลยกับ ส.แสดงโดยแจ้งชัดว่าจำเลยกับ ส. มีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายมาแต่ต้น จำเลยกับ ส. ยังได้ชักชวนคนทั่วไปให้ไปทำงานด้วยจึงเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลอกลวงเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเงิน โดยการโฆษณาชักชวนทำงานต่างประเทศแต่ไม่พาไปจริง ถือเป็นความผิดฐานหลอกลวงประชาชน
จำเลยที่ 1 ประกาศรับสมัครคนงานไปทำงานในต่างประเทศจนผู้เสียหายกลุ่มหนึ่งรวม 7 คนหลงเชื่อไปสมัครเพื่อทำงาน ตามที่จำเลยประกาศจำเลยกับพวกรับเงินผู้เสียหายไว้เป็นจำนวนมาก แต่ผู้เสียหายไม่ได้ไปทำงานยังต่างประเทศตามที่ จำเลยกับพวกประกาศชักชวน ดังนี้การกระทำของจำเลยที่1 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยทุจริตหลอกลวงประชาชนรวม ทั้งผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ และโดยการหลอกลวงได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้เสียหายจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การด่าด้วยอารมณ์วู่วามจากการระแวง และการยินยอมให้ทำงานต่างประเทศ ไม่ถือเป็นเหตุหย่า
จำเลยไปประกอบอาชีพในต่างประเทศเพื่อหารายได้ส่งมาจุนเจือโจทก์และครอบครัวเป็นเวลาหลายปี เมื่อกลับมาโจทก์กลับเจรจาถึงเรื่องการหย่าซึ่งจำเลยระแวงอยู่แล้วว่าโจทก์ต้องการหย่าเพื่อไปแต่งงานกับหญิงอื่นจึงด่าโจทก์ขณะพูดโทรศัพท์ว่า 'อ้ายบ้าอ้ายหน้าตัวเมีย กูจะหาเรื่องให้มึงออกจากงาน กูจะไปฟ้องผู้บังคับบัญชา และจะหย่ากันก็ได้ถ้าหาเงินสดมาให้' ดังนี้ เป็นการด่าโจทก์ด้วยอารมณ์วู่วาม ขาดความยั้งคิด อันเกิดจากความผิดหวังที่จำเลยต้องยากลำบากเพื่อความสุขของครอบครัวแต่กลับถูกโจทก์หาทางทอดทิ้งจำเลยจึงหาได้มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์จริงไม่ และที่จำเลยว่าบิดาของโจทก์ว่า'อ้ายเฒ่ามึงอย่าเสือกเรื่องของกู' นั้น ก็เป็นการต่อว่ากันทางโทรศัพท์ เป็นการกล่าวด้วยอารมณ์วู่วามที่ทราบว่าบิดาโจทก์และโจทก์ได้ร่วมกันดำเนินการให้มีการจดทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทบิดาโจทก์ และเป็นเพียงคำไม่สุภาพ ขาดสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่เท่านั้น ไม่ร้ายแรงถึงกับเป็นการหมิ่นประมาทบิดาโจทก์
โจทก์ยินยอมให้จำเลยไปประกอบอาชีพในต่างประเทศเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ จึงไม่เป็นเหตุที่โจทก์จะอ้างมาฟ้องหย่าได้
of 2